ปี 2021 มองความยั่งยืนโลก มองความยั่งยืนไทย พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก

เหลือเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งทศวรรษสำหรับบรรลุเป้าหมาย “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของสหประชาชาติซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องโลกและยุติความยากจนภายในปี 2030 เก้าปีต่อจากนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้โลกเป็นสถานที่แห่งความยั่งยืนมากขึ้น

ในขณะที่ปี 2020 สถานที่ทางธรรมชาติและทรัพยากรหลายแห่งทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ในสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ทั่วโลกต่างให้คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มความพยายามลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน เหล่านี้คือหัวข้อบางส่วนที่เป็นแนวโน้มเรื่องความยั่งยืนในปี 2021


การลดปริมาณคาร์บอน และการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
การบรรลุข้อตกลงเรื่องการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงปารีส จะช่วยลดผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของภาวะโลกร้อน เมื่อปลายปี 2020 ผู้นำของจีนประกาศความมุ่งมั่นเรื่องการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2030 ทางฝั่งสหรัฐอเมริกา หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่ง จะนำสหรัฐฯ กลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสอีกครั้ง และจะผลักดันนโยบายการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อทดแทนพลังงานจากฟอสซิล


ความหลากหลายทางชีวภาพ
การบริโภคทรัพยากรของมนุษย์และการผลิตคาร์บอนยังคงส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จากรายงาน Living Planet ของ WWF พบว่า ประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลา นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 68 ตั้งแต่ปี 1970 ดังนั้น การมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพจะยังคงเป็นประเด็นสำคัญในปี 2021


ทรัพยากรจากมหาสมุทร
เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 พื้นที่การประมง 14 แห่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ Ocean Panel ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่น มุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมดภายใต้เขตอำนาจศาลแห่งชาติอย่างยั่งยืนภายในปี 2025 หากบรรลุข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้มีผลผลิตจากมหาสมุทรเพิ่มขึ้นถึง 6 แห่ง นั่นหมายความว่าจะมีอาหารจากมหาสมุทรเพิ่มขึ้น สร้างพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 40 เท่า และช่วยให้ผู้คนนับล้านหลุดพ้นจากความยากจน

เทคโนโลยี
ศูนย์กลางของสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือเทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีและการสร้างเทคโนโลยีใหม่จะมีความสำคัญในการสร้างโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น เทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่นำไปสู่การผลิตเครื่องมือที่ทันสมัยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสามารถสร้างแบบจำลองเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนานวัตกรรมพลังงานหมุนเวียน การรายงานผลที่แม่นยำ และนำไปสู่การลงทุนที่น่าเชื่อถือ

จากแนวโน้มเรื่องกระแสความยั่งยืนในปี 2021 เห็นได้ว่า ทรัพยากรน้ำเป็นหนึ่งหัวข้อสำคัญที่ประชาคมโลกต่างให้ความสนใจ ตัวเลขจากองค์การสหประชาชาติยืนยันว่าประชากร 1 ใน 5 ของโลกขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค ส่งผลให้มีคนเสียชีวิตจากโรคภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภคถึงปีละ 27 ล้านคน หรือ 1 คนในทุก 8 วินาที

สำหรับประเทศไทย ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาได้เผชิญปัญหาเกี่ยวกับน้ำอย่างต่อเนื่อง เช่น สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรง ปริมาณน้ำสำรองในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ไม่เพียงพอ ปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมโทรม และปนเปื้อนสารพิษอันมีสาเหตุมาจากชุมชนเมือง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งวิกฤตน้ำที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมหาศาล และมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น

ดังนั้น “ปัญหาการจัดการน้ำ” ไม่ใช่ปัญหาของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข ทั้งนี้ การสนับสนุนจากภาคเอกชนยังเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในองค์กรที่เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้อย่างจริงจังคือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรแหล่งน้ำ โดยไทยเบฟได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวคิดหลักในเรื่องของการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า (value chain) โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ และคืนน้ำสะอาดกลับสู่ธรรมชาติ

สำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ไทยเบฟได้ใช้เทคโนโลยีด้านดาวเทียมเข้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้วางแผนการพัฒนาการบริหารจัดการการใช้น้ำของโรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับชุมชนได้อย่างถูกต้อง พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น เพื่อกักเก็บน้ำฝนและเพิ่มน้ำใต้ดินในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้พนักงานร่วมเสนอแนวคิดการประหยัดน้ำผ่านหลัก 3Rs นั่นคือ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) รวมถึงการร่วมพัฒนาระบบน้ำดื่มเพื่อให้เด็กนักเรียนและบุคลากรได้มีโอกาสเข้าถึงน้ำสะอาด จากโครงการ “น้ำดื่มสะอาด เพื่อน้อง” และได้ติดตามคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตรวจคุณภาพน้ำทุกเดือน

จากสถานการณ์ปัจจุบัน เราทุกคนต่างเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นหนึ่งในแนวทางที่เราจะช่วยรักษาทรัพยากรไว้ใช้ในตลอดช่วงชีวิตเราและรุ่นต่อไป

เรื่อง ณภัทรดนัย 

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.sustainability.com/thinking/2021-sustainability-trends-report/

Top 10 Sustainability Trends: Our 2021 Eco Wellness Predictions


https://www.eco-business.com/news/8-trends-that-will-shape-sustainability-in-2021/


เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของโควิด-19 ต่อสิ่งแวดล้อม

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.