แยก ห้องน้ำครู นักเรียน เทียบได้ไหม? ย้อนเหตุ “แยกห้องน้ำ” ยุค “เหยียดผิว”

ประวัติศาสตร์ของการแยกห้องน้ำ ไม่ใช่แค่เพียงการแยก ห้องน้ำครู และนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการ ‘แบ่งแยก’ ที่ยังคงถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อต้นสัปดาห์ มีกระแสข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าสิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือให้มีการปรับปรุงเรื่องของห้องน้ำ จึงได้จัดสรรงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำนักเรียน และจะไม่แบ่งแยก ห้องน้ำครู หรือห้องน้ำนักเรียนแล้ว จากนี้ทุกอย่างต้องเท่าเทียม เด็กและครูสามารถใช้ห้องน้ำร่วมกันได้

.
โซเชียลมีเดียในประเทศไทยจึงมีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า ‘ครูและนักเรียน’ ต้อง “แยกห้องน้ำ” หรือสามารถ “ใช้ร่วมกันได้”

.
ซึ่งเราเองไม่มีคำตอบที่ถูกต้องว่าควรทำอย่างไร แต่ประวัติศาสตร์ “การแบ่งแยก” ที่ยาวนานหลายร้อยปีในสหรัฐอเมริกา อาจทำให้เรานึกถึงอะไรบางอย่างได้

.
เรื่องราวเหล่านี้ยังคงมีแทรกอยู๋ไปทั่วตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และหลายครั้ง ผู้คนก็ไม่ได้คาดคิดว่าการแบ่งแยกนั้นสร้างผลกระทบไปอย่างกว้างขวางในสังคม จนบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บเกิดขึ้น โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ในการแบ่งแยกสิ่งอำนวยความสะดวกหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งรวมถึง “ห้องน้ำ” ระหว่าง “คนขาว” และ “คนดำ (หรือคนผิวสี)”

ผิวขาวมาทางนี้ ผิวดำไปทางโน้น

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะอย่าง ห้องน้ำและน้ำพุ ถูกแยกออกไปตามเชื้อชาติ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1890 ไม่นานหลังจากการตัดสินของศาลฎีกาสหรัฐฯ ก็ทำให้เกิดกฎกมายที่ชื่อว่า ‘จิม โครว์’ (Jim Crow Laws) ขึ้นมา ทำให้ “คนผิวสี” และ “คนผิวขาว” ถูกแยกจากกันในแทบทุกส่วนของการดำเนินชีวิต

.
กฎหมายนี้มีคำนิยามว่า ‘แยกจากกันแต่เท่าเทียมกัน’ มีการวิจารณ์ในปัจจุบันระบุว่ากฎหมายของจิม โครว์ นั้นเป็นตัวแทนของระบบการแบ่งแยกเชื้อชาติที่เป็นทางการในขณะนั้น ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหลายสิบปี

.
มันส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเกือบทุกด้าน โดยกำหนดให้โรงเรียน สวนสาธารณะ ห้องสมุด น้ำพุ ห้องน้ำ รถประจำทาง รถไฟ และแม้แต่ร้านอาหารก็มีการแบ่งแยกโดยขึ้นป้ายว่า ‘เฉพาะคนผิวขาว’ สามารถนั่งตรงนี้ได้ และ ‘คนผิวดำ’ ให้นั่งได้ฉพาะตรงโน้น

.
ตามทฤษฏีกฎหมายของจิม โครว์ แล้วพวกเขาแค่ต้องการที่จะแยกให้ได้อย่างเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริง สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนผิวสีมักจะมีคุณภาพที่ด้อยกว่าสิ่งของสำหรับคนผิวขาวตลอดทุกครั้ง ชาวแอฟริกัน-อเมริกาไม่สามารถใช้ทุกสิ่งที่คนผิวขาวใข้

.
ไม่เพียงเท่านั้นระบบจิม โครว์ ยังได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นที่ทำการคล้ายกับ ‘ศาลเตี้ย’ พวกเขาลงโทษและขับไล่คนผิวสีที่พยายามจะใช้ชีวิตตามปกติ แม้การเหยียดเชื้อชาติจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายของรัฐบาลกลาง แต่ในรัฐบาลท้องถิ่นที่ใช้ระบบจิม โครว์ มักไม่ค่อยมีใครสนใจ และบางอย่างก็หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

.
“ครั้งหนึ่งผมเคยถูกบอกให้ออกจากน้ำพุนั้นในตอน 6 ขวบ เพราะว่ากำลังดื่มน้ำจาก ‘น้ำพุสีขาว’” ดอนนี วัตต์ (Donnie Watts) ชายวัย 68 ปีจากเมืองเอลลิสวิลล์ รัฐมิสซิสซิปปี้ ในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อปี 2020 ว่าควรถอด ‘น้ำพุแยกสีผิว’ ออกจากที่สาธารณะหรือไม่

.
“คุณลองจินตนาการดูว่าเด็กในวัยนั้นจะรู้สึกอย่างไร เมื่อพวกเขาถูกบอกว่าไม่สามารถดื่มน้ำจากน้ำพุนั้นได้ และพวกเขาต้องดื่มจากน้ำพุอีกแห่งหนึ่งที่เขียนว่า ‘ผิวสี’” เขาเสริม

ระลอกคลื่นของความเปลี่ยนแปลง

ในวันที่ 14 กรกฏาคมปี 1944 ไอรีน มอร์แกน (Irene Morgan) ได้ขึ้นรถประจำทางจากเมืองกลอสเตอร์ รัฐเวอร์จิเนีย ไปยังบัลติมอร์ และในขณะที่กำลังเดินทางผ่านเมืองซาลูดา เธอก็ได้รับแจ้งว่าฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งได้แบ่งที่นั่งระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำ แต่เธอปฏิเสธที่จะย้ายจึงถูกไล่ลงจากรถ

.
มอร์แกน ได้ฟ้องร้องต่อศาลของรัฐว่าคนอื่นไม่มีสิทธิที่จะไล่เธอออกจากรถประจำทาง ซึ่งในตอนนั้นทางศาลได้ปฏิเสธข้อโต้แย้งของเธอ แต่ในปี 1946 ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินว่า ศาลรัฐเวอร์จิเนีย ไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดให้มีการแบ่งแยกนอกเหนือขอบเขตของตน การตัดสินดังกล่าวจึงทำให้ ‘ระบบจิม โครว์’ เป็นเรื่องผิดกฎหมายในด้านการเดินทางด้วยรถบัสระหว่างรัฐ

.
อย่างไรก็ตาม คนผิวดำจำนวนมากยังคงถูกไล่ออกจากรถ หรือถูกจับกุมเมื่อพวกเขานั่งรถประจำทางแบบไม่แบ่งแยก จนทำให้เกิดการประท้วงในปี 1961 โดยมีอาสาสมัครหลายร้อยคนจากทั่วประเทศ เดินทางไปใต้ในกลุ่มที่ชื่อว่า ‘Freedom Riders’ ซึ่งเป็นการนั่งรถประจำทางจากวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังนิวออร์ลินส์

.
พวกเขาพบการต่อต้านเพียงเล็กน้อยในรัฐเวอร์จิเนีย แต่อย่างไรก็ตามในรัฐอัลบามาก็มีความรุนแรงมากขึ้นในการเผชิญหน้า ซึ่งรถบัสถูกจุดไฟเผาทั้งคัน

.
“การเดินทางในภาคใต้ที่มีการแยกคนผิวดำออกนั้นเป็นเรื่องที่น่าละอายใจ” ไดแอน แนช (Diane Nash) หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม ‘Freedon Riders’ กล่าว “ความจริงที่ว่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถูกแยกออกจากกันนั้น มันคือการบอกกับคนผิวสีและคนผิวขาวว่า คนผิวดำนั้นต่ำกว่ามนุษย์ และด้อยกว่ามากจนเราไม่สามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะที่คนผิวขาวใช้ด้วยซ้ำ”

