โบบาที (Boba Tea), บับเบิลที (Bubble) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ ‘ ชานมไข่มุก ’ นั้นแม้จะเป็นชื่อเหมือน ‘ฟองสบู่’ (Bubble) แต่ก็เป็นผลมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ นั่นคือเป็นก้อนแป้งที่เคี้ยวได้หนึบหนับ รสชาติหวาน ที่อยู่บริเวณด้านล่างของถ้วย ซึ่งถูกดูดขึ้นมาพร้อมกับของเหลวผ่านหลอดที่มีขนาดกว้างเป็นพิเศษ
เครื่องดื่มนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1980 จากร้านชาแบบดั้งเดิมของไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันยังคงตั้งอยู่กระจายเกือบทั่วทั้งเกาะ ซึ่งแทนที่จะเป็นร้านนั่งจิบชาเบา ๆ แต่กลับกลายเป็นร้านที่ขยายกิจการอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ
ตั้งแต่นั้นแก้วแรกกำเนิดขึ้น ชานมไข่มุกก็กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชีย แต่ก็มีบางประเทศในยุโรปที่นำไข่มุกมาเสิร์ฟในรูปแบบต่าง ๆ แม้แต่บน “หน้าพิซซ่า” ก็ตาม
ต้นกำเนิดเนื้อสัมผัสเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารไต้หวัน และท็อปปิ้งที่มีส่วนผสมของแป้งเคี้ยวหนึบหนับจึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในไต้หวันมาหลายชั่วอายุคน โดยมักจะเสิร์ฟบนน้ำแข็งหรือใส่น้ำตาล แต่ก็มีบางร้านที่ตัดสินใจนำมันลงไปในเครื่องดื่มร้านน้ำชาสองแห่งคือ Chun Shui Tang ตั้งอยู่ในตอนกลางเมืองไถจง และ Hanlin Tea Room ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองไถหนาน ต่างอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้คิดค้นรายแรกในปี 1986
“เมื่อเราเริ่มดื่มชาเย็น เราพวกมันมีชาจำนวนมากอยู่แล้ว พ่อของฉันก็เริ่มคิดว่าเราจะทำการเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกบ้าง” แองเจลล่า ลิว (Angela Liu) ลูกสาวของผู้ก่อตั้งร้าน Chun Shui Tang กล่าว
พ่อของเธอขอให้พนักงานทดลองกับรสชาติและเนื้อสัมผัสต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นก็ตัดสินใจเติมมันสำปะหลังลงไป จึงเป็นที่มาของเครื่องดื่มขนิดนี้
ขณะที่ร้าน Hanlin Tea Room เล่าว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “แผงขายขนมหวาน” ในตลาดดั้งเดิมที่บ้านเกิด
“เราคิดมาสองสามวันแล้วว่าจะเพิ่มมูลค่าให้เครื่องดื่มอย่างไร ทันใดนั้นเราก็สังเกตเห็นก้อนแป้งในน้ำน้ำตาลที่คุณยายขายอยู่” แจ็ค ฮวง (Jack Huang) ผู้จัดการของร้าน Hanlin Tea Room กล่าว “เขาคิดว่า ‘ทำไม (ก้องแป้ง) ต้องคู่กับน้ำตาลเท่านั้น?’ ดังนั้นเขาจึงใส่มันลงไปในชา”
การอ้างสิทธิ์ของทั้งคู่นั้นรุนแรงมาก จนทั้งสองร้านต้องใช้เวลากับคดีฟ้องร้องที่ยืดเยื้อนานนับสิบปี และท้ายที่สุดในปี 2019 ศาลสรุปได้ว่าเนื่องจากชานมไข่มุกไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ใครเป็นผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์จริง ๆ จึงไม่เกี่ยวข้อง
หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า “ชานมไข่มุกเป็นของทุกคน”
วิธีทำ โดยทั่วไปแล้วไข่มุกนั้นทำมาจากแป้ง น้ำตาลทรายแดง และน้ำจำนวนมากผสมม้วนรวมตัวกันเป็นลูกเล็ก ๆ แล้วต้มในน้ำจนกลายเป็นก้อนเหนียวที่เคี้ยวหนึบ
มันทำมาจากแป้งมันสำปะหลังเป็นหลัก เนื่องจากทำให้มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม แต่บางครั้งก็ผสมกับแป้งมันเทศซึ่งทำให้ได้ความแน่น ส่วนน้ำตาลทรายแดงก็ทำให้เกิดสีคาราเมลเข้มอันเป็นเอกลักษณ์
แต่เนื่องจากไข่มุกที่ทำเสร็จใหม่จะมีอายุให้รับประทานได้เพียง 1-2 วันเท่านั้น ผู้ผลิตเชิงพาณิชย์หลายรายจึงเติมสารเติมแต่งเพื่อทำให้มีความคงตัวมากขึ้น จากนั้นก็อยู่ที่ว่าเราอยากกินมันคู่กับเครื่องดื่มประเภทไหน
ไข่มุกยุคแรก ๆ ดื่มพร้อมชานมที่เย็นหวาน อย่างไรก็ตามยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงตามความหลากหลายที่มีอยู่ ทำให้เราเห็นไข่มุกอยู่ในทุกเครื่องดื่มอย่างชาอูหลง หรือน้ำผลไม้
สถานที่ดื่มด่ำกับชาไข่มุกในไทเป เมืองหลวงของไต้หวันเป็นเมืองหลวงของชาไข่มุกด้วยเช่นกัน นี่คือร้าน 3 แห่งที่ดีที่สุดที่ National Geographic แนะนำ
.
กุ้ยจิ (Guiji) มีสาขาหลายแห่งทั่วเมือง โดยมีชื่อเสียงมาจากไข่มุกสีสันสดใส ปรุงด้วยน้ำผึ้ง และมีเมนูแปลกตาที่หมุนเวียนไปตามฤดูชาและผลไม้ เช่นเมนูที่ชื่อว่า Tieguanyin ซึ่งผสมทั้งส้ม มะเฟือง เมล่อน แอปเปิ้ล และมะนาว
.
บริษัท จอห์น ที (John Tea Cpmpany) ร้านที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมชาของอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านชานมครีมที่ทำจากชาใบดำของอินเดีย ไต้หวัน และศรีลังกา นมดังกล่าวมาจากหมู่บ้าน Liu Jia ซึ่งเป็นสหกรณ์โคนมทางตอนใต้ของไต้หวัน ขึ้นชื่อเรื่องนมที่มีความมัน ส่วนไข่มุกจะมีทั้งแบบเล็ก สีขาว และทึบแสง
.
เจียเต๋อ (Jiate) มีความหมายว่า ‘ดื่มชา’ ในภาษาของไต้หวัน เป็นตัวแทนของชาท้องถิ่นที่มีกลิ่นหอมหวานของชาดำจากทะเลสาบสุริยันจันทรา หรือกลิ่นหอมของดอกไม้จากชาอูหลงบนที่สูงของเกาะจากอาลีซาน ขณะที่ไข่มุกก็มีมาจากชาเขียวหรือว่านหางจระเข้ นอกจากนี้ทางร้านยังมีท็อปปิ้งโฟมชีสรสหวานและเผ็ดให้เลือกด้วยเช่นกัน
แปลและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล