เมล็ดพันธุ์หลุมดำ ในยุคแรกเริ่มกำเนิดจักรวาล ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก

เมล็ดพันธุ์หลุมดำ ปริศนาการเกิดหลุมดำมวลยิ่งยวดหลังจากเหตุการณ์บิ๊กแบง ยังเป็นคงเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครให้ความกระจ่างได้ แต่หลังจากการค้นพบ เมล็ดพันธุ์หลุมดำ (Black hole seed) อาจนำไปสู่การไขปริศนาบางอย่างได้

นักดาราศาสตร์อาจค้นพบหลักฐานแรกของ “เมล็ดพันธุ์หลุมดำ” มวลยิ่งยวด ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการกำเนิดเอกภพ

โดยสิ่งที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า เมล็ดพันธุ์ อาจช่วยอธิบายว่า หลุมดำมวลยิ่งยวด ซึ่งมีมวลมากกว่าหลายพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ สามารถขยายขนาดและดำรงอยู่ เป็นเวลากว่าหนึ่งพันล้านปี ผ่านเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในเอกภาพ ได้อย่างไร

นักดาราศาสตร์คาดว่า เมล็ดพันธุ์หลุมดำอาจเป็นหลุมดำที่มีมวลประมาณ 40 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ โดยเชื่อกันว่า หลุมดำลักษณะนี้เกิดจากการยุบตัวของกลุ่มเมฆแก๊ซขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากหลุมดำทั่วไปที่เกิดจากดวงดาวที่สิ้นอายุไขและพลังทลายลงภายใต้แรงโน้มถ่วงของดวงดาวเอง โดยสันนิษฐานว่า หลุมดำลักษณะนี้อยู่ในกาแลกซีที่ห่างออกไปไกลมา เรียกว่า กาแลกซีหลุมดำขนาดใหญ่ผิดผกติ (Outsize Black Hole Galaxies, OBGs)

กาแลกซี OBGs เป็นกาแลกซีที่อยู่ห่างไกลจากเรามาก ที่สังเกตได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ บางกาแลกซีมีอายุมากกว่าพันล้านปี ในขณะที่บางแห่งมีอายุประมาณ 400 ล้านปี และตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์อาจค้นพบหนึ่งในกาแลกซี OBGs

ภาพจำลองหลุมดำมวลยิ่งยวด / ภาพประกอบ NASA

อาโกส บ็อกดาน ผู้นำทีมนักวิจัย ศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ฮาณวาร์ดและสมิทโซเนียน ได้ตรวจพบวัตถุที่มีลักษณะของหลุมดำ ในขณะที่สำรวจควาซาร์ (quasar) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST) และกล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์จันทรา (CXO) ควาซาร์เปรียบเสมือนหัวใจของกาแลกซี ที่ส่องสว่างและมีแรงกระตุ้น ซึ่งเกิดจากพลังของหลุมดำมวลยิ่งยวด ในความเป็นจริงแล้ว ความสว่างของควาซาร์คือการดึงดูดแสงของดาวฤกษ์ทุกดวงที่อยู่ในกาแลกซีนั้น

โดยกาแลกซีที่ทีมของบ็อกดานกำลังสำรวจอยู่มีชื่อว่า UHZ1 และจากผลการสำรวจโดย JWST และ CXO ก็สอดคล้องกับผลที่พวกเขาคาดหวังจะได้พบใน OBGs โดยพวกเขาพบการปลดปล่อยรังสีเอ็กซ์ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการป้อน หรือ “สะสม” ของหลุมดำที่เชื่อมโยงกับเควซาร์ ซึ่งช่วยให้ระบุกาแลกซีโดยรอบว่าเป็น OBGs ได้

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้เปรียบเทียบผลจากการสำรวจ กับแบบจำลองแสดงการขยายขนาดอย่างรวดเร็วของหลุมดำมวลยิ่งยวด โดยทั้งผลการสำรวจจริง และแบบจำลอง แสดงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันคือ เมล็ดพันธุ์หลุมดำนี้สามารถขยายขนาดได้ถึง 10,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ภายในช่วงระยะเวลาหลายร้อยล้านปี

