ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ฝุ่น PM 2.5 (ตอนที่ 2)

ภาพถ่ายโดย เอกรัตน์ ปัญญะธารา

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ฝุ่น PM 2.5 (ตอนที่ 2)

ประเทศมีค่าเฉลี่ยคุณภาพของอากาศที่ดีเป็นเพราะอะไร และภาคใดในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอากาศดีที่สุด

จากสถานการณ์ฝุ่นละอองที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงานจากภาครัฐต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องและช่วยออกมาตรการป้องกัน ซึ่งในต่างประเทศ หน่วยงานรัฐบาลได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมฝุ่นและมลพิษอย่างจริงจัง และรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้รถขนส่งสาธารณะอันเป็นการลดปริมาณรถยนต์ที่เผาไหม้เชื้อเพลิงบนท้องถนน รวมถึงปลูกต้นไม้เพื่อดักจับมลพิษและฟอกอากาศให้ดีขึ้น

แต่ในประเทศไทย จังหวัดทางภาคใต้ และภาคตะวันออกมีค่าเฉลี่ยคุณภาพของอากาศดีที่สุดเพราะลักษณะภูมิภาคเป็นชายฝั่งทะเล และคาบสมุทรที่มีลมมรสุมพัดผ่านตลอดปี จึงก่อให้เกิดฝุ่นละอองสะสมในปริมาณน้อยกว่าภาคอื่น ในขณะที่ภาคกลางอย่างจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่เสี่ยงต่อฝุ่นละอองมากที่สุด นอกจากนี้ทางภาคเหนือที่มีลักษณะภูมิภาคเป็นแอ่งกระทะ ลมไหลเวียนไม่สะดวก จึงทำให้มลพิษไม่สามารถพัดออกไปไหนได้ และทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองเป็นเวลานาน

เคยมีสถานการณ์ PM 2.5 ที่ประเทศอื่นไหม และประเทศนั้นแก้ไขปัญหาอย่างไร

ในนานาประเทศที่เคยประสบปัญหาเช่นนี้ ต่างก็มีวิธีการรับมือกับฝุ่นละอองอย่างเข้มงวด ล่าสุดอย่างประเทศเกาหลีใต้ ที่ได้ออกมาตรการลดการผลิตในโรงไฟฟ้า รณรงค์ให้ประชาชนทำกิจกรรมกลางแจ้งให้น้อยลง และห้ามเจ้าหน้าที่รัฐขับรถมาทำงาน

ต่อมาคือกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้ออกมาตรการห้ามรถที่ผลิตก่อนปี 1997 ขับเข้าไปในย่านใจกลางเมืองช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 20.00 รวมทั้งห้ามรถยนต์ดีเซลทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนก่อนปี 2001 ขับเข้าพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย หรือในประเทศจีนที่ประสบปัญหาหมอกควันพิษอย่างหนัก ในด้านการจราจร ได้กำหนดวันคี่วันคู่สำหรับรถยนต์ ควบคุมมาตรฐานการปล่อยไอเสีย และสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า ด้านการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงานถ่านหินจากโรงงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงสร้างหอคอยฟอกอากาศ ที่สามารถกรองอากาศพิษพร้อมกับปล่อยอากาศที่ปลอดภัยออกสู่ภายนอก

ส่วนมาตรการป้องกันของประเทศไทยในสถานการณ์ล่าสุดที่รัฐบาลนำออกมาแก้ปัญหา คือการฉีดน้ำในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดข้อถกเถียงในหลากหลายมุมมองว่าวิธีการนี้สามารถช่วยลดฝุ่นละอองได้จริงหรือ โดยนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่าตามหลักวิทยาศาสตร์โมเลกุลน้ำมีขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลฝุ่น PM 2.5 ทำให้ฝุ่นไม่สามารถจับตัวกับน้ำได้ แต่ขณะเดียวกันเมื่อฉีดน้ำทำให้พื้นถนนหรือบริเวณดังกล่าวมีความชื้น เมื่อเจอกับความร้อนก็จะกลายเป็นไอน้ำที่สามารถจับตัวฝุ่น PM 2.5 ได้ ดังนั้นการฉีดน้ำก็ถือว่าช่วยบรรเทาลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้บ้างเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

หน้าที่ของภาครัฐที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลคุณภาพอากาศ คือหน่วยใดบ้าง

ส่วนอีกมาตรการหนึ่งคือฝนหลวง โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันว่า ฝนที่ตกลงมาเป็นผลจากปฏิบัติการฝนหลวง และเมื่อตรวจสอบค่าฝุ่นละอองในอากาศก่อนและหลังทำฝนหลวงร่วมกับกรมควบคุมมลพิษพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น เขตบางขุนเทียน ลดลงจาก 82 เหลือ 72 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เขตพญาไท ลดลงจาก 53 เหลือ 43 เขตพระนคร ลดลงจาก 74 เหลือ 65 เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลคุณภาพอากาศ ได้แก่

ขอขอบคุณภาพจาก https://medium.com/@thanuja.s/cloud-seeding-an-artificial-rainfall-85638b433f4a

อ่านเพิ่มเติม : ฝุ่นละออง PM 2.5 ภัยร้ายกลางเมืองที่กำลังคุกคามสุขภาพ

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.