จากหลักฐานคำบอกเล่าและบันทึกของชาวต่างชาติ เช่น สังฆราชฌอง บัปติสตา ปาลเลอกัวซ์ บาทหลวงคาทอลิกชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวถึงกรุงเทพฯ หรือบางกอกในยุคนั้นว่าเคยมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมและมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ ภายในเวลาสองศตวรรษถึงราว 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่เป็นเมืองหลวงของเรายังเคยมีจระเข้ชุกชุม มีโขลงช้างป่าออกมาหากินในทุ่งราบ ชาวบ้านยังล่ากวาง มีนกขนาดใหญ่อย่างกระเรียนพันธุ์ไทยและอีแร้ง เสือปลา นาก และอื่นๆ ก่อนจะค่อยๆ หายไปในเวลาต่อมาจากเนื่องจากการล่าและการขยายตัวของชุมชน ปัจจุบันเริ่มมีข่าวคราวการพบสัตว์บางชนิดตามธรรมชาติในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว เช่น นากใหญ่ขนเรียบ วาฬบรูด้า และลิงแสม
ชมภาพจำลองของสัตว์ป่าในบางกอกเมื่อครั้งอดีตได้ ที่นี่
หมายเหตุ : ภาพสัตว์ป่าในบางกอกพัฒนาจากข้อมูลและภาพสไลด์ชุด “Rewilding Bangkok ฟื้นชีวิตป่าเมืองกรุง” โดย ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ มูลนิธิโลกสีเขียว
อ่านเพิ่มเติม : ไพร่ฟ้าสามัญชน, ย้อนรอยสารคดีเกี่ยวกับเมืองไทย ใน National Geographic