“อ้างอิงจากการเปรียบเทียบสิ่งที่เราสำรวจพบ และผลจากแบบจำลอง เกี่ยวกับคุณสมบัติของ UHZ1 เราขอเสนอว่า UHZ1 อาจเป็นกาแลกซีชนิด OBGs ที่เราสำรวจพบได้เป็นครั้งแรก” ทีมนักวิจัยเขียนในรายงานของพวกเขา และเสริมว่า “ดังนั้น ด้วยลักษณะของ OBGs นี่จึงเป็นหลักฐานของเมล็ดพันธุ์หลุมดำ ที่สามารถเกิดเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดในเวลาอันสั้นได้ จากการยุบตัวของมวลสารในช่วงแรกเริ่มจักรวาล”

ภาพประกอบ NASA / JPL

เมล็ดพันธุ์หลุมดำทำให้หลุมดำขยายขนาดใหญ่ขึ้น

โดยทฤษฎีที่นักดาราศาสตร์กล่าวโดยทั่วไป หลุมดำมวลยิ่งยวดที่สำรวจพบในปัจจุบัน เพิ่มขนาดขึ้นจากการสะสมมวลผ่านระยะเวลามาอย่างยาวนานหลายพันปี โดยอาจเป็นมวลของกลุ่มก๊าซปริมาณมหาศาล หรืออาจเกิดการรวมตัวกันของหลุมดำ 2 แห่ง จนมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา

การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นเรื่องยากที่นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์ จะอธิบายว่า หลุมดำในยุคแรกเริ่มมีมวลมากกว่าพันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ ภายในระยะเวลาไม่ 500 ปี ได้อย่างไร

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ร่วมกันตั้งสมมติฐานว่า หลุมดำมวลยิ่งยวดในยุคแรกได้สะสมมวลได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีต้นกำเนิดจากเมล็ดพันธุ์หลุมดำ หรือหลุมดำที่สะสมมวลเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว โดยหลุมดำที่เป็นเมล็ดพันธุ์เหล่านี้เกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ในยุกแรกของจักรวาล

ในขณะเดียวกันก็อีกหนึ่งสมมติฐาน เสนอว่า หลุมดำมวลยิ่งยวดในยุคแรกเริ่มเกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่มีมวลมากเป็นพิเศษ โดยมีมวลเริ่มต้นอย่างน้อยหนึ่งแสนเท่าของดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของกลุ่มฝุ่นและก๊าซในอวกาศยุคเริ่มต้น

อย่างไรก็ตาม สมมติฐานในอีกแนวทางหนึ่งเชื่อว่า เมล็ดพันธุ์ของหลุมดำยักษ์จะต้องหนักอึ้งเป็นพิเศษ โดยจะต้องมีมวลเริ่มต้นอย่างน้อย 100,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์อยู่เป็นทุนเดิม ซึ่งหลุมดำที่เป็นเมล็ดพันธุ์ชนิดหนักอึ้งเหล่านี้ เกิดจากการยุบตัวโดยตรงของกลุ่มฝุ่นและก๊าซในห้วงอวกาศยุคบรรพกาล (Direct Collapse Black Holes – DCBH)

จากการค้นพบกาแลกซี UHZ1 หากพิจารณาจากสมมติฐานที่กล่าวมา สมมติฐานที่พอจะสอดคล้องสำหรับการเกิดการแลกซีชนิด OBG อาจเป็นแนวคิดเรื่องเมล็ดพันธุ์หลุมดำที่มีมวลมาก ดังนั้น การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นหลักฐานที่ช่วยสนับสนุนสมมติฐานข้อนี้

สืบค้นและเรียบเรียง ณภัทรดนัย

ภาพประกอบ  Gerd Altmann

ข้อมูลอ้างอิง
https://arxiv.org/pdf/2308.02654.pdf
https://www.space.com/astronomers-find-first-evidence-of-heavy-black-hole-seeds-early-universe

อ่านเพิ่มเติม ในท้ายที่สุด หลุมดำ จะกลืนกินจักรวาลทั้งหมดเลยหรือไม่? คำตอบสั้น ๆ คือ ‘ไม่’ – แต่คำตอบยาว ๆ คือ ‘ใช่

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.