ในช่วงเวลาของเธอ แชเพลล์คือหนึ่งในนักข่าวหญิงที่กล้าหาญที่สุด และแน่นอนว่ามีประสบการณ์สูงที่สุด ใน สงครามเวียดนาม เธอเดินทางไปกับเหล่าทหารเวียดนามและสหรัฐฯ ในที่ซึ่งนักข่าวคนอื่นๆ ไม่กล้าไปเหยียบกรายและยืนยันว่าจะรายงานถึงเรื่องที่เธอเห็นได้กับตาตนเองเท่านั้น
กระนั้น เป็นสมรภูมิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้เป็นความขัดแย้งครั้งสุดท้ายที่นักข่าวสาวเพียงผู้เดียวผู้เดียวที่ได้รับอนุญาตให้กระโดดร่มลงในการยุทธกับเหล่าทหารเพื่อไปรายงานข่าว จากการเธอถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่ลำคอจากกับดักลวดสะดุดของฝ่ายเวียดนามเหนือ และใด้จบชีวิตลงในเฮลิคอปเตอร์อพยพ ทำให้เธอเป็นเหยี่ยวข่าวหญิงชาวสหรัฐฯ คนแรกที่เสียชีวิตในหน้าที่ หลายปีต่อมา นักข่าวคนอื่นรายงานว่าเหล่าพลร่มเวียดนามใต้ยังคงย้อนความถึงหญิงสาวปากกล้าร่างเล็กที่ได้กระโดดร่มกับพวกเขา
สตรีผู้มีชื่อเดิมว่าจอร์เจ็ตต์ เมเออร์ ขายบทความแรกชื่อว่า “เหตุที่เราอยากบิน (Why We Want to Fly)” ให้กับนิตยสาร U.S. Air Service เมื่ออายุได้ 14 ปี และได้เข้าเรียนในเอ็มไอที (MIT) พร้อมกับนักศึกษาหญิงคนอื่นอีกหกคนเมื่อเธออายุ 16 ปี อีกหกปีถัดมา เธอได้แต่งงานกับโทนี แชเพลล์ ช่างภาพของกองทัพเรือผู้มีอายุ 40 ปี และเป็นผู้ที่กลายเป็นคู่หูรายงานข่าวของเธอในเวลาไม่นาน
“จงแน่ใจว่าคุณจะได้เป็นผู้หญิงคนแรกในที่ไหนสักแห่ง” บรรณาธิการผู้หนึ่งในนิวยอร์กให้คำแนะนำต่อเธอเมื่อครั้งเธอเพิ่งเริ่มอาชีพผู้รายงานข่าว
เเชเพลล์ทำสิ่งนี้สำเร็จในปี 1942 เมื่อเธอได้เป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรกซึ่งทางกองทัพให้การรับรองในฐานะนักข่าว และการรับรองที่เธอสูญเสียมันไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเดินทางติดตามเหล่านาวิกโยธินขึ้นบนเกาะโอกินาวา ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามนักข่าวหญิงเข้าพื้นที่สู้รบ
ชีวิตแห่งสงคราม
ครั้งหนึ่ง แชเพลล์เคยเขียนว่าเรื่องราวที่เธอรายงานครั้งแล้วครั้งเล่าคือเรื่องราวของ “เหล่าผู้คนที่กล้าหาญพอที่จะเสี่ยงชีวิตเพื่อปกป้องเสรีภาพจากทรราชย์” และเป็นมุมมองจากแนวหน้านี้เองที่ทำให้เธอเป็นตำนาน เมื่อคราที่ยังมีสตรีเพียงน้อยนิดอยู่ในห้องส่งข่าว และน้อยนิดยิ่งกว่าที่อยู่ในสนามรบ
แต่เพศของแชเพลล์ไม่ได้ทำให้เธอมีสิทธิพิเศษในฐานะนักข่าวแต่อย่างใด “ไม่มีสักครั้งที่ท่านนายพลจะใช้รูปร่างขาวสวยของฉันมาแลกกับปฏิบัติการลับ และถ้านี่ฟังดูเหมือนฉันกำลังบ่น ฉันก็คิดว่ามันมีส่วนถูกค่ะ” “เธอเขียนถึงผู้ตีพิมพ์ขณะที่เธอกำลังเขียนอัตชีวประวัติซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ปัญหาที่ฉันถามหา The Trouble I’ve Asked For)” และออกวางจำหน่ายในนาม “ผู้หญิงมาทำอะไรที่นี่? (What’s a Woman Doing Here?)” ซึ่งมาจากคำพูดที่เธอได้ยินอยู่เป็นนิจในสนามรบ
เมื่อเดือนพฤษภาคม 1962 แชเพลล์ฉลองการทำงานครบรอบ 20 ปีในฐานะผู้สื่อข่าวสงครามด้วยการเดินทางร่วมไปกับหน่วยเฮลิคอปเตอร์ซึ่งกำลังดำเนินสงครามบนน่านฟ้าของเวียดนาม และในปีเดียวกันนั้น เธอเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลจอร์จโพล์ก (George Polk Memorial Award) ซึ่งเป็นรางวัลขั้นสูงสุดสำหรับความกล้าหาญจากสมาคมสื่อโพ้นทะเลแห่งสหรัฐฯ (Overseas Press Club of America) ในงานแถลงข่าว เธอกล่าวว่า เธอผ่านการปะทะมามากกว่าชาวอเมริกันคนใดๆ ในความขัดแย้งครั้งนี้โดยการเข้าร่วมปฏิบัติการรบมาทั้งหมดกว่า 17 ครั้ง และเสริมว่า “ความสำคัญของภาพที่เธอถ่ายในเวียดนามตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงว่าพวกมันถูกถ่ายในที่ซึ่งไม่มีผู้ใดไป—นั่นคือที่ที่สายโทรเลขและถนนหนทางไปไม่ถึง
เมื่อวันที่ 4 พฤษจิกายน 1965 ใกล้กับเมือง Chu Lai แชเพลล์กำลังรายงานข่าวของวันที่สองของปฏิบัติการแบล็กเฟอร์เรต (Operation Black Ferret) ซึ่งเป็นปฏิบัติการค้นหาและทำลายของนาวิกโยธิน เมื่อเกือบแปดโมงเช้า เธอได้เดินผ่านค่ายพักและไปร่วมแถวกับหน่วยลาดตระเวน แต่เพียงอึดใจต่อมาหน่วยดังกล่าวได้สะดุดกับดักระเบิดของฝ่ายเหนือ ยังผลให้เธอต้องจบชีวิตลง
ครั้งหนึ่ง แชเพลล์กล่าวกับผู้สัมภาษณ์ว่า “ไม่ต้องถามเลย” ว่าสงครามไม่ใช่ที่ของผู้หญิง และกล่าวต่อว่า “มันมีอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ไม่ควรอยู่ในสงคราม นั่นคือผู้ชาย แต่ตราบใดที่ผู้ชายยังคงสู้รบ ฉันคิดว่าทั้งชายและหญิงจะต้องถูกส่งเพื่อไปเฝ้าดูค่ะ”
ภาพ DICKEY CHAPELLE
แปล ภาวิต วงษ์นิมมาน / เรียบเรียง เกียรติศักดิ์ หมื่นเอ