โครงการสะพานเชื่อมสัตว์ป่าใน บราซิล

โครงการสะพานเชื่อมสัตว์ป่าใน บราซิล

บางครั้งสรรพสัตว์ก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากำลังถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ และการมอบพื้นที่คืนให้แก่บรรดาสัตว์ป่าเหล่านี้ เป็นนโยบายใหม่ที่องค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยเหลือธรรมชาติในป่าแอตแลนติกให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง ด้วยสะพานเชื่อมสัตว์ป่า

“เป็นวิธีการเยียวยาผืนป่าที่เต็มไปด้วยสายพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามครับ” Stuart Pimm นักอนุรักษ์จากมหาวิทยาลัย Duke กล่าว และตัวเขายังเป็นประธานขององค์กร SavingSoecies รวมถึงนักผจญภัยของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกอีกด้วย

นโยบายใหม่ที่ว่าคือสะพานเชื่อมสำหรับสัตว์ป่าที่จะเอื้อให้สัตว์หลายสายพันธุ์สามารถเดินทางออกจากเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Biológica União ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือห่างไปจากนครรีโอเดจาเนโร 93 ไมล์ สถานที่แห่งนี้เป็นผืนป่าเพียงแห่งเดียวที่หลุดออกมาจากฝืนป่าแอตแลนติก  มันมีขนาดเป็นสองเท่าของรัฐเท็กซัส และขณะนี้กว่า 85% ของผืนป่ากำลังถูกทำลาย

ผืนป่าอันโดดเดี่ยวแห่งนี้เป็นบ้านของสัตว์หลายสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยเฉพาะลิงไลออนทามารินสีทอง ลิงขนาดเล็กอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งสถานะของพวกมันกำลังใกล้สูญพันธุ์ ก่อนหน้านี้หน่วยงานอนุรักษ์เคยพยายามเพาะพันธุ์ช่วยเหลือสัตว์หลายชนิดมาแล้ว แต่จำนวนที่เติบโตขึ้นเพียงน้อยนิดทำให้พวกเขาเริ่มคิดว่าจำเป็นที่จะต้องหาที่อยู่ใหม่ให้แก่พวกมัน

ลิงไลออนทามารินสีทองเกาะอยู่บนกิ่งไม้
ภาพถ่ายโดย Stuart Pimm

 

ที่ไหนสักที่

เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่ Pimm และทีมงานของเขาพยายามเจาจรตกลงกับหน่วยงานที่ดินของบราซิล พวกเขาโน้มน้าวหน่วยงานทำถนนเพื่ออนุญาตให้สร้างสะพานสำหรับสัตว์เหนือไฮเวย์ “ถ้าเราต้องสร้างสะพานกันจริงๆ มันจะเป็นสะพานที่ไม่มีที่ไหนเหมือน” เขากล่าว ข้อตกลงเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2018 หลังบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจากการสร้างสะพานนี้ได้ข้อสรุป และพวกเขายังได้รับทุนจากองค์กร DOB Ecology ในเนเธอร์แลนด์อีกด้วย

โปรเจคการสร้างสะพานเพื่อสัตว์ครั้งนี้ใช้งบประมาณหลายล้านดอลล่าร์สหรัฐ (พวกเขาไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้) ด้านกลุ่มอนุรักษ์เองมองว่านี่เป็นวิธีที่ประหยัดแล้วที่จะช่วยไม่ให้สัตว์หลายชนิดต้องสูญพันธุ์ไปเมื่อถิ่นอาศัยของพวกมันถูกทำลายไป

ตัวอย่างของสะพานเชื่อมสัตว์ป่าในสิงคโปร์ ที่ช่วยให้ตัวนิ่ม, ชะมดและกระรอกสามารถข้ามไปยังผืนป่าอีกฝั่งได้

 

ทำไมต้องเป็นสะพาน?

แนวคิดเกี่ยวกับทางเดินของสัตว์ป่านี้้เป็นที่ถกเถียงมานานหลังบรรดาสัตว์ป่าต้องเผชิญกับมลพิษหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถชนขณะข้ามถนน และในช่วง 20 ปีมานี้แนวคิดดังกล่าวกลายมาเป็นกระแสหลักมากขึ้น ในปี 2006 ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าฝืนป่าที่ได้รับการเชื่อมต่อกันจะมีสายพันธฺุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายมากยิ่งขึ้น

เมื่อผืนป่าแห่งใดแห่งหนึ่งถูกแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว สายพันธุ์สัตว์ที่อาศัยอยู่จะถูกตัดขาดจากประชากรทั้งหมดของพวกมัน เมื่อเวลาผ่านไปจะนำไปสู่อัตราการผสมพันธุ์ที่น้อยลง, ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่ลดลง และการสูญพันธุ์ในที่สุด

ในบราซิล ผืนป่าหลายแห่งถูกคุกคามจากการตัดไม้ ถางพื้นที่ทำการเกษตรหรือปศุสัตว์ ด้าน Pimm กล่าวว่าช่วงเวลาที่เขาต่อสู้เพื่อให้เกิดสะพานแห่งนี้ขึ้น ในตอนนั้นหลายประเทศทั่วโลกก็ยังไม่มีการสร้างสะพานเชื่อมในลักษณะนี้ ซึ่งในอนาคตเขาคาดหวังว่า วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผืนป่าอื่นๆ ในอีกหลายแห่งทั่วโลกเช่นกัน

เรื่อง ซาร่าห์ กิบเบ็นส์

 

อ่านเพิ่มเติม

เต่าแม่น้ำแมรี่ ติดอันดับสัตว์เลื้อยคลานเสี่ยงสูญพันธุ์

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.