อีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั่วโลกที่บริการ สนามบิน จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ท่าอากาศยานนานาชาติทั้งหลายจึงขยายตัวเพื่อรองรับความท้าทายด้วยเทอร์มินัลใหม่เอี่ยม ที่ออกแบบใหม่เพื่อให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 สิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง สวนสาธารณะ สวนหย่อม โรงภาพยนต์ สปา กระทั่งลานสเก็ตน้ำแข็ง และสระว่ายน้ำบนหลังคา ถูกสร้างเพื่อกระตุ้นจุดแวะพักเหล่านั้นให้มีชีวิตชีวา
“สนามบินในอุดมคติดั้งเดิมคือสถานที่ที่จุดรับส่งอยู่ติดกับถนนลาดยางมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เคอทิส เฟนเทรส สถาปนิกรุ่นเดอะผู้ออกแบบสนามบินมาแล้ว 25 แห่งกล่าว “แต่สนามบินรุ่นใหม่เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นดังประตูสู่เมืองหรือประเทศ สนามบินเป็นโอกาสแห่งการแสดงออก”
สถาปนิกมักได้รับแรงบันดาลใจจากภูมิประเทศในท้องถิ่น สนามบินเดนเวอร์ของที่บริษัทของเฟนเทรสออกแบบแสดงถึงฉากหลังที่เป็นภูเขาของเมือง เช่นเดียวกับที่ลอนแองเจลิส ชายฝั่งทะเลสร้างแรงบันดาลใจให้สถาปนิกออกแบบหลังคาที่ทำให้จินตนาการถึงเกลียวโค้งของคลื่น
ออกแบบจากทรงพลับพลาดั้งเดิม ผสานกับรูปทรงหางนกยูง นกประจำชาติของอินเดีย ทำให้ดูงามสง่าและช่วยอำพรางความโกลาหลวุ่นวายของสนามบินที่มีเที่ยวบินขึ้นลงทุกวันกว่า 800 เที่ยวแห่งนี้ แสงไฟจากหลอดแอลอีดีและจากช่องหลังคาเปิดรับแสงซึ่งติดตั้งอย่างชาญฉลาดช่วยลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 23
(ผลการจัดอันดับสนามบินประปี 2018)
สำหรับสนามบินอินชอนที่โซล เฟนเทรสใช้เวลาหลายสัปดาห์ถ่ายภาพสถานที่ทางประวัติศาตร์ วัฒนธรรม และตลาดของเมือง เพื่อศึกษาแบบแผนและโครงสร้างดั้งเดิม เขาออกแบบสนามบินอินชอนให้มีลอนหลังคาสมัยใหม่ตามสไตล์วัดเกาหลี สวนแบบเกาหลีกับหินแกรนิตและโลหะท้องถิ่นถูกใช้ในพื้นที่ว่าง ส่วนพื้นสนามบินทำจากไม้ท้องถิ่น เพราะต้องการเชื่อมโยงอาคารให้เข้ากับสถานที่ให้มากที่สุด สนามบินอินชอนได้คะแนนสูงสุดจากนักเดินทางด้วยการบริการที่ดีเลิศและความหลายหลายทางวัฒนธรรม
นอกจากนี้ เฟนเทรสยังเห็นว่าศิลปะของสนามบินไม่ได้หมายถึงแต่ตัวอาคาร แต่อาหารและดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามบิน เมื่อสายการบินต้นทุนต่ำเฟื่องฟูและการบริการในเครื่องบินถูกจำกัดลง ร้านอาหารในสนามบินจึงต้องนำเสนออาหารรสเลิศ ไวน์ และอื่นๆ เพื่อสะท้อนถึงความเป็นย่านถิ่นของเมือง
สนามบินแต่ละแห่งอาจใช้พลังงานมากเท่ากับเมืองที่คนอยู่เป็นแสน เพื่อทำให้พื้นที่ที่ทั้งกว้างทั้งซับซ้อนคึกคักตลอดเวลา การออกแบบในปัจจุบันจึงต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานด้วยเสมอ โดยเฉพาะการรับแสงธรรมชาติให้มากที่สุดและใช้พื้นที่กันชนว่างๆ รอบสนามบินเป็นแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
