ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2020 โลกได้กลับมามีความหวังอีกครั้ง ซึ่งรวมไปถึงความหวังในการกลับมาท่องเที่ยวได้อีกครั้ง เนื่องจากหลายๆ ประเทศเริ่มอนุมัติ วัคซีนโควิด-19 หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นจาก Pfizer/BioNTech, Moderna, และ Oxford-AstraZeneca
สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 05.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น วัคซีนโควิด-19 ของ Sinovac (ซิโนแวค) จำนวน 200,000 แสนโดส ได้มาถึงประเทศไทย และในวันเดียวกันนี้ก็จะมีวัคซีน AstraZeneca (แอสตราเซเนกา) เข้ามาอีก 117,000 โดส รวมแล้ว 317,000 โดส โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมบุคลากรทางแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมอบ
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของปี 2021 ผู้คนจะได้รับวัคซีนและมีภูมิคุ้มกันจากโควิด-19 มากเพียงพอ ก็หมายถึงการได้ท่องเที่ยวทั่วโลกกลับมาอีกครั้ง (หรืออย่างน้อยก็จะเป็นการท่องเที่ยวภายในประเทศที่เสี่ยงน้อยกว่าเดิม) อย่างไรก็ตาม ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ยังคงลังเลที่จะวางแผนในการท่องเที่ยวครั้งต่อไป
วัคซีนโควิด-19 มีความหมายอย่างไรต่อการท่องเที่ยวในระยะเวลาอันใกล้ และทัศนคติในการเร่งกระบวนการ (หรือทำให้ช้าลง) ของการกลับไปเดินทางยังเส้นทางถนนหรือบนท้องฟ้ากลับมาอีกครั้งจะเป็นอย่างไร
ไม่มีวัคซีนที่รักษาความกลัว
“ความลังเลที่จะฉีดวัคซีนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต้องเอาชนะให้ได้” ดร. ทอม เคนยอน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของโครงการ HOPE องค์การที่ทำงานด้านสุขภาพและมนุษยธรรมระดับโลก และอดีตผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา กล่าว
โดยการท่องเที่ยวจะกลับมาอีกครั้งได้ ทั้งสหรัฐอเมริกาและโลกต้องมีภูมิคุ้มกันหมู่ (herd community) ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อร้อยละ 70 ของประชากร มีแอนติบอดี้ป้องกันการติดเชื้อ (protective antibody) เคนยอนกล่าว และเร็วๆ นี้มีข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับการสร้างพันธุกรรมของโควิด-19 ในร่างกาย ซึ่งแนะว่าภูมิคุ้มกันหมู่จะได้ผลก็ต่อเมื่อประชากรมีแอนติบอดีถึงร้อยละ 90
อย่างไรก็ตาม การแจกจ่ายวัคซีนนั้นใช้เวลานานกว่าที่คิด เช่น มีวัคซีนเพียง 3 ล้าน จาก 20 ล้านโดสที่คาดไว้ได้ถูกฉีดให้กับชาวอเมริกันในเดือนธันวาคม 2020 ในส่วนประเทศอังกฤษ กล่าวว่าอาจจะต้องใช้เวลานับปีในการให้วัคซีนกับประชากร
โดยทุกประเทศต้องการให้มีภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อให้วิถีดั้งเดิมก่อนยุคโรคระบาดเริ่มต้นอีกครั้ง “เราคือส่วนหนึ่งของชุมชนโลก ที่ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และอนาคตต่างเชื่อมต่อและมีผลกระทบโดยโรคระบาด” ดร. เจเวล มัลเลน รองคณะบดีด้านความเท่าเทียมทางด้านสุขภาพและรองศาสตราจารย์ด้านสุขภาพและอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ Austin’s Dell แห่งมหาวิทยาลัยแท็กซัส กล่าว
ม้วนแขนเสื้อขึ้น แล้วใส่มาสก์ซะ
วัคซีนโควิด-19 นั้นมีผลดีกว่าที่คาดไว้ในการป้องกันคนได้ที่รับวัคซีนจากอาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหวังว่า วัคซีนจะได้ผลที่ร้อยละ 50 – 70 โดยวัคซีนจาก Pfizer/BioNTech นั้นได้ผลถึงร้อยละ 95 เช่นเดียวกับวัคซีนจาก Moderna
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนในกรณีว่าคนได้รับวัคซีนก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ “เรายังไม่มีข้อมูลว่าวัคซีนโควิดจะสามารถลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้หรือไม่ ในขณะนี้มีเพียงข้อมูลที่แสดงว่าวัคซีนสามารถลดความเสี่ยงจากอาการป่วยได้เท่านั้น” ดร.เจนนิเฟอร์ แอชตัน หัวหน้าผู้สื่อข่าวด้านการแพทย์ของสำนักข่าวเอบีซี สหรัฐอเมริกา กล่าว
ไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นไวรัสชนิดใหม่และยังมีเรื่องราวที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกมากมาย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มากกว่าครึ่งของการติดเชื้อมาจากผู้ที่ไม่แสดงอาการ โดย ดร. เคนยอน กล่าวว่า ให้คิดถึงความเป็นไปได้ของการที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วยังสามารถได้รับเชื้อโดยที่ยังไม่แสดงอาการ และเป็นผู้ที่แพร่กระจายเชื้อไวรัสโดยที่ไม่รู้ตัว
ทุกคนต่างอยากออกไปท่องเที่ยวอีกครั้ง แต่ความสำคัญแรกของการพัฒนาวัคซีนคือการป้องกันความเจ็บป่วยและความตาย มิใช่เพื่อให้การเดินทางกลับมาเริ่มต้นอีกครั้ง “ในขั้นการทดลองมีเพียงการติดตามว่ามีผู้ได้รับวัคซีนจำนวนเท่าใดที่มีอาการป่วยจากโควิด-19 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน” ดร. เคนยอน กล่าว และนี่คือเหตุผลว่าทำไมหนึ่งเดือนหลังจากคุณได้รับวัคซีนเข็มแรกก็ตาม คุณจะยังไม่สามารถไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น จนกว่าจะมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลเราเพิ่มเติมอีกครั้ง
โลกต้องการภูมิคุ้มกัน
การให้โลกมีภูมิคุ้มกันไม่ใช่ที่เกิดขึ้นได้เร็วและง่ายดาย จากข้อมูลของ กลุ่มพันธมิตรวัคซีนของประชาชน (People’s Vaccine Alliance) องค์การเคลื่อนไหวด้านสุขภาพและมนุษยธรรมกล่าวว่า ประเทศร่ำรวยสามารถการันตีการได้รับวัคซีนได้ถึงร้อยละ 54 ของจำนวนรายชื่อผู้ที่ได้รับวัคซีน หากไม่ได้มีมาตรการเร่งด่วน องค์การฯ กล่าวว่าจะมีประชากรเพียงร้อยละ 10 จากประชากรของประเทศที่พัฒนาแล้ว 67 ประเทศที่จะได้รับวัคซีนในปี 2021 สถานการณ์นี้จะทำให้ประชากรของประเทศปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมเช่นกัมพูชา เคนยา ศรีลังกา และยูกันดา อยู่ในภาวะเสี่ยง
การแก้ปัญหาหลักคือโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมุ่งที่เพิ่มการสร้างวัคซีนและรับประกันความเท่าเทียมในการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันทั้งโลก สิ่งแรกคือการจัดส่งวัคซีนให้เพียงพอในกลุ่มประชากรที่เปราะบางร้อยละ 20 ใน 184 ประเทศที่เข้าร่วม และประเทศที่ร่ำรวยจะต้องให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนไปยังประเทศที่ยากจน ซึ่งแม้ว่าประเทศร่ำรวยอย่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วม แต่เงินทุนของโครงการนี้ก็ยังไม่เพียงพอ โดยยังต้องการเงินทุนอีกราว 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 720,000 ล้านบาท)
นอกจากนี้ ยังมีแนวความคิดในการใช้พาสปอร์ตวัคซีนเพื่อการเดินทาง การตรวจหาเชื้อในประเทศต้นทางและปลายทาง มาตรการจากสายการบิน ที่ยังคงต้องดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อมิให้เกิดการปลอมแปลงข้อมูล อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศริเริ่มโครงการในลักษณะนี้แล้ว
ไม่มีใครปลอดภัย จนกว่าทุกคนจะปลอดภัย
“นี่ไม่ใช่เรื่องของ ฉัน แต่เป็นเรื่องของ เรา” ดร. แอชตัน กล่าวและเสริมว่า “โรคระบาดในครั้งนี้ได้ปลดเปลี้องการแบ่งแยกระหว่างพฤติกรรมความรับผิดชอบในสุขภาพของตัวเองและสุขภาพของผู้อื่น” โดยโควิด-19 ได้เตือนเราว่าร่างกายแบ่งปันโลกใบเดียวกันในเรื่องสุขภาพและความเจริญรุ่งเรือง และเราต้องต่างดูแลใส่ใจซึ่งกันและกัน
วัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพหมายถึงชีวิต ซึ่งรวมไปถึงการท่องเที่ยว จะกลับมาเป็นปกติในวันใดวันหนึ่ง ถ้าหากวัคซีนนั้นสามารถทั้งปกป้องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส พร้อมทั้งต่อต้านการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และปฏิบัติในการระงับการแพร่เชื้อจะสิ้นสุดลงเมื่อภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างประสบความสำเร็จ