ในบางช่วงเวลาเมื่อ 45,000 ปีที่แล้ว บนเกาะซูลาเวซีของอินโดนีเซีย มนุษย์ยุคโบราณได้ฝ่าฝันเข้าไปในถ้ำและร่างภาพหมูที่อยู่ในท้องถิ่นรูปร่างอ้วนท้วนที่ปกคลุมไปด้วยขนแข็งและหน้าที่เต็มไปด้วยตุ่มบน ผนังถ้ำ ขณะนี้ นักโบราณคดีเชื่อว่าเจ้าหมูอ้วนตัวนี้เป็นภาพวาดสัตว์อันเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาบนโลก
ในงานวิจัยที่เผยแพร่ในนิตยสาร Science Advances เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ภาพวาดนี้แสดงให้เห็นถึงสัตว์สองตัวที่กำลังมองกันแบบค่อนข้างชวนทะเลาะ และมีองค์ประกอบของมือมนุษย์ทั้งสองข้างที่วางใกล้กับสะโพกของหมู และภาพร่องรอยขนแข็งที่อยู่ตรงกลางอาจหมายถึงสัตว์ตัวที่สี่
ภาพวาดที่วาดด้วยดิน ocher (ดินชนิดหนึ่งที่มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล) ภายในผนังถ้ำนี้ถูกค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม 2017 โดยนักโบราณคดีท้องถิ่น Basran Burhan ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ประเทศออสเตรเลีย เขานำทีมวิจัยเล็กๆ ไปค้นหาถ้ำภายในเกาะซูลาเวซีใต้เพื่อหาร่องรอยของกิจกรรมมนุษย์โบราณ พวกเขาค้นพบภาพวาดหมูในพื้นที่ที่เรียกว่า Leang Tedongnge ภาพวาดนี้คาดว่า แสดงออกถึงรางวัลจากการล่าหมูของมนุษย์ยุคโบราณ
ในขณะที่ภาพเขียนที่ค้นพบใหม่นี้อาจจะเป็นงานศิลปะในลักษณะที่เป็นภาพวาดที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบว่า ทว่า มันไม่จำเป็นต้องเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดเสมอไป “มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้คำนิยามของคำว่า ‘งานศิลปะ’ อย่างไรครับ” Maxime Aubert นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยกริฟฟิธและผู้เขียนงานวิจัยร่วม กล่าว
โดยนิยามงานศิลปะนี้อาจรวมถึงงานสร้างสรรค์อันโดดเด่นของมนุษย์ยุคโบราณบางชิ้นที่ได้ยืนยันการค้นพบ ซึ่งรวมไปถึงลายเส้นขยุกขยิก (doodle) อายุ 73,000 ปีที่ค้นพบในแอฟริกาใต้ ที่บางคนเชื่อว่าเป็นงานภาพวาดที่เก่าแก่ที่สุด
ภาพวาดที่ค้นพบใหม่นี้ได้เสริมในเรื่องของวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของงานศิลปะผนังถ้ำที่ถูกค้นพบทั่วอินโดนีเซีย แค่บนเกาะซูลาเวซีเพียงแห่งเดียว นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุภาพวาดในถ้ำกว่า 300 แห่งในรอบ 70 ปี สิ่งนี้รวมถึงการค้นพบภาพวาดผนังถ้ำที่แสดงรูปร่าง (figurative cave paintings) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดอันต่อมา อันเป็นภาพเขียนเล็กๆ ที่มีอายุกว่า 44,000 ปี แสดงถึงการล่าสัตว์ยุคโบราณอันน่าตื่นเต้นของมนุษย์โบราณที่สูง 5-10 เซนติเมตรกำลังไล่ล่าหมูและสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับควายน้ำ
เพื่อที่จะตัดสินว่าภาพวาดหมูนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อไหร่ ทีมนักวิจัยนานาชาติได้ใช้วิธีการหาอายุจากยูเรเนียมกัมมันตรังสี (Radioactive Uranium) ซึ่งมักก่อตัวในหินปูนโดยธรรมชาติ โดยนักวิจัยสิ่วอันเล็กๆ สกัดก้อนแร่จากรูปภาพเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบในแบบเทคนิคการหาอายุด้วยยูเรเนียม-ทอเรียม (Uranium-thorium age dating) และผลที่ออกมาบ่งชี้ว่าตัวภาพวาดนี้มีอายุอย่างน้อย 45,500 ปี ซึ่งมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกันว่าภาพวาดอาจจะมีอายุมากกว่านี้ เพราะวิธีนี้ระบุอายุจากแร่ธาตุที่อยู่บนตัวงานศิลปะ ไม่ใช่บนตัวงานเอง
โดยปราศจากการระบุอายุโดยใช้องค์ประกอบอื่นๆ ผู้เขียนยังไม่ได้ยืนยันว่าภาพวาดผนังถ้ำทั้งหมดสร้างขึ้นภายในครั้งเดียว และค้นพบรูปหมูส่วนหนึ่งใช้สีที่ต่างกันออกไป ในขณะที่ผู้เขียนอีกส่วนหนึ่งระบุว่าอาจจะมาจากการวาดในเวลาที่ต่างกัน
