ต้นกำเนิด ‘ไทรันโนซอรัส เร็กซ์’ อาจมาจากเอเชีย

“บรรพบุรุษของพวกมันกำเนิดขึ้นในเอเชีย จากนั้นก็เดินทางมายังอเมริกาเหนือ

และวิวัฒนาการกลายเป็นไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่โด่งดัง“

แม้ ทีเร็กซ์ จะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกและกลายเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่รู้จักกันมากที่สุด ซึ่งภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์ทุกเรื่องต้องมีนักล่าสูงสุดตัวนี้อยู่ด้วยทุกเรื่อง ราวกับว่าเรารู้จักมันในทุกมุมแล้ว แต่อันที่จริง ต้นกำเนิดของ ทีเร็กซ์ กลับเป็นเรื่องลึกลับทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าเหลือเชื่อ 

สิ่งที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือฟอสซิลของทีเร็กซ์นั้นพบได้แค่ในเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น (เจาะจงกว่านั้นคือ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) แต่ทว่ากลับมีความคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ในเอเชียอย่าง ทาร์โบซอรัส (Tarbosaurus) มากกว่าไดโนเสาร์ในอเมริกาเหนือเองซะอีก 

ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงเชื่อว่าจริง ๆ แล้ว ทีเร็กซ์ อาจเกิดและวิวัฒนาการขึ้นมาในเอเชีย จากนั้นค่อยอพยพมายังอเมริกาเหนือ แต่รายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Royal Society Open Science ระบุว่า อาจไม่เป็นเช่นนั้น บรรพบุรุษของมันอาจเดินทางมาอเมริกาเหนือ แล้วค่อยวิวัฒนาการเป็น ทีเร็กซ์ ในภายหลัง เมื่อกว่า 70 ล้านปีก่อน ผ่านเส้นทางไซบีเรียที่หายสาบสูญ

“แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของ ทีเร็กซ์ เป็นประเด็นถกเถียงที่ดุเดือด นักบรรพชีวินวิทยามีความเห็นแตกต่างกันว่าบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ น่าจะมาจากเอเชียเหนือหรืออเมริกาเหนือ” แคสเซียส มอร์ริสัน (Cassius Morrison) นักศึกษาปริญญาเอกจากยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน และผู้ทำการวิจัย กล่าว 

“แบบจำลองของเราชี้ให้เห็นว่า ‘ปู่ย่าตายาย’ ของ ทีเร็กซ์ น่าจะเดินทางมายังอเมริกาเหนือจากเอเชีย โดยข้ามช่องแคบแบริ่งระหว่างไซบีเรียและอลาสก้าในปัจจุบัน”

วิวัฒนาการของทีเร็กซ์ 

ตามข้อมูลที่เรารู้ ทีเร็กซ์ นั้นมีชีวิตอยู่เมื่อ 67 ถึง 66 ล้านปีก่อนในช่วงยุคครีเทเชียส โดยมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โตซึ่งมีสะโพกที่สูงกว่า 3.8 เมตรและยาวได้ถึง 12 เมตร ขณะที่ฟอสซิลของมันส่วนใหญ่พบได้ในรัฐมอนทานาและเซาท์ดาโกตาของสหรัฐอเมริกา กับรัฐอัลเบอร์ตาของแคนาดาบ้างบางส่วน 

หลักฐานจากอดีตเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ทีเร็กซ์ นั้นวิวัฒนาการมาจากสมาชิกที่ตัวเล็กกว่าในตระกูลของไทรันโนซอรัส แต่วิวัฒนาการขึ้นจุดไหนนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจาก ทีเร็กซ์ ดูจะมีความสัมพันธ์ทางกายวิภาคที่ใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ตระกลูไทรันโนซอรัสในเอเชียมากกว่า 

เชื่อกันว่าบรรพบุรุรษของ ทีเร็กซ์ น่าจะเพิ่งกลายมาเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อประมาณ 92 ล้านปีก่อน เมื่อภูเขาไฟจำนวนมากบนโลกได้พ่นเถ้าถ่านและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาในปริมาณมหาศาล จนทำให้อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงกกว่าปัจจุบัน 5-7 องศาเซลเซียส

