ชุมชนแห่งนี้เปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นผืนป่าอย่างน่าอัศจรรย์

ชุมชนแห่งนี้เปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นผืนป่าอย่างน่าอัศจรรย์

“ผืนป่าคือครรภ์ อากาศจากเขตร้อนเป็นดั่งน้ำผึ้งเหนียวหนืด ที่เติมเต็มใบหูของเราจวบจนกว่าเสียงจากโลกภายนอกจะไกลห่างออกไป ผู้คนเดินทางมาจากทั่วโลก ผู้คนเหล่านี้รู้สึกว่าชีวิตธรรมดาๆ ของพวกเขาไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว”

คำพูดจาก Neha Hirve ช่างภาพจากสตอร์กโฮม ผู้ใช้เวลากว่า 2 เดือนในการบันทึกภาพของ Sadhana ชุมชนที่ไม่เชื่อมโยงกับใคร อันประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหลายร้อยคน ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของอินเดีย

ในครั้งหนึ่งพื้นที่แห่งนี้เคยเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ชาวยุโรปที่เข้ามาล่าอาณานิคมได้โค่นผืนป่าเขตร้อนลงเพื่อสร้างเมืองตลอดศตวรรษที่ 18 – 20 ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทะเลทราย ในปี 2003 Sadhana ชุมชนเล็กๆ ในเมืองออโรวิลล์ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชายชาวอิสราเอลผู้มีนามว่า อาวีรัม มีเป้าหมายที่จะฟื้นคืนผืนป่าให้กับที่ดินผืนนี้ นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ต้นไม้กว่า 30,000 ต้นก็ถูกปลูกขึ้นด้วยแรงของอาสาสมัครจากทั่วโลก

“ผู้คนจำนวนมากล้วนมีเรื่องส่วนตัว การได้อาศัยอยู่ในธรรมชาติช่วยให้พื้นที่พวกเขาได้หยุดคิด แม้ว่าแต่ละคนจะผ่านความยากลำบากแค่ไหนมาก็ตาม” ช่างภาพหญิงกล่าว

Hirve เคยอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวของ เมืองออโรวิลล์ ในขณะที่เธอกำลังทำวิจัยให้กับวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเธอ ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิดสวีเดน จากนั้นเธอจึงเดินทางมายังอินเดียเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อเริ่มต้นบันทึกโปรเจค Full Shade / Half Sun

เธอเข้าร่วมกับการประท้วงของชาวเมืองอย่างสงบและนั่นเป็นครั้งแรก ที่กระบวนการสร้างผลงานด้วยภาพถ่ายของเธอถูกนำมาใช้กับปัจจุบัน แทนที่จะมุ่งไปที่ผลลัพธ์


เลียมพอกตัวด้วยโคลน


มุ้งกันยุงป่า


แครกเกอร์แห้งตากอยู่ในมุ้งข้างแผงโซลาเซลล์


กระท่อมตามวัฒนธรรมของชาวทมิฬ ในชุมชน Sadhana พวกเขาสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นจากวัสดุตามธรรมชาติเช่น ท่อนไม้ ใบปาล์ม และมะพร้าวเชือก โดยไม่ใช้ตะปูเลยสักตัว


เซียรันเล่นกีต้าร์ภาในห้องสมุดของชุมชน


ต้นบันยันเติบโตขึ้นโอบล้อมต้นไม้ใหญ่


ไชราฟแต่งกายด้วยชุดส่าหรี หลังไปวัดพร้อมกับครอบครัว เธอเป็นน้องสาวคนเล็กของพี่น้องชาวอิสราเอล ทั้งหมดไม่มีใครได้เข้าเรียนยังโรงเรียนทั่วไป พวกเขาเรียนรู้กันเองในแนวคิดที่เรียกว่า Unschooling


จอห์นนี่ ชาวออสเตรเลียเดินทางมาตั้งถิ่นฐานยังสถานที่แห่งนี้เมื่อปี 1970


เอเลน่านั่งสมาธิภายในป่า

Hirve รู้สึกประหลาดใจที่ตัวเธอสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างรวดเร็ว การอยู่อาศัยอย่างสันโดษ รับประทานมังสวิรัติ ครั้งหนึ่งเมื่อแผงโซลาเซลล์ให้พลังงานต่ำลง เธอประดิษฐ์เครื่องให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยพลังงานจากการปั่นจักรยานของสมาชิกชุมชนจำนวน 40 คน

“ฉันเข้าร่วมในชุมชน ทำทุกอย่างที่พวกเขาทำ ช่วยทำอาหาร ทำความสะอาด ปลูกป่า ซึ่งเป็นประโยชน์มาก พวกเขาเห็นฉันเป็นมากกว่าช่างภาพที่มาจากโลกภายนอก”

การแก้ปัญหาทางธรรมชาติ

หนึ่งในช่วงเวลาที่มหัศจรรย์และมีมนต์ขลัง ถูกบันทึกไว้โดย Hirve เอง เธอจับภาพของชายคนหนึ่งที่กำลังคุกเข่าลงไปกับพื้น ศีรษะของเขาจมลงไปในหลุม ขณะที่กำลังลงแรงปลูกต้นไม้ เฉดสีของเสื้อผ้าเขากลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบตัว “อุปมาเหมือนป่ากลายเป็นเครื่องห่อหุ้มผู้คนเหล่านี้จากโลกภายนอก” เธอกล่าว

ทั้งนี้โปรเจคดังกล่าวก็มีความท้าทายอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคืออุณหภูมิของอากาศที่สูงทำให้เธอค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพ เมื่อที่นี่ไม่มีตู้เย็น ทำให้เธอต้องเดินทางข้ามไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อแช่ฟิล์มลงในตู้เก็บไอศกรีม

โปรเจค Full Shade / Half Sun มีเป้าหมายเพื่อเปิดเผยเรื่องราวของเมืองออโรวิลล์ และชุมชน Sadhana ให้ทั่วโลกได้รู้จัก รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้คนคิดถึงวิถีชีวิตที่สัมผัสกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

“ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับโลกของเรา” เธอกล่าว “มันจำเป็นที่จะต้องมีวีธีการแก้ปัญหาที่ต่างออกไป”

เรื่อง Sarah Stacke

ภาพถ่าย Neha Hirve

 

อ่านเพิ่มเติม

โครงการสะพานเชื่อมสัตว์ป่าในบราซิล

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.