“ผมคิดว่ามันน่าเหลือเชื่อมาก ผมคิดว่าพวกเขารู้จัดเจนถึงวิธีการวาดภาพ วิธีการจัดการองค์ประกอบภาพด้วย” Adhi Agus Oktaviana นักวิจัยแห่งสถาบัน Pusat Penelitian Arkeologi Nasional และนักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ กล่าว
ในช่วงแรก งานศิลปะนี้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในวิถีที่บรรพบุรุษของเราเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์โดยรอบ April Nowell นักโบราณคดียุคหินแห่งมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ผู้ที่ไม่ได้มีส่วนในการวิจัย กล่าวและเสริมว่า “(ภาพ) เต็มไปด้วยสถานที่ที่มีความหมาย สัญลักษณ์ซึ่งอาจถือเป็นมิติเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Dimension)”
งานศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Science Advances นี้ได้บันทึกอายุของภาพวาดหมูซึ่งอยู่ในถ้ำในบริเวณเดียวกันที่ชื่อ Leang Balangajia 1 ซึ่งค้นพบโดยทีมที่ออกเดินทางในปี 2018 และระบุว่ามีอายุอย่างน้อย 32,000 ปี และมีการยืนยันระบุช่วงเวลาที่มีกิจกรรมของมนุษย์ยุคโบราณบนเกาะซูลาเวซีจากการพบเครื่องมือของสีที่ใช้วาดภาพในพื้นที่ใกล้กับ Lwang Bulu Bettue ซึ่งฝังในตะกอนชั้นดินซึ่งมีอายุราว 40,000 ปี
เมื่อไม่นานมานี้ นักวิชาการหลายคนเชื่อว่างานภาพวาดผนังถ้ำที่มีความละเอียดซับซ้อนมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ยุโรป เห็นได้จากภาพโรงเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ในถ้ำ Chauvet-Pont-d’Arc ของฝรั่งเศสซึ่งมีอายุ 36,000 ปี หรือภาพฝูงของควายไบซันกำลังเต้นบนเพดานถ้ำของถ้ำอัลตามีราในทางตอนเหนือของสเปนในช่วงเวลาเดียวกัน รวมไปถึงภาพมือของมนุษย์ที่อยู่ในถ้ำ El Castillo ของสเปนซึ่งมีอายุกว่า 40,800 ปี
แต่ในปี 2014 ทีมวิจัยที่รวมทั้ง Aubert และ Brumm ได้พลิกความคิดนั้น เมื่อพวกเขาได้ประกาศการค้นพบภาพวาดผนังถ้ำบนเกาะซูลาเวซีซึ่งมีอายุอย่างน้อย 39,900 ปีมาแล้ว ต่อมาได้มีการสันนิษฐานว่างานศิลปะดังกล่าวมีอายุไม่เกิน 12,000 ปี
“การค้นพบได้กัดกร่อนแนวความคิดที่ว่ายุโรปเป็นจุดฟูมฟักวิวัฒนาการของมนุษย์” Nowell กล่าว ในขณะที่การค้นพบภาพวาดผนังถ้ำอันใหม่ที่เก่าแก่กว่าอันที่ได้มีการบันทึกมาก่อนหน้านี้ได้เพิ่มการศึกษาเจาะลึกถึงวัฒนธรรมศิลปะในภูมิภาคนี้
“หลายคนพูดว่ามันเป็นเพียงแค่ภาพหมูภาพหนึ่ง” Nowell กล่าวและเสริมว่า “แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น มันช่วยให้เราพูดได้ถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมอันยั่งยืนของมนุษย์ในภาพที่กว้างขึ้น”
การเพิ่มขึ้นของการค้นพบต่างๆ ในอินโดนีเซียได้แนะถึงความเป็นไปได้ว่า งานศิลปะในรูปแบบที่ซับซ้อนซึ่งมีการพัฒนาอย่างอิสระทั้งในพื้นที่ยุโรปและเอเชีย Aubert กล่าว หรือไม่ มนุษย์ได้มีความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะเช่นนี้เมื่อพวกเขาได้ออกมาจากทวีปแอฟริกา “และเรากำลังเริ่มหาร่องรอยในทุกพื้นที่ที่พวกเขาไป” เขากล่าวเสริม
และถึงแม้ว่าจะมีการค้นพบใหม่นี้แล้ว ก็เป็นไปได้ว่าจะมีการค้นพบที่หักล้างแนวคิดที่ได้จากการค้นพบครั้งนี้ต่อไปอีก “มันไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่ามนุษย์ที่เริ่มอาศัยบนเกาะซูลาเวซีจะเริ่มต้นวาดภาพโดยทันทีเมื่อ 45,000 ปีก่อน” Aubert กล่าวและเสริมว่า เป็นไปได้ว่าอาจจะมีภาพวาดที่เก่าแก่กว่าอยู่ที่นั่นอีก
แต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่ชัด ที่ Bruman กล่าวไว้ นั่นคือ น่าจะมีการค้นพบที่ชวนประหลาดใจเกิดขึ้นอีกแน่ “ภาพวาดนี้แค่แสดงให้เห็นว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ยังรอการค้นพบบนเกาะอยู่นี้อยู่ครับ”