เพราะรันเวย์ที่ 3 ที่กำลังจะเปิดใหม่จะทำให้ฮีตโทรว์กลายเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนมากที่สุดในในประเทศ ด้วยเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอีกราว 250,000 เที่ยวบิน “ฮีตโทรว์ 2.0” จึงมุ่งลดผลกระทบดังกล่าวด้วยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนหนึ่ง เปลี่ยนพาหนะของสนามบินให้ใช้พลังงานสะอาด และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อทดแทนคาร์บอนที่ปล่อยออกไป
สร้างเพื่อรองรับโอลิมปิกปี 2008 เทอร์มินัล 3 ของสนามบินแห่งนี้ได้ชื่อว่าพลุกพล่านเป็นอันดับสองของโลก ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนแบบพระราชวังกับสีแดงเหลืองตามประเพณีนิยม และประหยัดพลังงานด้วยหลังคาเปิดรับแสงที่ออกแบบให้มีขนาดและมุมที่ติดตั้งช่วยสร้างความอบอุ่นในตึกในฤดูหนาวและลดการทำความเย็นในฤดูร้อน
สถาปนิก ริชาร์ด โรเจอร์ เลือกไม้ไผ่ตกแต่งภายในสนามบินเพื่อความอบอุ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เส้นโค้งที่อ่อนโยนจึงครอบคลุมทั้งเทอร์มินัลอันกว้างใหญ่ขนาด 2 แสนตารางเมตร
เป็นสนามบินที่วุ่นวายที่สุดในอินเดียและเติบโตเร็วที่สุดรองจากจีน มือขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมาจากผนังที่ประดับด้วยจานทองแดงนับร้อยใบแสดงท่านาฏกรรมโบราณและโยคะของอินเดีย อาคารหันไปทางทิศเหนือเพื่อลดการรับแสงอาทิตย์และมีบ่อเก็บกักน้ำฝน 300 แห่ง
โดฮากลายเป็นฮับการบินของโลกเมื่อสายการบินกาตาร์เติบโตขึ้น 6 เท่าเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา คาดว่าผู้โดยสารจำนวนมากจะเดินทางมาที่นี่เพื่อชมบอลโลกในปี 2022 เพราะต้องรับมือกับทะเลทรายรอบๆ ผนังของเทอร์มินัลจึงถูกเคลือบด้วยวัสดุสะท้อนแสงอาทิตย์และใช้กระจกพิเศษเพื่อควบคุมแสงจ้าและความร้อน
ผู้โดยสารสามารถชมวิวภูเขาโอลิมปิกผ่านม่านกระจกยาวกว่า 100 เมตร พอๆ กับที่เห็น “เดอะแลนดิง” หนึ่งในงานศิลปะจัดวางอันโด่งดังของ “ซี-ทาค” ได้สบาย พื้นที่รอบสนามบินยังใช้เลี้ยงผึ้งตามโครงการอนุรักษ์ในท้องถิ่นด้วย
คนทั่วไปรู้จักสิงคโปร์ดีในแง่นวัตกรรมที่ช่วยถักทอพื้นที่สีเขียวทั่วเมืองเข้าด้วยกัน สนามบินชางงีมีต้นไม้และพืชราว 5 แสนต้นในรูปของ “น้ำตกพฤกษา” ริมผนังและสวนใหญ่น้อย 1 หมื่นแห่ง รวมทั้งสวนผีเสื้อและกล้วยไม้ สนามบินเก็บน้ำฝนและใช้น้ำหมุนเวียนจาก NEWater เพื่อดูแลพืชพันธุ์ให้เขียวชอุ่มเสมอ เทอร์มินัล 4 ของสนามบินจะเปิดดำเนินการปลายปี 2017 นี้ตกแต่งด้วยสวนและ “ถนนต้นไม้”
เส้นสายของหลังคาที่สนามบินอินชอนถูกออกแบบแสดงถึงเส้นโค้งของวัดดั้งเดิมแบบเกาหลี ภายในอาคาร ผู้โดยสารจะพบกับสวน การแสดง และถนนสายวัฒนธรรมที่มีช่างฝีมือทำงานหรือทดลองทำงานหัตถกรรมแบบเกาหลีด้วยตัวเอง เทอร์มินัล 2 กำลังจะเปิดในงานโอลิมปิกปี 2018 ใช้แสงธรรมชาติและมีระบบระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สนามบินแห่งนี้ยังติดตั้งแผงโซลาร์คู่ไปกับสระปลาคาร์พ น้ำตก สายน้ำ กรงนกขนาดใหญ่ และสวนประติมากรรมด้วย
เรื่อง เอมี กอลชาก
อ่านเพิ่มเติม: อลหม่านการบิน