แม่น้ำ ขนาดใหญ่ที่มีความคดโค้งเป็นส่วนสนับสนุนระบบนิเวศที่ควรปล่อยให้เกิดการถูกกีดขวางอย่างธรรมชาติไปตามการเคลื่อนที่และการเปลี่ยนแปลงของพลังงานมวลสารวิถีการใช้น้ำของสัตว์ป่าและภูมิทัศน์แวดล้อม
ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมามนุษย์ได้เข้าควบคุมพลังงานมหาศาลของสายน้ำไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนแหล่งกักเก็บน้ำและสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบันทั่วโลกหลงเหลือแม่น้ำที่ไหลอย่างอิสระและมีความยาวเกินกว่าพันกิโลเมตร (621 miles) เพียงร้อยละ 37 เท่านั้น
สิ่งกีดขวางความต่อเนื่องของสายน้ำอาจส่งผลกระทบมากน้อยต่างกันไปตลอดเส้นแม่น้ำแต่ละสายแต่การทำความเข้าใจผลกระทบต่าง ๆ ที่ตามมานั้นเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นคืนระบบนิเวศภูมิทัศน์ตลอดทางแม่น้ำไหลผ่านพื้นที่ธรรมชาติหรือแหล่งชุมชนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการแตกแยกหรือขวางทางน้ำ
นี่คือ 6 แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก ที่มีลักษณะการไหลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่ไหลต่อเนื่องอย่างมีพลวัต ไปจนถึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเขื่อนและอิทธิพลของมนุษย์
เครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือมีลักษณะคดเคี้ยวไปมารอบข้างแม่น้ำเป็นที่ราบที่เกิดจากแม่น้ำพัดเอาดินตะกอนมาทับถมเป็นบริเวณกว้างจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ
แม่น้ำแห่งนี้ถูกใช้เพื่อการขนส่งทางอุตสาหกรรมเป็นหลักโดยบรรทุกสินค้าเกษตรและเหล็กกล้าจากปลายด้านหนึ่งของประเทศไปยังอีกด้านหนึ่งส่งเสริมการเติบโตของเมืองและชุมชนจำนวนนับไม่ถ้วน
แม่น้ำมิสซิสซิปปีเปรียบเหมือนเส้นหลอดเลือดแดงทางการค้ามีการก่อสร้างโครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่มากมายที่ควบคุมการไหลของแม่น้ำมานานกว่า 300 ปี เพื่อจำกัดปริมาณน้ำ
นอกจากนี้ยังมีการขุดลอกกำจัดตะกอนหรือวัสดุอื่นๆจากก้นแม่น้ำเพื่อให้สามารถเดินเรือได้มากขึ้นตรงไหนเคยเป็นโค้งน้ำไหลเอื่อยก็ถูกตัดตรงที่ราบน้ำท่วมถึงในอดีตถูกตัดขาดจากกันด้วยคันดินและทำนบ
มลพิษเป็นอีกปัญหาหนึ่งของระบบแม่น้ำแห่งนี้อุตสาหกรรมทั่วไปก่อให้เกิดขยะจำนวนมากที่ไม่มีทางออกอื่นนอกจากลงสู่แม่น้ำยาฆ่าแมลงและปุ๋ยจะถูกชะล้างออกไปในแม่น้ำส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแม้จะมีกฎระเบียบของรัฐบาลควบคุมมลพิษเหล่านี้แต่มลพิษยังคงหาทางลงสู่น่านน้ำ
แม่น้ำแอมะซอนถือเป็นแม่น้ำไหลอย่างอิสระที่ยาวที่สุดในโลกอีกทั้งยังลำเลียงปล่อยน้ำออกสู่มหาสมุทรสูงที่สุดคิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการไหลของน้ำทั้งโลก
นอกจากนี้แม่น้ำแอมะซอนยังมีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก น้ำที่หมุนเวียนอยู่ในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนคิดเป็นร้อยละ 16 ของน้ำจืดทั่วโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา
การไหลของมันช่วยพัดพาตะกอนดินและแร่ธาตุไปเติมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำดินดอนปากแม่น้ำและระบบนิเวศชายฝั่งอีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลกสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตร้อยละ 25 ของโลกถูกพบในป่าแห่งนี้
พื้นที่ป่าฝนเขตร้อนตลอดแนวแม่น้ำแอมะซอนยังมีบทบาทสำคัญต่อชั้นบรรยากาศโลกเพราะเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนประมาณร้อยละ 20ที่หมุนเวียนอยู่ทั่วโลก
ข้อมูลของโครงการ Monitoring of the Andean Amazon Project ปี 2018 พบว่าการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำเหมืองทองคำ ทำลายป่าแอมะซอนในเปรูไปมหาศาล สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของป่าฝนเขตร้อน
เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกและเป็นแม่น้ำที่ได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำมากที่สุดในบรรดาแม่น้ำขนาดใหญ่ทั้งหลายเนื่องมาจากการชลประทานและการดึงน้ำส่วนใหญ่ออกไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของมนุษย์
แม่น้ำไนล์เป็นทั้งอู่อารยธรรมและเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงทวีปแอฟริกาที่แห้งแล้งจนทำให้เกิดอารยธรรมโบราณขึ้นมากมายโดยที่รู้จักกันดีคืออารยธรรมอียิปต์เมื่อสมัยมากกว่ากว่าห้าพันปีที่แล้ว
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังคืบคลานสู่แม่น้ำไนล์นับตั้งแต่งานก่อสร้างเขื่อนแกรนด์เอธิโอเปียนเรเนส์–ซองซ์ ที่ชาวเอธิโอเปียภาคภูมิใจมาก เพราะเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา
ปัญหาคือเขื่อนนี้ตั้งอยู่ในแม่น้ำบลูไนล์ (Blue Nile) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสาขาของแม่น้ำไนล์ ทำให้เพื่อนบ้านไม่พอใจอย่างมาก เพราะกลัวว่าปริมาณน้ำที่ใต้เขื่อนจะไม่พอใช้
เอธิโอเปียขัดแย้งกับเพื่อนบ้านใต้เขื่อนอย่างซูดานและอียิปต์มาตลอดนับตั้งแต่เริ่มโครงการทั้ง 3 ประเทศพยายามเจรจาหาจุดร่วมแต่ไม่ค่อยจะได้ผล โดยเฉพาะอียิปต์คิดจะใช้วิธีการรุนแรงเพื่อทำลายโครงการนี้มาแล้ว เนื่องจากอียิปต์ต้องพึ่งพาน้ำจืดจากแม่น้ำไนล์ร้อยละ 90
เช่นเดียวกับกรณีการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านหลายประเทศทำให้การขวางกั้นการไหลของน้ำในเขื่อน 1 เขื่อน สร้างผลกระทบไปยังหลายประเทศใต้เขื่อน
แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกากลางและมีความยาวเป็นอันดับ 2 ของทวีปแอฟริกา (เป็นรองแม่น้ำไนล์) อีกทั้งยังเป็นแม่น้ำที่มีความลึกที่สุดในโลก ในจุดที่ลึกสุดถึง 220 เมตร
แม่น้ำคองโกร้อยรัด 9 ประเทศในทวีปแอฟริกาเข้าด้วยกันตลอดเส้นทางการไหลราว 4,700 กิโลเมตร สู่มหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากจะมีลุ่มน้ำขนาดใหญ่แล้ว แม่น้ำคองโกเป็นแม่น้ำสายหลักสายเดียวในโลกที่ไหลผ่านเส้นศูนย์สูตรสองครั้ง ทำให้การไหลของน้ำมีเสถียรภาพมาก เพราะจะมีลุ่มน้ำไม่ฝั่งใดก็ฝั่งหนึ่งที่อยู่ในฤดูฝน
เพราะความห่างไกลเข้าถึงลำบากและปัญหาความขัดแย้งในการกีดกันการพัฒนารวมถึงไม่มีหน่วยงานบริหารจัดการอย่างจริงจังทำให้รอบแม่น้ำแห่งนี้ยังคงพื้นมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า
ส่งผลให้คุณค่าของแม่น้ำในฐานะแหล่งทรัพยากรลดลงมากไปด้วยหากคำนึงถึงศักยภาพมหาศาลด้านการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและการเกษตรบนพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างใหญ่ถึง 3,900,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งทวีปแอฟริกาจะเป็นหนี้บุญคุณแม่น้ำคองโก
รัฐบาลพยายามทำทุกวิถีทางให้มั่นใจว่าทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าที่สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลใดๆทั้งสิ้นสิ่งนี้อาจเป็นผลดีที่แม่น้ำคองโกยังไหลได้อย่างอิสระและไม่ค่อยถูกกีดขวางแต่ก็ส่งผลให้แม่น้ำขาดการดูแลอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมทำไม้และการบุกรุกป่าทำการเกษตรจากประเด็นผลประโยชน์การเมืองเป็นปัจจัยหลักซึ่งทำลายพันธุกรรมพืชและสัตว์ป่าอันหลากหลายลงอย่างน่าตกใจนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เป็นต้นมาถิ่นนี้ถูกจัดอันดับว่ามีอัตราการสูญเสียป่าสูงสุดของโลก