.
การประท้วงยังคงรุนแรงขึ้นในเวลาต่อไป เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนปี 1964 บาทหลวง ‘ที.วาย. โรเจอร์’ (T.Y. Rogers) ได้เดินขบวนกับผู้คนผิวสีจำนวนมากเพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยในการแบ่งแยกน้ำพุสาธารณะออกจากกันในเมืองทัสคาลูซา รัฐอัลบามา พวกเขาวางแผนที่จะเกิดนไปยังสำนักงานศาลของเมือง

.
แต่เมื่อเดินไปได้ไม่เพียงกี่ก้าว ผู้เข้าร่วมก็ถูกทุบตี จับกุม และโดนแก๊สน้ำตาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปราบ เหตุการณ์ครั้งนั้นรู้จักกันในชื่อ ‘Bloody Tuesday’ หรือ ‘วันอังคารนองเลือด’ โดยมีชายและหญิง กับเด็กผิวสีกว่า 33 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอีกกว่า 94 คนถูกจับกุมในข้อหาชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

.
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่อีกครั้งในวันที่ 7 มีนาคมปี 1965 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ‘Bloody Sunday’ หรือ ‘วันอาทิตย์นองเลือด’ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 600 คนเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมของสิทธิ์ในการเลือกตั้ง

.
ครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนหน้าคือมีช่าวภาพข่าว และกล้องโทรทรรศน์คอยจับภาพผู้ชุมนุมขณะที่ตำรวจใช้ความรุนแรง ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในระดับชาติขึ้นมา จนนำไปสู่กฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิพลเมือง เพื่อห้ามไม่ให้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติในภาคธุรกิจที่จำหน่ายอาหาร ที่พัก น้ำมัน หรือความบันเทิงสาธารณะ

.
แม้ทุกวันนี้จะไม่มีการแบ่งแยกระหว่าง ‘ผิวขาว’ และ ‘ผิวสี’ อีกต่อไปแล้ว แต่ทว่าร่องรอยของสิ่งนั้นยังคงอยู่ในปัจจุบัน เช่นน้ำพุในการพิจารณาคดีเมื่อปี 2020 ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงประชามตีตัดสินใจเก็บ ‘การแบ่งแยก’ นั้นไว้

.
“ผมสามารถมองเห็นแผ่นโลหะเหล่านั้นได้โดยนึกคำพูดออกว่าพวกเขาจะพูดอะไร” วัตต์ กล่าว ซึ่งความทรงจำนั้นยังคงชัดเจน “ถ้าพวกเขาคลั่งไคล้ที่จะเก็บน้ำพุเหล่านั้นไว้ ทำไมไม่เอาคราบบนแผ่นโลหะออก เพื่อทุกคนจะได้มองเห็นคำว่า ‘ผิวสี’ และ ‘ผิวขาว’”

.
การถกเถียงเรื่องความเท่าเทียมยังคงอยู่ในทุกด้านของสังคมปัจจุบัน ซึ่งทุกคนต่างมีเหตุผลของตนเอง แต่เราหวังว่าท้ายที่สุดแล้วเราจะหาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับของทุกคนได้

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

Photograph by Jack Delano via wikipedia

ที่มา
https://theconversation.com/separate-water-fountains-for-black-people-still-stand-in-the-south-thinly-veiled-monuments-to-the-long-strange-dehumanizing-history-of-segregation-222106
https://www.pbs.org/wgbh/americanexperience/features/freedom-riders-jim-crow-laws/
https://virginiahistory.org/learn/civil-rights-movement-virginia/equal-access-public-accommodations
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/gwao.12545
https://www.cambridge.org/core/journals/modern-american-history/article/abs/trouble-with-bathrooms/CD707D181B80EF8C3ADC3B3732E21AEA
https://www.theguardian.com/us-news/video/2022/aug/15/the-racist-history-of-toilets-in-america
https://progressive.org/op-eds/long-ugly-history-bathroom-segregation/
https://www.pennlive.com/news/2016/05/bathrooms_culture_wars_front_l.html


อ่านต่อที่ การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา – ตราบาปไม่ลืมเลือนของชาวสหรัฐฯ

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.