จากนั้นโลกก็เย็นลงอย่างรวดเร็วและสร้างสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนไดโนเสาร์หลายชนิดไม่ทันตั้งตัว ทำให้นักล่าขนาดใหญ่อย่าง คาร์ชาโรดอนโตซอริด (carcharodontosaurids) สูญพันธุ์ไป และ ไทรันโนซอรัส ก็ไม่รอช้าที่จะเติมเต็มช่องว่างนี้

“ไทรันโนซอรัส น่าจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่โตมากจนมาแทนที่เทอโรพอดคาร์ชาโรดอนโตซอริดขนาดยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 90 ล้านปีก่อนได้” ชาร์ลี เชอเรอร์ ผู้เขียนงานวิจัยร่วม กล่าว “การสูญพันธุ์ครั้งนี้น่าจะทำลายกำแพงทางระบบนิเวศที่ป้องกันไม่ให้ไทรันโนซอรัสเติบโตจนมีขนาดใหญ่ได้” 

และตรงจุดนั้นเองที่งานวิจัยปี 2016 ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ น่าจะปรากฏตัวขึ้นในเอเชีย จากนั้นก็อพยพไปยังอเมริกาเหนือกลายเป็น ทีเร็กซ์ ที่แท้จริงในเวลาต่อมา และงานวิจัยใหม่ล่าสุดนี้ก็ได้สนับสนุนการค้นพบดังกล่าว 

นักวิจัยได้ใช้แบบจำลองที่อิงตามสถานที่และเวลาที่ค้นพบสายพันธุ์ต่าง ๆ ของไดโนเสาร์ในตระกูลไทรันโนซอรัส ตามต้นไม้แห่งวิวัฒนาการของสายพันธุ์ รวมเข้ากับสภาพอากาศในท้องถิ่น ซึ่งพบว่า ฟอสซิลของ ทีเร็กซ์ นั้นกระจายอยู่ทั่วไปในลารามิเดีย (Laramidia) หรือก็คือพื้นที่ส่วนบนของอเมริกาเหนือปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นทวีปเกาะที่ทอดยาวตั้งแต่อะแลสกา ไปจนถึงเม็กซิโก 

ขณะเดียวกันบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ ก็ปรากฎอยู่ในทั้งเอเชียและลารามิเดีย ซึ่งบ่งชี้ว่าบรรพบุรุษของทีเร็กซ์ น่าจะอพยพมาจากเอเชียและเดินทางไปยังอเมริกาเหนือ ในช่วงยุคแคมพาเนียนตอนปลาย และยุค

แม้ ทีเร็กซ์ จะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกและกลายเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่รู้จักกันมากที่สุด ซึ่งภาพยนตร์เกี่ยวกับไดโนเสาร์ทุกเรื่องต้องมีนักล่าสูงสุดตัวนี้อยู่ด้วยทุกเรื่องราวกับว่าเรารู้จักมันในทุกมุมแล้ว แต่อันที่จริง ต้นกำเนิดของ ทีเร็กซ์ กลับเป็นเรื่องลึกลับทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าเหลือเชื่อ 

สิ่งที่น่าประหลาดใจกว่านั้นคือฟอสซิลของทีเร็กซ์นั้นพบได้แค่เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น (เจาะจงกว่านั้นคือ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) แต่ทว่ากลับมีความคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ในเอเชียอย่าง ทาร์โบซอรัส (Tarbosaurus) มากกว่าไดโนเสาร์ในอเมริกาเหนือเองซะอีก 

ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงเชื่อว่าจริง ๆ แล้ว ทีเร็กซ์ อาจเกิดและวิวัฒนาการขึ้นมาในเอเชีย จากนั้นค่อยอพยพมายังอเมริกาเหนือ แต่รายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Royal Society Open Science ระบุว่า อาจไม่เป็นเช่นนั้น บรรพบุรุษของมันอาจเดินทางมาอเมริกาเหนือ แล้วค่อยวิวัฒนาการเป็น ทีเร็กซ์ ในภายหลัง เมื่อกว่า 70 ล้านปีก่อน ผ่านเส้นทางไซบีเรียที่หายสาบสูญ

“แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของ ทีเร็กซ์ เป็นประเด็นถกเถียงที่ดุเดือด นักบรรพชีวินวิทยามีความเห็นแตกต่างกันว่าบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ น่าจะมาจากเอเชียเหนือหรืออเมริกาเหนือ” แคสเซียส มอร์ริสัน (Cassius Morrison) นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และผู้ทำการวิจัย กล่าว 

“แบบจำลองของเราชี้ให้เห็นว่า ‘ปู่ย่าตายาย’ ของ ทีเร็กซ์ น่าจะเดินทางมายังอเมริกาเหนือจากเอเชีย โดยข้ามช่องแคบแบริ่งระหว่างไซบีเรียและอลาสก้าในปัจจุบัน”

วิวัฒนาการของทีเร็กซ์ 

ตามข้อมูลที่เรารู้ ทีเร็กซ์ นั้นมีชีวิตอยู่เมื่อ 67 ถึง 66 ล้านปีก่อนในช่วงยุคครีเทเชียส โดยมีขนาดร่างกายที่ใหญ่โตซึ่งมีสะโพกที่สูงกว่า 3.8 เมตรและยาวได้ถึง 12 เมตร ขณะที่ฟอสซิลของมันส่วนใหญ่พบได้ในรัฐมอนทานาและเซาท์ดาโคตาของสหรัฐอเมริกา กับรัฐอัลเบอร์ตาของแคนาดาบ้างบางส่วน 

หลักฐานจากอดีตเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ทีเร็กซ์ นั้นวิวัฒนาการมาจากสมาชิกที่ตัวเล็กกว่าในตระกูลของไทรันโนซอรัส แต่วิวัฒนาการขึ้นจุดไหนนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจาก ทีเร็กซ์ ดูจะมีความสัมพันธ์ทางกายวิภาคที่ใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ตระกลูไทรันโนซอรัสในเอเชียมากกว่า 

เชื่อกันว่าบรรพบุรุรษของ ทีเร็กซ์ น่าจะเพิ่งกลายมาเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อประมาณ 92 ล้านปีก่อน เมื่อภูเขาไฟจำนวนมากบนโลกได้พ่นเถ้าถ่านและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาในปริมาณมหาศาล จนทำให้อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงกกว่าปัจจุบัน 5-7 องศาเซลเซียส

จากนั้นโลกก็เย็นลงอย่างรวดเร็วและสร้างสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนไดโนเสาร์หลายชนิดไม่ทันตั้งตัว ทำให้นักล่าขนาดใหญ่อย่าง คาร์ชาโรดอนโตซอริด (carcharodontosaurids) สูญพันธุ์ไป และ ไทรันโนซอรัส ก็ไม่รอช้าที่จะเติมเต็มช่องว่างนี้

“ไทรันโนซอรัส น่าจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่โตมากจนมาแทนที่เทอโรพอดคาร์ชาโรดอนโตซอริดขนาดยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 90 ล้านปีก่อนได้” ชาร์ลี เชอเรอร์ ผู้เขียนงานวิจัยร่วม กล่าว “การสูญพันธุ์ครั้งนี้น่าจะทำลายกำแพงทางระบบนิเวศที่ป้องกันไม่ให้ไทรันโนซอรัสเติบโตจนมีขนาดใหญ่ได้” 

และตรงจุดนั้นเองที่งานวิจัยปี 2016 ชี้ให้เห็นว่าบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ น่าจะปรากฏตัวขึ้นในเอเชีย จากนั้นก็อพยพไปยังอเมริกาเหนือกลายเป็น ทีเร็กซ์ ที่แท้จริงในเวลาต่อมา และงานวิจัยใหม่ล่าสุดนี้ก็ได้สนับสนุนการค้นพบดังกล่าว 

