กองทัพทหารถูกสร้างขึ้นเพื่อรับใช้ จิ๋นซีฮ่องเต้ ในชีวิตหลังความตาย
ภาพถ่าย IRA BLOCK, NAT GEO IMAGE COLLECTION
หากก๊อกน้ำในห้องน้ำของคุณมีสีเงินมันวาว แสดงว่ามันคงผ่านการชุบโครเมียมมาแล้ว โดยยุโรปได้เริ่มการทดลองกับเทคโนโลยีป้องกันสนิมนี้เมื่อศตวรรษที่ 19 แต่ก็นับเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่ทฤษฎีทางเลือกเช่นนี้ได้แพร่หลายในแวดวงวิชาการและสื่อซึ่งเป็นที่นิยม ทฤษฎีนี้คือ: การชุบโครเมียมประดิษฐ์ขึ้นในศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล ณ แผ่นดินจีน เพื่อป้องกันไม่ให้อาวุธทองสัมฤทธิ์ที่ฝังอยู่กับกองทัพทหารดินเผาในหลุมฝังศพของจักรพรรดิจิ๋นซีนั้นเกิดสนิม
โดยทฤษฎีการชุบโครเมียมนี้มีมาตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งนี้ถูกค้นพบครั้งแรก หลังจากรายงานการขุดค้นบ่งชี้ว่า การเคลือบผิวบนวัสดุสามารถอธิบายวิธีรักษาอาวุธทองสัมฤทธิ์อายุ 2,200 ปีได้อย่างดีเยี่ยม นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงบุกเบิกที่เรียกว่า การทำแผนที่องค์ประกอบเพื่อเผยให้เห็นชั้นของโครเมียมที่อยู่ภายในตัวต้นแบบอาวุธ โดยนักวิจัยบ่งชี้ว่า อาวุธต่างๆ สามารถจุ่มลงไปในสารละลายโครเมียมออกไซด์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่รู้จักกันในชื่อ การชุบโลหะ ซึ่งเทคนิคนี้จะแตกต่างกับวิธี การชุบโครเมียม แบบสมัยใหม่
วิธีการทั้ง 2 ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะเวลากว่าสองพันปีที่แล้วในช่วงราชวงศ์ฉิน แต่ปรากฎว่ากระบวนการเหล่านั้นไม่ได้นำมาใช้กับอาวุธโดยตรง และข้อมูลเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Scientific Reports
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนและพิพิธภัณฑ์รูปปั้นทหารและม้าศึกของจักรพรรดิจิ๋นซี ได้ร่วมกันศึกษาหัวลูกธนูสัมฤทธิ์ ปลอกโลหะ ดาบ และอาวุธอื่นๆ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูงที่เผยให้เห็นพื้นผิวและโครงสร้างของโลหะต่อมาคือ X-ray Fluorescence (XRF) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ธาตุซึ่งแสดงให้เห็นองค์ประกอบทางเคมี กลุ่มตัวอย่างในการทดลองเหล่านี้เผยให้เห็นว่ามีโครเมียมอยู่ตรงส่วนไหน และไม่มีอยู่ตรงส่วนไหนบ้าง
เป็นเรื่องปกติที่โลหะจะเชื่อมต่อกับด้ามจับแบบไม้ ไม้ไผ่ หรือสปริง ซึ่งจะถูกเคลือบด้วยแลคเกอร์แล้วทาสี แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้กลับไม่พบในส่วนของสัมฤทธิ์ที่มีสภาพบูรณ์ การวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่าแลคเกอร์เป็นแหล่งที่มาของโครเมียมซึ่งตรวจพบโดยนักวิจัยช่วงก่อนหน้านี้
การตรวจสอบดินในบริเวณนั้นทำให้เกิดปมปัญหามากขึ้น: ดินเป็นด่างและเนื้อละเอียด ซึ่งส่งผลให้การเติมอากาศและการเจริญเติบโตของอินทรีย์ถูกจำกัด แม้เวลาจะผ่านไปอย่างเนิ่นนาน ปัจจัยของดินที่เป็นด่างและเนื้อละเอียดก็สามารถทำให้วัตถุโลหะ (ซึ่งก็คืออาวุธ) ยังคงมีความทนทานอยู่ด้วยเช่นกัน
“ทางทีมงานได้ปฏิบัติงานอย่างยอดเยี่ยมในการพิสูจน์เพื่อหักล้างทฤษฎีการชุบโครเมียมพร้อมกับให้คำอธิบายที่เป็นทางเลือกอื่นๆ ” — W. Thomas Chase, ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์เทคโนโลยีสัมฤทธิ์ของจีน กล่าว
““การวิเคราะห์วัสดุหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นโลหะ หรือดิน เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องกัดกร่อน รวมไปถึงการรักษาอาวุธโบราณเหล่านี้ในระยะยาวได้อย่างไร พร้อมกับช่วยให้เราคิดค้นวิธีการเก็บรักษาสิ่งประดิษฐ์ที่ทำมาจากโลหะได้อีกด้วย” — W. Thomas Chase กล่าว
Robert Murowchick, รองผู้อำนวยการแห่งศูนย์เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยบอสตัน กล่าวว่า ความคิดเดิมที่ว่าการชุบอาวุธด้วยโครเมียมเป็นสิ่งที่ผู้คนเชื่อถือกันมานาน เขากล่าวและเสริมว่า “ซึ่งไม่ใช่ความคิดธรรมดาเลยหากจะบ่งชี้ว่า โรงงานในราชวงศ์ฉินนั้นได้ตั้งใจสร้างวิธีการชุบโครเมียมอย่างประณีต เพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อน”
“มันน่าจะเป็นคำอธิบายที่น่าสนใจสำหรับนักวิชาการและสาธารณชน” Murowchick ตั้งข้อสังเกต “ตามที่ได้เสนอไปว่า เรื่องราวในอดีตจากบันทึกของนักประวัติศาสตร์จีนสมัยก่อน ซึ่งได้ระบุเกี่ยวกับการสร้างมหาสุสานขนาดใหญ่โตมโหฬารนั้นเป็นความปรารถนาของจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์ฉินเพื่อไว้เป็นที่ประทับชั่วกัลปาวสาน”
***แปลและเรียบเรียงโดย กุลธิดา ปัญญาเชษฐานนท์
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย