คลื่นความร้อนทางทะเลครั้งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่าง ‘บล็อบ’ คร่าชีวิตนกทะเลไปแล้ว 4 ล้านตัว

“4 ล้านชีวิตหายไปเพราะคลื่นความร้อน

มหาสมุทรแปซิฟิกกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่”

ในช่วงต้นปี 2016 ภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือเกิดคลื่นความร้อนในทะเลรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ‘บล็อบ’ (The Blob) มันทำให้อุณหภูมิน้ำพุ่งสูงขึ้น 2°C จากระดับปกติและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก

โดยในครั้งนั้นงานวิจัยในปี 2020 ที่เผยแพร่ตามมาระบุว่ามีสัตว์เสียชีวีตไปกว่า 62,000 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในอลาสก้า ขณะเดียวกันในบางพื้นที่ก็มีซานกตายในอัตราที่สูงกว่าปกติถึง 1,000 เท่า ซึ่งเผยให้เห็นโศกนาฏกรรมแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้เผยให้เห็นภาพรวมการสูญเสียที่แท้จริงของอาณานิคมนกในภูมิภาค ซึ่งเงียบเหงาและมีจำนวนเหลือเพียง 1 ใน 4 ของขนาดเดิม ตามรายงานฉบับใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Science ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าหดหู่กว่าใครคิดไว้มาก

“เรารู้ว่าจำนวนประชากรลดลงมาก แต่จำนวนก็ยังมาจนน่าตกใจ” เฮเทอร์ เรนเนอร์ (Heather Renner) นักชีววิทยาสัตว์ป่าจากหน่วยปลาและสัตว์ป่า (U.S. Fish and Wildlife) ที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติอลาสกา กล่าว

เรนเนอร์ได้ดำเนินโครงการตรวจสอบที่ครอบคุลมภูมิภาคทั้งหมดเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนกทะเลตั้งแต่ปี 1995 ถึง 2022 ในอาณานิคม 13 แห่งตามแนวชายฝฝั่งทะเลแบริ่งและอ่าวอลาสก้า และขนาดของการสูญเสียนั้นก็ชัดเจนในทันทีที่นักวิทยาศาสตร์มองเข้าไป 

“เราทราบทันทีว่ามันเป็นหายนะครั้งใหญ่” เรนเนอร์ กล่าว “มีซากนก 62,000 ตัวที่โดนพัดมาเกยตื้นบนชายหาดทั่วอ่าวอลาสก้า ลงไปจนถึงแคลิฟอร์เนียซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่เราไม่สามารถระบุขนาดการตายของนกได้อย่างชัดเจน” และเมื่อพวกเขารู้มันน่าเศร้าใจ “มันแย่กว่าที่เราคิดไว้มาก” 

ความสูญเสีย

ข้อมูลใชี้ให้เห็นอาณานิคมหลายแห่งมีขนาดลดลงครึ่งหนึ่งหลังจากเหตการณ์ ‘บล็อบ’ ขณะที่อาณานิคมตามแนวทะเลแบริงทางตะวันออกและทางตะวันตกของคาบสมุทรนั้นรุนแรงยิ่งกว่า โดยลดลงมาถึงร้อยละ 75 โดยรวมแล้วนกทะเลตายไปกว่า 4 ล้านตัว ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของนกทะเลทั้งหมด 

และประเด็นสำคัญคือพวกมันยังไม่ฟื้นกลับมา ในตอนแรกนักวิทยาศาสตร์คิดว่าที่ประชากรนกไม่กลับมานั้นอาจเป็นเพราะพวกมันเอาแต่หาอาหารในทะเลโดยไม่ได้กลับมาทำรัง แต่อย่างไรก็ตามการติดตามแบบต่อเนื่องหลายปีก็ชี้ให้เห็นว่าพวกมันไม่กลับมาจริง ๆ นกเหล่านั้นหายไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ 

ความจริงที่ว่าประกรนกไม่ได้ฟื้นฟูแม้จะผ่านไป 8 ปีแล้วทำให้สมมติฐานที่ว่า นกชะลอการผสมพันธุ์ชั่วคราวเพื่อรอสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่า ตกไป อาณานิคมที่กระจายไปทั่วแต่มีจำนวนนกน้อยลงเผยให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาจมีบางสิ่งที่สำคัญในระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป และไม่สามารถสนันบสนุนประชากรจำนวนมากได้ 

“การศึกษานี้แสดงให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนและยาวนานอย่างมากของคลื่นความร้อนในทะเลต่อสายพันธุ์สัตว์นักล่าชั้นนำในทะเล” จูเลีย พาร์ริช (Julia Parrish) ศาสตราจารย์ด้านการประมงและชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมในงานวิจัยปี 2020 กล่าว

“ที่สำคัญ ผลกระทบของคลื่นความร้อนไม่ได้แค่ก่อให้เกิดความเครียดต่อนก แต่กลับสร้างการเปลีย่นแปลงในห่วงโซ่อาหารที่ทำให้อาหารของนกทะเลขาดแคลนกระทันหันและเป็นอนัตรายถึงชีวิต” เขาเสริม 

นกไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่ต้องทนทุกข์ทรมาน จำนวนปลาขนาดเล็กเช่นปลาไข่ (Capelin) และปลาแซนแลนซ์ (Sand lance) ซึ่งเป็นอาหารหลักของนกทะเลหลายชนิดก็ลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของปกติ การขาดแคลนสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นี้ทำให้ประชากรปลาค็อดแปซิฟิกลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน 

ซึ่งทำให้การประมงในแถบนั้นเสียไปราว 3,400 ล้านบาท และที่ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าวาฬหลังค่อมเกือบ 7,000 ตัวหายไปจากแปซิฟิกในช่วงเวลาที่เกิดคลื่นความร้อน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความอดอยาก 

ปัจจุบันเราเห็นสัญญาณของการฟื้นตัวในบางสายพันธุ์เช่นปลาไข่ที่เริ่มกลับมาอีกครั้ง และปลาค็อดเองก็ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 25 ในอ่าวอลาสก้า แต่นกทะเลก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัว ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลจริง ๆ 

“การที่ผู้ล่าสูงสุดในห่วงโซ่อาหารหายไป ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง” ไซมอน ไทย์ (Simon Tye) นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ กล่าว “มันควรเป็นสัญญาณอันตรายสำหรับทุกคน”

สืบค้นและเรียบเรียง

วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

https://www.science.org

https://www.sciencenews.org

https://www.science.org

https://phys.org

https://www.washington.edu


อ่านเพิ่มเติม : องศา มหาสมุทรเดือด วิกฤตชีวิตใต้น้ำเสี่ยงภัยจากโลกร้อน

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.