นักวิจัยได้ใช้แบบจำลองที่อิงตามสถานที่และเวลาที่ค้นพบสายพันธุ์ต่าง ๆ ของไดโนเสาร์ในตระกูลไทรันโนซอรัส ตามต้นไม้แห่งวิวัฒนาการของสายพันธุ์ รวมเข้ากับสภาพอากาศในท้องถิ่น ซึ่งพบว่า ฟอสซิลของ ทีเร็กซ์ นั้นกระจายอยู่ทั่วไปในลารามิเดีย (Laramidia) หรือก็คือพื้นที่ส่วนบนของอเมริกาเหนือปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นทวีปเกาะที่ทอดยาวตั้งแต่อะแลสกา ไปจนถึงเม็กซิโก 

ขณะเดียวกันบรรพบุรุษของ ทีเร็กซ์ ก็ปรากฎอยู่ในทั้งเอเชียและลารามิเดีย ซึ่งบ่งชี้ว่าบรรพบุรุษของทีเร็กซ์ น่าจะอพยพมาจากเอเชียและเดินทางไปยังอเมริกาเหนือ ในช่วงยุคแคมพาเนียนตอนปลาย และยุคมาสทริคเชียนตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 72 ล้านปีก่อน 

“ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบจากการวิจัยในอดีตที่พบว่า ทีเร็กซ์ มีความใกล้ชิดกับญาติชาวเอเชียเช่น ทาร์โบซอรัส มากกว่าญาติของมันในอเมริกาเหนือเช่น ดาสเพลโทซอรัส (Daspletosaurus)” มอร์ริสัน กล่าว “ฟอสซิลของ ทีเร็กซ์ หลายสิบชิ้นถูกพบในอเมริกาเหนือ แต่การค้นพบของเราบ่งชี้ว่าฟอสซิลของบรรพบุรุษโดยตรงของ ทีเร็กซ์ อาจยังไม่ได้รับการค้นพบในเอเชียเลย” 

ขณะที่ สตีฟ บรูแซตเต้ (Steve Brusatte) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และผู้เขียนงานวิจัยร่วม ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ทีเร็กซ์ ที่คิดกันว่าเป็นไดโนเสาร์อเมริกันโดยแท้จริง ทั้งตัวใหญ่ กล้าหาญ ดุร้าย เป็นผู้ปกครองแห่งอเมริกาเหนือตอนตะวันตกในช่วงสุดท้ายของยุคครีเทเชียส” 

ตอนต้น หรือเมื่อประมาณ 72 ล้านปีก่อน 

“ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบจากการวิจัยในอดีตที่พบว่า ทีเร็กซ์ มีความใกล้ชิดกับญาติชาวเอเชียเช่น ทาร์โบซอรัส มากกว่าญาติของมันในอเมริกาเหนือเช่น ดาสเพลโทซอรัส (Daspletosaurus)” มอร์ริสัน กล่าว “ฟอสซิลของ ทีเร็กซ์ หลายสิบชิ้นถูกพบในอเมริกาเหนือ แต่การค้นพบของเราบ่งชี้ว่าฟอสซิลของบรรพบุรุษโดยตรงของ ทีเร็กซ์ อาจยังไม่ได้รับการค้นพบในเอเชียเลย” 

ขณะที่ สตีฟ บรูแซตเต้ (Steve Brusatte) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และผู้เขียนงานวิจัยร่วม ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ทีเร็กซ์ ที่คิดกันว่าเป็นไดโนเสาร์อเมริกันโดยแท้จริง ทั้งตัวใหญ่ กล้าหาญ ดุร้าย เป็นผู้ปกครองแห่งอเมริกาเหนือตอนตะวันตกในช่วงสุดท้ายของยุคครีเทเชียส” 

สืบค้นและเรียบเรียง

วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

https://royalsocietypublishing.org

https://www.livescience.com


อ่านเพิ่มเติม : ‘130 ล้านปีแห่งความลับ’ การปะติดปะต่อปริศนาไดโนเสาร์ในไทย

และความเป็นไปได้ในการพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.