จากกรงสู่ป่าจำลอง

เรื่องและภาพ กฤตนันท์  ตันตราภรณ์ (รางวัลชมเชยโครงการ 10 ภาพเล่าเรื่องปี 7)

เมื่อ “แก้ว” หมีควายที่สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเลี้ยงไว้เกิดทำร้ายชาวบ้าน จนเกิดกระแสการตั้งคำถามเกี่ยวกับการกักขังและการปล่อยหมีคืนสู่ป่า จนเป็นที่มาของการเดินทางสู่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง ซึ่งเป็นสถานอนุบาลหมีแห่งใหญ่ที่สุดของประเทศที่รับหมีของกลางที่ถูกช่วยเหลือจากกลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่า หมีที่ถูกเลี้ยงหรือถูกทำร้าย ก่อนจะฟื้นฟูเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ  แต่การปล่อยหมีที่ถูกเลี้ยงไว้จนมีนิสัยพึ่งพามนุษย์จนเคยชินเช่นนี้ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย  เนื่องจากหมีหลายตัวจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแห่งนี้ไปจนตลอดชีวิต  สถานีฯ จึงทำกรงป่าจำลองขนาดใหญ่เพื่อให้พวกมันได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข  ในขณะเดียวกัน สำหรับหมีที่มีอายุเหมาะสม ก็มีโครงการฝึกฝนและเตรียมตัวให้พวกมันได้กลับไปใช้ชีวิตในป่าต่อไป

หมีหลายตัวในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เติบโตราวกับสัตว์เลี้ยงที่คุ้นชินกับมนุษย์ตั้งแต่เยาว์วัย
เจ้าหน้าที่กำลังขนย้ายหมีเพื่อย้ายจากกกรงเตรียมความพร้อมไปยัง ‘กรงป่าจำลอง’
ในพื้นที่ ‘กรงป่าจำลอง’ หลายสิบไร่ของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง หมีหลายชีวิตดำรงชีวิตอย่างปลอดภัย
ในกรงป่าจำลอง ต้นไม้สำหรับปีนป่าย บ่อน้ำเพื่อคลายร้อน พื้นที่กว้างข้างให้ขยับตัว และดำรงชีวิตร่วมกัน
ทุกวัน เจ้าหน้าที่จะหุงข้าวผสมเนื้อ เผือกและข้าวโพด สำหรับเลี้ยงหมีทุกตัวในศูนย์ โดยจะเทไว้ตามบ่ออาหาร
สัตว์แพทย์หรือสัตวบาลจะติดตามเจ้าหน้าที่ให้อาหารไปเพื่อตรวจสุขภาพของเหล่าหมีที่อาจจะบาดเจ็บ
แม้จะเปลี่ยงแปลงไปบ้างจากความใกล้ชิดกับมนุษย์ แต่สัญชาตญาณเดิมยังคงอยู่ การหยอกล้อกันของหมีเป็นพฤติกรรมปกติ
หมีที่มีอาการหนักจะถูกแยกออกมาและ สัตวบาลจะฉีดยาเพื่อการรักษาหมีที่ป่วยโดยวิธีที่คล้ายกับการเป่าลูกดอก
แม้หมีในกรงป่าจำลองได้ถูกฝึกฝนให้เคยชินกับรั่วไฟฟ้า หมีหลายตัวมีความอยากรู้อยากเห็นและคุ้นชินต่อมนุษย์

 

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.