ปัจจุบันสิทธิในการเลือกจบชีวิตตนเอง หรือจบชีวิตของผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคร้ายสามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมายในหลายประเทศ ทั้ง สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ (บางประเทศได้ทั้งสองแบบ ส่วนบางประเทศได้แค่สำหรับผู้ป่วยทุกข์ทรมานเพียงแบบเดียว)
อันที่จริงในออสเตรเลียก็สามารถทำได้ โดยในรัฐวิคตอเรียเป็นรัฐแรกของประเทศที่เพิ่งอนุญาต เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่เข้ารับบริการต้องเกิดในรัฐดังกล่าว
สำหรับในสหรัฐอเมริกามีเพียง 6 รัฐเท่านั้นได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย, โคโลราโด, ฮาวาย, โอเรกอน, เวอร์มอนต์และวอชิงตัน รัฐเหล่านี้มีกฏหมายรองรับสำหรับการจากไปแก่บรรดาผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาน
ในเอเชียปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถทำได้ โดยมีเงื่อนไขสำหรับผู้ป่วย คือ
หากเจาะลึกที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลก ที่อนุญาตให้ประชาชนและชาวต่างชาติเลือกจบชีวิตตัวเองได้อย่างถูกกฎหมาย มีเงื่อนไขที่ว่าความตายนั้นต้องเป็นความปรารถนาของผู้ต้องการจบชีวิตเอง ไม่ใช่การตัดสินใจภายใต้อิทธิพลของผู้อื่น
ปัจจุบันมีองค์กรที่ให้บริการความตายตามปรารถนาอยู่สามแห่งได้แก่ Exit (ก่อตั้งปี 1982), Dignitas (ก่อตั้งปี 1998) และ Life Circle (ก่อตั้งปี 2011) ซึ่งทั้งหมดดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์
รายงานจาก Exit เมื่อปี 2017 ระบุว่าในปีเดียวมีผู้คนทั่วไปสมัครเป็นสมาชิกถึง 10,000 คน ยอดรวมทั้งหมดขณะนี้น่าจะราว 110,000 คน ในปีเดียวกันนั้นทาง Exit ได้รับข้อเรียกร้องบริการความตายตามปรารถนาจากสมาชิกจำนวน 3,500 คน แต่มีเพียง 1,031 คนที่ได้รับการอนุมัติจากการประเมินของแพทย์ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าการให้บริการความตายนั้น ๆ ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย
ทั้งนี้หากคุณผู้อ่านต้องการที่จะจบชีวิตตนเองใช่ว่าจะสามารถเดินเข้าไปรับบริการ และนอนรอความตายอย่างสงบได้เลย ตัวอย่างของกระบวนการจาก Dignitas กล่าวว่า กว่าจะดำเนินไปถึงจุดหมายปลายทางนั้นต้องใช้เวลาถึง 3 เดือนด้วยกัน
ซึ่งในขั้นตอนต่าง ๆ มีตั้งแต่การติดต่อเพื่อพูดคุยกับครอบครัวของผู้ตาย สัมภาษณ์ผู้ต้องการรับความตายแบบละเอียด การเก็บข้อมูลทางการแพทย์ซึ่งในที่นี้รวมถึงการสำรวจทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษาหากผู้เข้ารับบริการนั้นๆ กำลังทุกข์ทรมานจากโรคร้าย และสุดท้ายแล้วหากความตายคือทางออกสุดท้ายพวกเขาจะได้รับเอกสารอย่างเป็นทางการจากแพทย์
ในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเข้าสู่กระบวนการเตรียมพร้อมที่จะตาย แพทย์จะให้ผู้เข้ารับบริการดื่มโซเดียมเพนโทบาร์บิทอล ยากล่อมประสาทที่หากใช้ในปริมาณมากจะมีผลทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ จากนั้นแพทย์จะเตรียมเข็มฉีดยาบรรจุน้ำเกลือผสมเข้ากับยา barbiturate ฉีดเข้าไปในหลอดเลือดดำ
ในอีก 20 – 30 วินาทีต่อมาผู้เข้ารับบริการจะหลับไปตลอดกาล กระบวนการเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายราว 240,000 บาท ครอบคลุมตั้งแต่ค่าสมัครสมาชิกไปจนถึงบริการทางการแพทย์ แต่ยังไม่รวมค่าบริการสำหรับงานศพ ซึ่งหากรวมแล้วจะมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดราว 330,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่ามีตัวเลือกให้ตัดทิ้งได้มากมาย เพื่อบริการที่ถูกลงกว่านี้สำหรับผู้ที่อยากตายแต่ไม่มีเงินมากขนาดนั้น
จากสถิติในปี 2017 Exit มีผู้เข้ารับบริการรวม 734 คน ในขณะที่ปี 2016 มีผู้เข้ารับบริการ 723 คน และยังมีผู้ขอรับบริการจากองค์กรแบบนี้ในองค์กรอื่น ๆ อีก แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าในภาพรวมแล้วการเลือกจบชีวิตตนเองด้วยบริการแบบนี้จะคิดเป็นสัดส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตทั้งหมดในแต่ละปีของสวิตเซอร์แลนด์
78.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้รับบริการจาก Dignitas ระบุว่าเหตุผลของพวกเขาคือความทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาได้ อีก 25 เปอร์เซ็นต์ คือโรคอื่น ๆ และ 7 เปอร์เซ็นต์ ระบุมาจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
อย่างไรก็ดีความเจ็บปวดจากโรคไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด แต่ยังรวมถึงการสูญเสียการควบคุมร่างกายของตัวเองไปอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบรรดาผู้สูงอายุ เมื่อร่างกายของพวกเขาทำงานได้ไม่เหมือนเดิม และมีทีท่าว่าจะย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ
ด้านศาสตราจารย์นายแพทย์ Robert Pearlman ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันกล่าวว่า “เหตุผลหลักสำหรับบรรดาผู้ที่ต้องการจบชีวิตตนเองมีตั้งแต่ โรคที่รักษาไม่หาย, ซึมเศร้า, สิ้นหวัง ไปจนถึงความเครียดจากเศรษฐกิจและสังคม เช่นความกังวลจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ หรือการรู้สึกว่าตนเป็นภาระให้แก่สมาชิกครอบครัว เป็นต้น” โดยตัวเขาเป็นผู้เขียนหนังสือ Physician-Assisted Dying: The Case for Palliative Care and Patient Choice
ในการสัมภาษณ์ครอบครัวจำนวน 35 ครอบครัวระหว่างการเก็บข้อมูล Pearlman สรุปแรงจูงในที่ทำให้ใครสักคนต้องการจบชีวิตตนเองได้ดังนี้
คำถามในวันนี้คือ สิทธิความตายที่พึงปรารถนาเอง เป็นสิ่งที่ควรได้รับการยินยอมและยอมรับหรือไม่
ข้อมูลอ้างอิง
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ ดาวินชี : 500 ปี มรณกาลอัจฉริยะก้องโลก