แม่น้ำสายยาวที่สุดอันดับ 2 ของจีน ซึ่งไหลเวียนโดยไม่แห้งเหือดเป็นเวลาติดต่อกัน 20 ปีแล้ว
The Yellow River หรือแม่น้ำเหลืองเป็นชื่อที่ได้มาจากลักษณะสีเหลืองอมน้ำตาล ซึ่งเกิดจากคราบตะกอนกรวดสีเหลืองที่ทิ้งไว้หลังจากการเกิดน้ำท่วม แม่น้ำฮวงโหมีความสำคัญมากต่อการเกษตรภายใต้ภูมิอากาศแบบแห้งแล้งในพื้นที่
ในแต่ละปีสายน้ำฮวงโหตอนกลางพัดพาโคลนเลนและทรายลงสู่สายน้ำตอนปลายก่อให้เกิดอุทกภัยหลายครั้งซึ่งแต่ละครั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมากมายมหาศาล
จึงได้รับฉายาว่าแม่น้ำวิปโยคแต่ในขณะเดียวกันตะกอนก็มาพร้อมกับความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกที่เกิดขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ำ
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหเป็นแหล่งที่ดินดีและอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุสำคัญต่อพืชจึงเหมาะแก่การเพาะปลูกกอปรกับสภาพอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นเหมาะแก่การตั้งบ้านสร้างเมืองถิ่นนี้จึงเป็นแหล่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางประเพณีวัฒนธรรม
แม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชียและเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจุดเริ่มต้นจากที่ราบสูงทิเบต โดยแม่น้ำแยงซีไหลแผ่สาขาผ่านเมืองต่างๆ ที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจาย อีกทั้งยังเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของเสือดาวหิมะและแพนด้ายักษ์
การจราจรที่คับแน่นบนผิวน้ำของแม่น้ำแยงซีทำให้เกิดการขุดลอกพื้นทรายใต้ทะเลสาบเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงปีหลังๆโครงการขุดลอกพื้นทรายเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อประชากรสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้
เขื่อนสามผาถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยชะลอความแรงของแม่น้ำส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศจีนเป็นอย่างมากพร้อมทั้งยังจำหน่ายไฟฟ้าโดยถูกสร้างขึ้นทับเมืองต่างๆ (รวมถึงโบราณสถานหลายแห่ง)
การสร้างเขื่อนขนาดมโหฬารนี้ส่งผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในชุมชนขนาดใหญ่และอาจทำให้อุทกภัยบนที่สูงร้ายแรงกว่าเดิมปัญหาสำคัญอีกประการคือน้ำหนักของน้ำปริมาณมหาศาลที่กักเก็บไว้เหนือเขื่อนกำลังกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำทำให้เกิดปัญหาดินถล่ม
หลายสิบปีที่ผ่านมาการพัฒนาเขตเมืองและการขนส่งในแยงซีเกียงได้ทำลายแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตในน้ำไปอย่างมากการใช้ปุ๋ยในการเกษตรและสารเคมียาฆ่าศัตรูพืชสร้างมลพิษในแม่น้ำอย่างเลวร้ายโดยหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบอย่างมากก็คือโลมาหัวบาตรที่ถูกจัดเข้ากลุ่มสัตว์ที่เสี่ยงอันตรายสูญพันธุ์เนื่องจากมลพิษ
ล่าสุดรัฐบาลกลางแห่งจีนแถลงบังคับใช้คำสั่งห้ามการประมงในแยงซีระยะเวลา 10 ปีชุดสมบูรณ์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในไทย ผ่านฟีเจอร์ Timelapse โดย Google Earth