ปอยต้นธี เสาศักดิ์สิทธิ์ วิถีแห่งความเชื่อ

ปอยต้นธี เสาศักดิ์สิทธิ์ วิถีแห่งความเชื่อ

เสาศักดิ์สิทธิ์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ต้นธี” มีความเชื่อเกี่ยวกับต้นหว้าที่เปรียบเสมือนความอุดมสมบูรณ์และความผูกพันธ์กับป่า หนึ่งปีจะมีการปลูกต้นศักดิ์สิทธิ์ิ์ เพื่อนำไปประกอบพิธีขอฝน และทำนายดวงชะตาของหมูบ้านในรอบปี ด้วยการคาดคะเนจากลักษณะของกระดูกขาไก่

ปอยต้นธีเป็นงานบุญปีใหม่ที่มีญาติพี่น้องมิตรสหายจากต่างถิ่นที่มาเยี่ยมเยียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ความผูกพันธ์ต่อธรรมชาติ และของสองชนเผ่าที่มีต่อกันมายาวนานของชาวกะเหรี่ยงคอยาวและกะเหรี่ยงแดง

เรื่องและภาพ จิตรภณ ไข่คำ

รางวัลชมเชย จากโครงการประกวดสารคดีภาพ “10 ภาพเล่าเรื่อง” ปี 2013 โดยนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย

คณะสำรวจหาไม้ตองตึงแห่กันพร้อมบรรเลงเครื่องดนตรี ขึ้นไปอันเชิญไม้ศักดิ์สิทธ์ เพื่อนำไม้มาประกอบพิธีกรรมบวงสรวงตามความเชื่อของชนเผ่า (เดิมทีเป็นต้นหว้า เพราะปัจจุบันหายาก)
กลุ่มสตรีนำน้ำส้มป่อยที่เตรียมมาพรมต้นธีตั้งแต่ยอดจรดปลายต้นธี พร้อมกับกลุ่มสุภาพบุรุษที่ทำความสะอาดลานพิธีและประดับตกแต่งยอดปราสาทซึ่งจะเป็นที่สถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
กลุ่มศิลปินชาวบ้านห้วยเสือเฒ่าซักซ้อมบทเพลงและท่าเต้นรำเพื่อการประกวดการแสดงของกลุ่มแม่บ้าน เด็กและเยาวชน ที่ได้รับเชิญจากเจ้าภาพหมู่บ้านในสอย
ภายใต้แสงเทียนหญิงสาว เด็กและเยาวชน เตรียมพร้อมเพื่องานแสดงรวมทั้งมีการละเล่นเต้นรำรอบต้นธีของหมู่บ้านต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมงานต้นธีในยามค่ำคืน
ชาวบ้านล้มวัวเลี้ยงของตนเพื่อขายเนื้อส่วนต่างๆ ให้แก่คนในหมู่บ้านได้เตรียมอาหารไว้รองรับแขกญาติพี่น้องในวันงาน
ชายหนุ่มตัวแทนจากหมู่บ้านต่างๆ เต้นรำรอบต้นธีเพื่อเป็นการขอฝน เรียกดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ให้ลงมาสถิตอยู่ที่ยอดปราสาทของต้นธีเพื่อปกป้องคุ้มครอง
หมอดูผู้เชี่ยวชาญพยากรณ์ดวงการทำมาหากิน สุขภาพ รายได้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ในรอบปีให้ทราบ โดยเสี่ยงทายจากลักษณะของกระดูกขาไก่สองท่อนที่เสียบด้วยก้านไม้ไผ่จากไก่ที่ชาวบ้านนำมาบูชายัญ
หญิงวัยชราชาวกะเหรี่ยงคอยาว เป็นผู้ยืนยันว่าประเพณีปอยธีนี้ได้สืบเนื่องมาแต่สมัยผู้เฒ่าผู้แก่
สายน้ำปาย ที่หมู่บ้านห้วยปูแกง เด็กชาวกะเหรี่ยงแดงและกะเหรี่ยงคอยาวเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน
ดีหม่า หญิงสาวชาวกะเหรี่ยงแดง ยืนคู่กับเพื่อนสาวกะเหรี่ยงคอยาวที่มาจากจังหวัดเชียงรายสวมใส่เสื้อผ้าแฟชั่นทันสมัย

อ่านเพิ่มเติม ก่อนหมดสิ้น… สับขาลาย

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.