สำรวจป่าชายเลนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ออกเดินทางเพื่อเอาชนะเส้นทางใน ป่าชายเลน ซุนดาบันส์ บังกลาเทศ

จากทางเหนือของ ป่าชายเลน ซุนดาบันส์ มีลักษณะคล้ายเขาวงกตที่มีสีของเนื้อดินละเอียดสวยงาม ท้องฟ้าใสของอ่าวเบงกอลกำลังคืบคลานเข้าไปในน่านน้ำมืดสลัวของแม่น้ำที่ไหลสลับไปมาเรียงรายไปด้วยใบไม้สีเขียวมรกต

“การล่องไปตามแม่น้ำสักสองสามวันก็เปรียบเสมือนการหนีไปในโลกที่แตกต่าง” ซาบีน โรเออร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ท่องเที่ยว ชิลลี่ ไรเซน กล่าว

พื้นที่กว้างใหญ่อันเขียวชอุ่มในอินเดียและบังกลาเทศนั้นเต็มไปด้วยความเชื่อปรัมปรา ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวบ้านได้สักการะเทพนารีบอนบิบิ หรือ “อิสตรีแห่งป่า” จากเรื่องราวหนึ่งเล่าว่า บอนบิบิ เป็นลูกสาวของ ซุลฟี ฟาร์เคีย นำพาเธอมาจากซาอุดิอาระเบียสู่ป่าแห่งเอเชียใต้ เธอได้รับการคัดเลือกจากพระเจ้าให้ต่อสู้กับสัตว์ประหลาด ด็องคิง ไร เป็นเสือที่จ้องจะทำร้ายชาวบ้าน เธอเลือกที่จะไม่ฆ่า ด็องคิง ไร แต่บอนบิบิ กลับต่อรองกลับไปว่า ด็องคิง ไร ไม่สามารถทำร้ายใครที่บูชาเธอได้

ทุกวันนี้ชาวบ้านบางคนยังคงสวดอ้อนวอน ขอให้เทพนารี บอนบิบิ คุ้มครองก่อนเข้าไปในป่า

เสือเบงกอลถือเป็นสัญลักษณ์ประจำบังกลาเทศ จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้มีเสือเบงกอลหลงเหลืออยู่ประมาณ 106 ตัว

ซ้ำยังมีเสือเบงกอล – ชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของป่าชายเลน – ป่าแห่งนี้มีสัตว์ป่าหลากหลายรวมถึงสายพันธุ์หายาก เช่น งูเหลือมอินเดียและโลมาอิรวดี เนื่องจากสัตว์ป่าและระบบนิเวศที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของซุนดาบันส์ ทางองค์การยูเนสโกจึงประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 2530

อย่างไรก็ตามที่อยู่อาศัยของสัตว์ยังคงอยู่ภายใต้การคุกคามทางธรรมชาติ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกำลังกลืนกินพื้นที่ในป่าและความเค็มของน้ำที่เพิ่มขึ้นยังเป็นอันตรายต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในทะเล – สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อสัตว์ใหญ่ในระยะยาว ภายใต้ความเครียดจากการสูญเสียที่ดิน ผู้คนยังรุกล้ำที่อยู่อาศัยของสัตว์ โดยการตัดต้นไม้ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำเกษตรซ้ำยังบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ การสำรวจสำมะโนประชากรปี 2004 มีราวๆ 440 คน จำนวนเสือใน ซุนดาบันส์ และจำนวนประชากรลดลงเรื่อยๆ จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ ในบังกลาเทศ คาดว่ามีเสือหลงเหลืออยู่ประมาณ 106 ตัว

นักอนุรักษ์รวมไปถึงรัฐบาลกำลังดำเนินการ เพื่อการอนุรักษ์ซุนดาบันส์และสัตว์ป่า “เราต้องทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้เพื่อช่วยประชากรที่เหลืออยู่และช่วยให้ผู้คนและเสืออยู่ร่วมกันได้” ราคีบู อามิน ผู้อำนวยการของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของบังกลาเทศ กล่าวว่า “เสือเบงกอลถือเป็นสัญลักษณ์ประจำบังกลาเทศ”

วิธีเดินทาง

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าชมป่าชายเลนได้จากทั้งฝั่งบังกลาเทศและอินเดีย การเยี่ยมชมจากฝั่งบังกลาเทศนั้นยากกว่าแต่คุ้มค่า นักท่องเที่ยวจำนวนมากบินไปยังเจสโซเร และขึ้นรถบัสสายการบินหนึ่งไปยังคูลนา เมืองที่เจริญรุ่งเรือง ซึ่งตั้งอยู่เหนือประตูทางเข้าซุนดาบันส์ มีบริการรถไฟและรถบัสวิ่งไปมาตลอดทั้งคืนจากธากาไปยัง คูลนา โดยในอินเดียทัวร์จะออกเดินทางจากโกลกาตา

ป่าชายเลนซุนดาบันส์ สามารถเข้าชมได้จากทั้งฝั่งบังกลาเทศอินเดีย

วิธีเข้าชม

“การเดินทางข้ามคืนเป็นการเปิดโอกาสให้สัมผัสกับการเส้นทางและเพลิดเพลินไปกับความสงบของซุนดาบันส์” ดิดารุล อับซาห์ ผู้ก่อตั้ง บังกลาเทศ อีโค ทัวร์ กล่าว

ซุนดาบันส์ มีทั้งเดินทางแบบหลายวันและเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ โดยเริ่มเดินทางจากโกลกาตา การเดินทางจากเมืองคูลนา มีตัวเลือกน้อยแต่จำนวนผู้ใช้บริการมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทัวร์ที่รวมบริการทุกอย่างส่วนใหญ่ทัวร์จะพาแขกล่องเรือ เดินป่า และเริ่มทัวร์ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่เพื่อชมสัตว์ป่า นักท่องเที่ยวยังสามารถเยี่ยมชมทัวร์บางส่วน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบังกลาเทศพร้อมบริการขนส่งจาก ธากา

การเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ มีบริการจากเมืองโกลกาตาอินเดีย และเมืองมงลาบังกลาเทศ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้เมืองคูลนา ที่นี่เป็นแหล่งยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวบังกลาเทศ ในท้องถิ่น อับซาห์ เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญในซุนดาบันส์ เพื่อปกป้องระบบนิเวศอันเปราะบางและสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวควรเลือกใช้บริการจาก บริษัท ทัวร์ที่จ้างคนในท้องถิ่น พวกเขาควรเคารพสิทธิของสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม: อย่าทิ้งขยะ และจงระวังมลภาวะทางเสียงรวมถึงห้ามรบกวนสัตว์

ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางไปคือในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศเย็น ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิจะร้อนขึ้น คนท้องถิ่นบางคนชอบไปเที่ยวระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคม ช่วงเกิดมรสุมฝนป่าผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำนวนมากจะปิดทัวร์ในฤดูกาลนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงจากน้ำท่วมและพายุไซโคลน

***แปลและเรียบเรียงโดย ปุณยวีร์ เฉลียววงศ์เจริญ
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย 


อ่านเพิ่มเติม: หมีขาว กับช่างภาพ และช็อตเด็ดที่เกือบหลุดมือไป

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.