การขาดทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายหลักและการลงทุนนับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในการปกป้อง พื้นที่ธรรมชาติ และสัตว์ป่า อาจทำให้โลกได้เห็นการแพร่ระบาดของโรคระบาดในรูปแบบเดียวกับ COVID-19 อีกครั้ง — คำเตือนจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายชาติ
การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพสามารถรักษาชีวิตมนุษย์กล่าวอ้าง ตามรายงานฉบับใหม่ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ตรวจสอบว่า การลดลงของ พื้นที่ธรรมชาติ และสัตว์ป่าทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับโรคภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
นี่เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่มีข้อโต้แย้ง การทำลายป่าไม้คือตัวเร่งที่สำคัญของโรคระบาด ลี ฮานนาห์ นักวิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศขององค์กร Conservation International ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องของผลกระทบจากการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ โดยรายงานนี้ได้รวบรวมในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจากการเวิร์กช็อปโดยองค์การการประชุมเวทีวิทยาศาสตร์-นโยบายระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ (Intergovernment Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services – IPBES) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มาจากทั้งหน่วยงานการศึกษา รัฐบาล และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
โดยในรายงานกล่าวว่า “หากไร้ซึ่งกลยุทธ์เชิงป้องกัน จะเกิดโรคระบาดประเภทใหม่ๆ มากขึ้น แพร่กระจายรวดเร็วขึ้น ทำให้มีคนเสียชีวิตมากขึ้น และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและส่งผลกระทบที่ทำลายล้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน”
การสูญเสียที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและโรคภัยเกี่ยวข้องกันอย่างไร
คำแนะนำจากรายงานฉบับนี้คือให้ใช้วิธีการเชิงป้องกันเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสที่มักจะเกิดขึ้นจากสัตว์
โดยนักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่ามีไวรัสกว่า 1.7 ล้านชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก และครึ่งหนึ่งของไวรัสเหล่านี้สามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะไม่ใช่เหตุบังเอิญ ผู้เขียนรายงานกล่าวและเสริมว่า โรคระบาดเหล่านั้นกำลังเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มความตึงเครียดต่อธรรมชาติและทำให้ผู้คนต้องสัมผัสติดต่อกับสัตว์ป่ามากขึ้น
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2019 บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ออกคำเตือนว่า การเพิ่มขึ้นของการตัดไม้ทำลายป่าได้สร้างสภาวะที่เอื้อต่อการระบาดของโรค พื้นที่ธรรมชาติที่สูญไปย่อมหมายถึงความเสี่ยงตามมา โดยฮานนาห์เรียกให้มีการสนใจในเรื่องของพื้นที่ป่าซึ่งเต็มไปด้วยความหนาแน่นทางความหลากหลายทางชีวภาพและสถานที่ที่เป็นพาหะของโรคระบาดต่างๆ
เขาได้ยกตัวอย่างการตัดไม้ทำลายป่าแอมะซอนของบราซิล ซึ่งต้นไม้มักถูกโค่นทำลายเพื่อการปศุสัตว์ โดยสัตว์ในการปศุสัตว์เหล่าอาจเป็นตัวกลางระหว่างสัตว์ป่าที่ติดเชื้อและคนที่ทำงานใกล้ชิดกับสัตว์ป่าเหล่านี้
การทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจะเร่งให้บรรดาสัตว์ต้องเข้าไปยังดินแดนใหม่ๆ ในรายงานกล่าวและเสริมว่า ซึ่งเป็นการกดดันให้สัตว์ป่า อันรวมไปถึงค้างคาวและสัตว์ปีกต้องเข้าไปในพื้นที่สิ่งแวดล้อมเมืองในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
ทางแก้ปัญหาในราคาที่สูงลิบ
“ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจขนาดของสิ่งที่เราต้องดำเนินการ” ฮานนาห์กล่าวและเสริมว่า “นี่ไม่ใช่แค่การพยายามอย่างเต็มที่เท่านั้น แต่รวมไปถึงการลงมือไปในระดับที่เราไม่เคยทำมาก่อนอีกด้วย”
ในรายงานมีเป้าประสงค์ถึงการให้คณะที่ปรึกษานานาชาติเพื่อดูแลการป้องกันโรคระบาด กองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการลงทุนในเรื่องของการลงทุนและการศึกษา ด้วยสถาบันแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขาหวังว่าจะช่วยลดอุตสาหกรรม (ที่ส่งเสริมการทำลายพื้นที่ป่า) เช่นการผลิตน้ำมันปาล์ม การค้าไม้ และการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์
และคณะที่ปรึกษานี้จะช่วยในเรื่องของการกำหนดจุดแพร่กระจายของไวรัสรวมไปถึงการบริการทางสุขภาพที่เข้มแข็งให้กับบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
โดยการดำเนินกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโลกต้องใช้งบประมาณระหว่าง 40 – 58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (124 – 180 ล้านล้านบาท) ในทุกปี ซึ่งเป็นการประมาณการโดยผู้เขียนรายงาน อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการประมาณมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปเนื่องจากโรคระบาด ซึ่งมีมูลค่านับล้านล้านดาลลาร์สหรัฐ งานศึกษาก่อนหน้าซึ่งเผยแพร่เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเผยว่า โควิด-19 ส่งผลให้สหรัฐฯ สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจไปแล้วถึง 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (52 ล้านล้านบาท)
ขณะนี้มี 30 กว่าประเทศที่ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนโครงการ Campaign for Nature เป้าหมายระดับโลกที่จะปกป้องพื้นที่บกและทะเลกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2030 แต่ผู้อำนวยการโครงการอย่าง ไบอัน โอ’ดอนเนลล์ กล่าวว่ายังมีอีกหลายขั้นตอนที่จะต้องทำเพื่อให้คำมั่นในโครงการนี้เป็นจริง (โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก)
“เราต้องให้ทุกประเทศยอมรับข้อตกลงนี้” เอ็นริค ซาลา นักสำรวจประจำของเนชั่นเนล จีโอกราฟฟิก กล่าวเพื่อสนับสนุนเป้าหมายอันทะเยอทะยานนี้ และกล่าวเสริมว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีความเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์หลงเหลืออยู่บนโลก ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเป็นวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เพื่อบรรเทาปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน”