พายุ (Storm) ขนาดใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นทั้งบนภาคพื้นทวีปและในมหาสมุทร เมื่อพัฒนาจนกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งมีชีวิต บนพื้นผิวโลก นักพยากรณ์อากาศจะจัด ความรุนแรงของพายุ ตามมาตรวัดของสำนักงานหรือกรมอุตุนิยมวิทยาในแต่ละภูมิภาคที่พายุเหล่านั้นก่อตัวขึ้น
ในเบื้องต้น พายุหมุนเขตร้อนจะถูกจัดประเภทตามหลักเกณฑ์พื้นฐาน คือ
แต่เมื่อพายุหมุนเขตร้อนพัฒนาจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ไซโคลน หรือ เฮอร์ริเคน จะมีการจัดระดับความรุนแรงภายในขึ้นอีกครั้ง โดยพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า “ไต้ฝุ่น” จะถูกจัดระดับความรุนแรงตามเกณฑ์ของคณะกรรมการไต้ฝุ่นและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ESCAP/WMO) รวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยาของแต่ละประเทศในภูมิภาคดังกล่าว
ระดับความรุนแรง |
ความเร็วลมสูงสุด (กิโลเมตร/ชั่วโมง) |
||
ญี่ปุ่น |
จีนและฮ่องกง |
ทวีปแอฟริกา |
|
ไต้ฝุ่น/ไซโคลน |
119 – 156 |
ประมาณ 150 |
118 – 165 |
ไต้ฝุ่น/ไซโคลนกำลังแรง |
157 – 193 |
151 – 190 |
166 – 212 |
ไต้ฝุ่น/ไซโคลนกำลังแรงมาก หรือซูเปอร์ไต้ฝุ่น/ไซโคลน |
มากกว่า หรือเท่ากับ 194 |
มากกว่าหรือเท่ากับ 191 |
มากกว่าหรือเท่ากับ 213 |
เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับ หรือที่เรียกกันว่า “ไซโคลน” จะถูกจัดระดับความรุนแรงในเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยเกณฑ์การวัดความรุนแรงของทั้งไต้ฝุ่นและไซโคลน มีพื้นฐานจากการอ้างอิงความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณของพายุ ซึ่งพัดต่อเนื่องใน 10 นาที ที่ความสูง 10 เมตร เช่นเดียวกัน
ส่วนพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในซีกโลกเหนือแทบมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า “เฮอร์ริเคน” จะถูกจัดระดับความรุนแรงด้วย “มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ – ซิมป์สัน” (Saffir – Simpson Hurricane Wind Scale) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 โดย เฮอร์เบิร์ต แซฟเฟอร์ (Herbert Saffir) และโรเบิร์ต ซิมป์สัน (Robert Simpson) ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์ – ซิมป์สันทำการจัดระดับความรุนแรง โดยการอ้างอิงความเร็วลมสูงสุดโดยประมาณของพายุ ซึ่งพัดต่อเนื่องใน 1 นาที ที่ความสูง 10 เมตร
มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ระดับ |
ความเร็วลมสูงสุด (กิโลเมตร/ชั่วโมง) |
1 |
119 – 153 |
2 |
154 – 177 |
3 |
178 – 208 |
4 |
209 – 251 |
5 |
มากกว่าหรือเท่ากับ 252 |
นอกจากพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแล้ว พายุทอร์นาโด (Tornado) ที่มักก่อตัวบนพื้นดินฝั่งทวีปอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติกล้วนได้รับการจัดระดับความรุนแรงเช่นเดียวกัน พายุทอร์นาโดจะถูกวัดด้วยมาตรวัดฟูจิตะ (Fujita Scale) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย ทัตสึยะ ทีโอดอร์ ฟูจิตะ (Tetsuya Theodore Fujita) และอัลเลน เพียร์สัน (Allen Pearson) หัวหน้าศูนย์ทำนายพายุแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Storm Prediction Center: SPC) ตั้งแต่ปี 1971
พายุทอร์นาโดถูกจำแนกความรุนแรงไว้ 6 ระดับ คือ F0 ถึง F5 เป็นการกำหนดช่วงความเร็วลมโดยประมาณ ผ่านการคำนวณจากสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นบนภาคพื้นดินหลังพายุสงบลง ซึ่งในช่วงเวลานั้น การวัดความเร็วลมสูงสุดของพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นจริงมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ส่งผลให้เกิดการศึกษาและพัฒนามาตราวัดฟูจิตะแบบดั้งเดิมจนกลายเป็น “มาตรวัดฟูจิตะฉบับปรับปรุง” (Enhanced Fujita Scale)
โดยมีการกำหนดช่วงความเร็วลมสูงสุดขึ้นใหม่ เนื่องจากระดับความเร็วลมที่กำหนดไว้ในมาตราวัดดั้งเดิมนั้นสูงเกินไป ทำให้มีโอกาสพบพายุทอร์นาโดในประเภท F3 (ความเร็วลมตั้งแต่ 254-332 กิโลเมตร/ชั่วโมง) หรือสูงกว่าน้อยมาก มาตราวัดฟูจิตะฉบับปรับปรุงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
มาตรวัดฟูจิตะฉบับปรับปรุง (Enhanced Fujita Scale)
ระดับ |
ความเร็วลมสูงสุด (กิโลเมตร/ชั่วโมง) |
EF0 |
105 – 137 |
EF1 |
138 – 177 |
EF2 |
178 – 217 |
EF3 |
218 – 266 |
EF4 |
267 – 322 |
EF5 |
มากกว่า 322 |
เกร็ดความรู้ : พายุจะได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ต่อเมื่อมีความเร็วลมสูงสุดมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง
สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.nhc.noaa.gov/aboutsshws.php
https://www.spc.noaa.gov/faq/tornado/ef-scale.html
https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=95
https://www.hydromet.gov.bz/tropical-weather/saffir-simpson-scale