ฟอสซิลหนอนอายุ 500 ล้านปี ช่วยไขปริศนาวิวัฒนาการ

ฟอสซิลหนอนอายุ 500 ล้านปี ช่วยไขปริศนาวิวัฒนาการ

ย้อนกลับไปเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ณ พื้นที่ที่ปัจจุบันคืออุทยานแห่งชาติ  Kootenay ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ดินโคลนที่ถล่มอย่างรวดเร็วได้คร่าชีวิตหนอนจิ๋วตัวหนึ่งเข้า

นั่นคือทฤษฎีที่ Karma Nanglu นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโรเชื่อ เมื่อเขาพบเข้ากับฟอสซิลหนอนที่เขาบรรยายว่ายังคงถูกเก็บรักษาอย่างดีตามธรรมชาติจนน่าอัศจรรย์

ฟอสซิลชิ้นนี้เป็นฟอสซิลของสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในตระกูลหนอนหนาม (bristle worm) มีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า Kootenayscolex barbarensis และเรื่องราวของมันถูกเผยแพร่ลงในวารสาร Current Biology มันคือหนอนจิ๋วที่มีความยาวเพียงแค่สองเซนติเมตรเท่านั้น และบนร่างกายของมันเต็มไปด้วยขนเส้นเล็กๆ นับร้อยๆ เส้นที่เรียกกันว่า chaetae

บนหัวของมันมีก้านสองก้านยื่นออกมาเรียกว่า palps ซึ่ง Nanglu เชื่อว่ามีไว้ใช้สำหรับการสัมผัสพื้นดินที่อยู่เบื้องหน้ามัน ในยุคพรีแคมเบรียน ยุคสมัยที่เจ้าหนอนตัวนี้ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกมันคืบคลานไปมาตามท้องมหาสมุทร มองหาเศษอินทรีย์กินเป็นอาหารและขับถ่ายของเสียออกมาเป็นปุ๋ยคืนสู่ดินเช่นเดียวกับไส้เดือนในปัจจุบัน

(สัตว์ทุกชนิดมีวิวัฒนาการมายาวนาน ชมการค้นพบฟอสซิลเพนกวินโบราณ)

 

ฟอสซิลหายาก

ฟอสซิลหนอนหนามไม่ใช่สิ่งที่จะพบได้ง่ายๆ ร่างกายอันประกอบไปด้วยเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มของมันนั้นง่ายต่อการถูกย่อยสลาย ฉะนั้นแล้วฟอสซิลที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีนี้ช่วยให้บรรดานักวิทยาศาสตร์เข้าใจได้ว่าวิวัฒนาการของหนอนเป็นเช่นไร

ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่มีขึ้นจากการศึกษาฟอสซิล แอเนลิดา (annelid) หรือสัตว์จำพวกหนอนปล้องจากกรีนแลนด์ชี้ว่า สัตว์สายพันธุ์นี้มีส่วนหัวที่ไม่แยกออกจากลำตัว ส่วนฟอสซิลของหนอนหนามนี้ Nanglu มีส่วนของร่างกายที่เห็นแยกชัดเจนออกจากศีรษะมากขึ้น

ภาพวาดหนอนโบราณ Kootenayscolex barbarensis โดยพิพิธภัณฑ์ Royal Ontario

(รู้หรือไม่บรรพบรุษสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของเรา เป็นเพียงสัตว์จิ๋วหน้าตาคล้ายหนูเท่านั้น)

 

การค้นพบ

เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่ที่ค้นพบฟอสซิลหนอนตัวนี้ เต็มไปด้วยญาติพี่น้องของมันมากมาย รายงานจากนักวิจัยพวกเขามุ่งเน้นการขุดค้นไปที่บริเวณ Marble Canyon พื้นที่ในอุทยานที่ขึ้นชื่อว่าพบฟอสซิลมากเป็นพิเศษ เพราะนับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลของหนอนจำนวนมากถึง 500 ฟอสซิลแล้ว

Nanglu เล่าว่า ในขั้นตอนต่อไปพวกเขาจะวิจัยหาว่าเจ้าหนอนตัวนี้มีบทบาทสำคัญใดในอาณาจักรสัตว์ยุคพรีแคมเบรียน ในตอนที่มันยังมีชีวิตอยู่ มันน่าจะอาศัยอยยู่ร่วมกับสัตว์สายพันธุ์โบราณในตระกูลอาร์โทพอด เช่น ปู หรือแมงมุม เป็นต้น

จากรูปแบบแรกๆ ของชีวิต ในที่สุดพวกมันก็พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นสัตว์ที่มีความซับซ้อน และ Nanglu คาดหวังว่าฟอสซิลนี้จะช่วยให้เขาเข้าใจถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกมากขึ้น

“เรามีภาพมากมายเลยครับ” เขากล่าว “เรื่องนี้ยังไม่ใกล้ตอนจบเลยสักนิด”

เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์

 

อ่านเพิ่มเติม

ฟอสซิลอสุรกายแห่งท้องทะเลถูกพบในอินเดีย

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.