ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System: PNS) คือส่วนของระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) ทำหน้าที่รับและส่งกระแสประสาทหรือข้อมูลที่ได้รับจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่สมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการควบคุมและประมวลผล และนำคำสั่งหรือผลของสิ่งเร้าที่ได้จากการประมวลผลส่งต่อไปปฏิบัติยังหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ รวมถึงเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างถูกต้อง เช่น ความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกร้อนและเย็น การรับรู้แรงกดทับที่ผิวหนัง และการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบประสาทส่วนปลาย
เส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve) 12 คู่ – ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาทสู่สมองและนำคำสั่งการจากสมองส่งต่อไปยังหน่วยปฏิบัติการ
เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerve) 31 คู่ – ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาทสู่ไขสันหลังและนำคำสั่งการจากไขสันหลังส่งต่อไปยังหน่วยปฏิบัติการ เช่น กล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ
เซลล์ประสาท (Neuron) นอกระบบประสาทส่วนกลาง – ทำหน้าที่รับข้อมูลจากร่างกายและนำส่งไปยังสมองและไขสันหลัง
การทำงานของระบบประสาทส่วนปลายจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
นอกจากนี้ ระบบประสาทอัตโนวัติยังทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองกิริยาฉับพลัน หรือ “ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์” (Reflex Action) เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกเข้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัส เช่น ข้อศอก หรือหัวเข่า กระแสประสาทจากกล้ามเนื้อดังกล่าวถูกส่งตรงไปยังไขสันหลัง ก่อนที่ไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อโดยตรง โดยไม่ผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณรับสัมผัสเกิดการหดตัว หรือหลบหลีกจากสิ่งกระตุ้นทันที
ระบบประสาทอัตโนวัติ ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย ได้แก่
สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ
ข้อมูลอ้างอิง
อาจารย์รภัทร เอกนิธิเศรษฐ์ – http://www.elfit.ssru.ac.th/rapat_ek/pluginfile.php/63/mod_page/content/66/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0% B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดล – https://il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch1/chapter1/part_4.htm
โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย – http://www.kruseksan.com/book/keyhuman1.pdf
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ระบบประสาทส่วนกลาง