ณ The King Galon Gold Leaf workshop ในมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา จะมีการทุบเม็ดทองคำที่ถูกสอดอยู่ระหว่างแผ่นใยไผ่ใช้ค้อนทุบจนกลายเป็นแผ่น ทองคำเปลว เพื่อนำไปใช้กับพระพุทธรูปที่วัด หรือศาลเจ้าทั่วประเทศ
เรื่อง และภาพถ่าย : พอล ซาโลเพก
“ดูสิ มันบางมาก” Htet Htet กล่าว
Htet นักธุรกิจหญิง อายุ 24 ปี และเป็นเจ้าของ The King Galon Gold Leaf workshop นั่งอยู่ในร้านพลางมองดูแผ่นทองคำเปลวขนาดเท่าแสตมป์ที่แปะติดกับกระดาษไม้ไผ่บนฝ่ามือของเธอ ฟอยล์เรืองแสงระยิบระยับเมื่อเธอพลิกฝ่ามือไปมา
ทองคำเปลวบางเพียงใด?
ผิวหนังมนุษย์มีความหนาประมาณ 0.18 เซนติเมตร ความหนาของกระดาษโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.01 เซนติเมตร แต่ทองคำเปลวมีความหนาเพียง 0.000254 เซนติเมตร หรือ 2.5 ไมครอน ซึ่งบางกว่าเส้นผมมนุษย์ประมาณ 30 เท่า
“เราต้องทุบแผ่นทองคำเปลวมากกว่า 20,000 ครั้ง ใช้เวลาตอกมากกว่าห้าชั่วโมงเพื่อให้มันบางขนาดนั้น” Htet กล่าว
การผลิตทองคำเปลวในเมียนมามีมานานหลายศตวรรษ เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การแปะทองคำเปลวลงบนรูปปั้นที่เจดีย์เป็นวิธีหนึ่งในการเชิดชูคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องการแสดงความรัก ความเมตตา โดยทองคำในพระพุทธศาสนาหมายถึงดวงอาทิตย์ เปรียบดั่งเปลวไฟแห่งความบริสุทธิ์ ความรู้ และการตรัสรู้
The King Galon Gold Leaf Workshop เป็นโรงงานเก่าแก่ขนาดเล็ก กลุ่มชายหนุ่มไม่สวมเสื้อแกว่งค้อนหนัก 3 กิโลกรัมทุบลงบนหนังกวางที่มีเม็ดทองคำซ้อนอยู่ระหว่างชั้นกระดาษไม้ไผ่
เริ่มต้นพวกเขาใช้ค้อนตีลงบนหนังกวางเป็นวงกลมเพื่อทำให้ทองคำแบนและกลมเหมือนเหรียญ จากนั้นทุบตรงกลางอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บางที่สุด ท่ามกลางเสียงค้อนทุบที่หนักแน่น ดังเป็นจังหวะอยู่นาน การยกค้อนขึ้น แล้วทุบลงอยู่อย่างนั้นนาน ๆ ส่งผลเสียต่อหลังเป็นอย่างมาก
“การทุบแผ่นทองคำเปลวครั้งแรกมันปวดมาก” มิน มิน อายุ 33 ปี นักตอกทองรุ่นเก๋า กล่าว
“ ทองคำเปลวยังสามารถรับประทานได้ มันดีต่อหัวใจ” Htet ผู้จัดการร้าน กล่าว “ อีกทั้งสุภาพสตรีใช้เป็นเครื่องสำอางบนใบหน้าได้อีกด้วย”
นักท่องเที่ยวนิยมซื้อทองคำเปลว Htet’s เป็นของที่ระลึก แต่ปัจจุบันชาวต่างชาติห่างหายจากมัณฑะเลย์ไปนานเนื่องจากเหตุการณ์ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดไปทั่วโลก
ทองคำในเมืองวาติกัน มัสยิดแห่งอัล-อักซอที่ซึ่งศาสดามูฮัมหมัดขึ้นสู่สวรรค์นั้นก็มีโดมเป็นทองคำ วัดฮินดูเกือบทุกแห่งในอินเดียมีทองคำสำรอง
พระพุทธรูปสูงใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ในวัด ส่องแสงระยิบระยับ ถูกหุ้มด้วยแผ่นทองคำเปลวหนาหกนิ้ว ผู้แสวงบุญทั้งที่มั่งมี และขัดสนต่างเดินทางมายังวัดพร้อมชิ้นส่วนทองคำเปลวที่ระยิบระยับบนนิ้วมือ การขจัดเศษทองคำเปลวที่ติดบนผิวหนังเป็นเรื่องยาก
***แปลและเรียบเรียงโดย พชร พงศ์ยี่ล่า
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย