สำหรับในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์เป็นดาวน์ซินโดรมไม่ได้ ยกเว้นสัตว์ในสายพันธุ์ลิงและมนุษย์ที่มีจำนวนโครโมโซม 21-23 คู่ เนื่องจากดาวน์ซินโดรมเกี่ยวกับโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมา 1 แท่ง
ทว่าสัตว์โลกหลายชนิดสามารถมีอาการผิดปกติทางพันธุกรรม อาจเรียกว่ามีอาการคล้ายดาวน์ซินโดรมได้ โดยสัตว์โลกที่มีการพบว่ามีอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิดจนเหมือนดาวน์ซินโดรม จะเห็นกันได้ชัดเจนจากลักษณะทางกายภาพภายนอกร่างกาย โดยเฉพาะใบในส่วนของใบหน้าสัตว์ที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะแสดงออกอย่างเด่นชัด ไม่เข้ารูป แตกต่างจากตัวอื่นๆ
ทั้งนี้ สาเหตุของดาวน์ซินโดรมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ส่วนใหญ่ 95% เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง กลายเป็น 3 แท่ง เรียกว่า Trisomy 21 รองลงมา 4% เป็นการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งของโครโมโซมคู่ที่ 21 ไปอยู่ติดกับคู่อื่น เช่น คู่ที่ 14 เรียกว่า Translocation และที่พบน้อยที่สุด 1% มีทั้งโครโมโซมคู่ที่ 21 ปกติ และโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา เรียกว่า Mosaic
อนึ่ง สัตว์ที่ถูกพบว่ามีการป่วยคล้ายดาวน์ซินโดรมได้มี 19 ชนิดได้แก่ อุรังอุตัง ม้า แกะ วาฬเบลูกา แกะ ลา กอริลลาเผือก ยีราฟ โคอาล่า เต่าสแนปปิ้ง หนู สุนัข หมี วัว เฟอร์เร็ต สลอธ หมีขาว เสือ สิงโต และ แมว
ทั้งนี้ 1 ในสัตว์ที่สามารถเป็นดาวน์ซินโดรมได้ และมีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากก็คือ แมว โดยภาวะบกพร่องทางพฤติกรรม หรือ พฤติกรรมอปกติ ในแมว เกิดขึ้นได้จากปัญหาต่างๆ อาทิ การติดเชื้อทางระบบประสาท ความผิดปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อไวรัสของแม่แมว หรือแม้แต่การได้รับอุบัติเหตุ โดยแมวบางตัวยังมีภาวะสมองน้อย หรือสมองไม่เจริญ ทำให้การเติบโตของสมองไม่สมบูรณ์ ส่งให้มีพฤติกรรมและลักษณะ คล้ายอาการดาวน์ซินโดรม
กระนั้น ที่ผ่านมาก็เคยมีกรณีที่ผิดพลาด เช่นเจ้า Otto ลูกแมวจากประเทศตุรกีซึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เพราะมีรูปร่างหน้าตาผิดรูป โดยเสียชีวิตอย่างกระทันหันเมื่ออายุ 2 ปี และยังไม่ได้ยืนยันการวินิจฉัยและตรวจเลือดหาโครโมโซม แต่มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า มีโอกาสที่ Otto จะเป็นการกลายพันธุ์ของยีนหรือภาวะพร่องฮอร์โมน มากกว่าการเป็นดาวน์ซินโดรม แมวก็มีโครโมโซมเพียง 19 คู่ เช่นเดียวกันกับเสือ จึงไม่สามารถมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาได้
อาการของดาวน์ซินโดรมในแมว หรืออาการป่วยของแมวที่มีลักษณะคล้ายดาวน์ซินโดรม ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรม ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรม แต่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งจะเป็นตั้งแต่กำเนิด ไม่สามารถมาเป็นในภายหลังได้
ดาวน์ซินโดรมแมวจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายและสติปัญญา โดยมีลักษณะหน้าตาที่เป็นลักษณะเฉพาะ ที่พบเห็นได้บ่อยคือ ศีรษะค่อนข้างเล็ก หน้าแบน ดั้งจมูกแบน ตาห่างและเฉียงขึ้น หูเล็ก หูบิดผิดรูป ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น นิ้วสั้น ลายมือมีลักษณะมีเส้นขวางฝ่ามือ กล้ามเนื้อหย่อน ข้อต่อหลวม อาจมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และมีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย คล้ายๆ กับสัตว์ชนิดอื่นๆ
ดาวน์ซินโดรมในแมว ปัจจุบันในสัตว์ทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ อาการดาวน์ซินโดรมยังไม่สามารถรักษาหรือมีวิธีการที่ทำให้หายเป็นปกติได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เพราะเป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่สามารถรักษาได้ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อยมากๆ
อย่างไรก็ตาม หากพบว่า แมว ของคุณมีอาการป่วยคล้ายดาวน์ซินโดรม สิ่งที่เจ้าของหรือผู้เลี้ยงดูทำได้ก็คือ การดูแลที่มากกว่าแมวตัวอื่นๆ แต่บางตัวที่มีอาการป่วยก็อาจจะเลี้ยงง่ายกว่าตัวอื่นๆ ด้วยซํ้า เพราะที่ผ่านมาพบว่าอาการป่วยคล้ายดาวน์ซินโดรมในสัตว์ ไม่ได้มีผลให้สัตว์ตัวนั้นดุร้ายขึ้น ซํ้ายังอาจเป็นไปในทางตรงกันข้ามอีกด้วย
สืบค้นและเรียบเรียง สิทธิโชติ สุภาวรรณ์
ภาพจาก MELFORD TAYLOR, NAT GEO IMAGE COLLECTION
ข้อมูลอ้างอิง