อาณาจักรฟังไจ กลุ่มสิ่งมีชีวิตจำพวก เห็ดรา

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom of Fungi) คือ หนึ่งใน 5 อาณาจักรหลักของสิ่งมีชีวิตบนโลกตามการจัดจำแนกทางอนุกรมวิธานวิทยา (Taxonomy)

สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน อาณาจักรฟังไจ ได้แก่ กลุ่มของรา เห็ด และยีสต์ ซึ่งสามารถเจริญเติบโตอยู่ทั่วทุกหนแห่งบนโลก ไม่ว่าจะดำรงชีวิตอยู่ตามพื้นดิน ในแหล่งน้ำ ร่องลอยอยู่ในอากาศ หรือแม้แต่อาศัยอยู่ตามร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น โดยที่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการย่อยสลายสสารและการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศของโลก

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ 

ฟังไจเป็นทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างยีสต์ (Yeast) และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งมีองค์ประกอบของเส้นใยขนาดเล็กที่เรียกว่า “ไฮฟา” (Hypha) ที่รวมกันเป็นกลุ่มเส้นใยที่เรียกว่า “ขยุ้มรา” (Mycelium) อย่างเช่น รา (Mold) และเห็ดราทั้งหลาย (Mushroom) ซึ่งลักษณะของเส้นใยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

นอกจากนี้ เส้นใยเหล่านี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่พิเศษ เช่น ดูดอาหารจากเซลล์เจ้าบ้าน (Host) ยึดติดและดูดซึมสารอาหารจากสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ภาพการปล่อยสปอร์ของเห็ด

อาณาจักรฟังไจสามารถจำแนกออกเป็น 4 ไฟลัม (Phylum) ดังนี้

1. ไคทริดิโอไมโคตา (Chytridiomycota) คือ กลุ่มของราชั้นต่ำที่มีอายุยาวนานที่สุดหรือที่เรียกว่า “ไคทริดส์” (Chytrids) อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดและตามพื้นดิน เป็นปรสิตทั้งในโพรทิสต์ พืช และสัตว์ รวมถึงเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและมีเส้นใยขนาดเล็ก มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ที่มีแฟลเจลลา (Flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่

2. ไซโกไมโคตา (Zygomycota) คือ กลุ่มราที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีเส้นใยชนิดแบบไม่มีผนังกั้น และบางชนิดอาจมีโครงสร้างที่เรียกว่า “ไรซอยด์” (Rhizoid) ใช้ในการยึดเกาะกับแหล่งอาหาร ราส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หรือบนอินทรียวัตถุที่กำลังย่อยสลาย เช่น ราดำบนขนมปัง ต้องการความชื้นในการดำรงชีวิต จึงเป็นทั้งปรสิตและผู้ย่อยสลาย กลุ่มราในไฟลัมนี้มีทั้งกลุ่มราที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อผลิตกรดฟูมาริก อย่างเช่น Rhizopus nigricans และผลิตแอลกอฮอล์หรือสุราอย่างเช่น Rhizopus oryzae

ราดำที่ขึ้นอยู่บนขนมปัง

3. แอสโคไมโคตา (Ascomycota) คือ กลุ่มราชั้นสูงที่มีลักษณะคล้ายถ้วย (Cup Fungi) จากการสร้างสปอร์ อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำจืด แหล่งน้ำเค็ม และบนบก มีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อย่างเช่น ยีสต์ชนิดต่าง ๆ และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่เป็นกลุ่มเส้นใย เช่น เห็ดโมเรล ทรัฟเฟิล และราแดง เป็นต้น กลุ่มราในไฟลัมนี้ถูกนำมาใช้ในการผลิตข้าวแดงและเต้าหู้ยี้ เป็นกลุ่มราที่สามารถก่อให้เกิดโรคทั้งในคนและสัตว์

เห็ดทรัฟเฟิล

4. เบสิดิโอไมโคตา (Basidiomycota) คือ กลุ่มเห็ดราที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง (Club Fungi) และสีสันหลากหลาย มีเส้นใยผนังกั้นและรวมตัวอัดแน่นเป็นแท่งคล้ายลำต้น เช่น เห็ดโคน เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู และเห็ดหอมที่สามารถนำมารับประทานได้ รวมไปถึงราสนิมและราเขม่าดำ ที่สามารถก่อโรคในคนและพืช ส่วนใหญ่ราในกลุ่มนี้จะดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับพืชในภาวะพึ่งพาอาศัยกัน สามารถดูดซึมสารอาหารจากรากไม้และย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้มนุษย์นำเห็ดราเหล่านี้มาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยา และการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร

เห็ดต่างๆ ที่มนุษย์นำมาบริโภค

สืบค้นและเรียบเรียง 
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ 


ข้อมูลอ้างอิง

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล – http://www.satriwit3.ac.th/files/111006099215982_11111721212004.pdf 
University of California Museum of Paleontology – https://ucmp.berkeley.edu/fungi/fungisy.html#:~:text=Fungi%20are%20usually%20classified%20in,which%20the%20fungus%20reproduces%20sexually.
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ – https://biology.mwit.ac.th/Resource/BiodiverPDF/6_diver_fungi.pdf


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : สารพัดประโยชน์ของเห็ด อาหารซูเปอร์ฟู้ด

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.