ทันทีที่ จอห์น มิดจ์ลีย์ กลับเข้ามาในแคมป์และเปิดโถขนาดเล็ก เขาพบเข้ากับบางสิ่งที่น่าเหลือเชื่อ – แมงมุมทารันทูลา ที่คาดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่
ท่ามกลางแสงแดดแผดเผาในแองโกลาทางตะวันออกเฉียงใต้ นักกีฏวิทยากำลังศึกษา แมงมุมทารันทูลา ซึ่งมีลักษณะแปลกตา โดยมีเขาขนาดใหญ่อยู่บนหลังเล็กๆ ของมัน
มิดจ์ลีย์ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแมงมุม ดังนั้นเขาจึงส่งรูปถ่ายของเขาไปให้ เอียน เอนเกลเบร็ชต์ จากมหาวิยาลัยพริทอเรีย แอฟริกาใต้
“เอียนกล่าวหาว่า ผมถ่ายรูปแมงมุมมาจากรูปถ่ายในพิพิธภัณฑ์ กวาซูลู-นาตัล ในแอฟริกาใต้” มิดจ์ลีย์ เล่าอย่างขำๆ
ดังนั้นเขาจึงออกไปสำรวจในคืนถัดไป และเขาพบกับทารันทูลาอีกหลายตัวที่มีเขาขนาดใหญ่
“ผมรู้ว่าเราได้ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ มันยากที่คุณจะรู้ว่ามีบางสิ่งที่พิเศษในช่วงแรกของการวิจัย” เขากล่าว
โดยกลุ่มทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า Ceratogyrus attonitifer มาจากภาษาละติน คือ “ผู้ถือครองความพิศวง” และเผยแพร่ผลการสำรวจในวารสาร African Invertebrates
การดักจับแมงมุม
หลังเกิดสงครามกลางเมืองเป็นเวลาถึง 26 ปี ซึ่งสิ้นสุดในปี 2002 ความหลากหลายทางชีวภาพของแองโกลายังคงเป็นปริศนา – ไม่มีใครรู้ว่ามีผู้รอดชีวิตมากน้อยเพียงใด
ในปี 2015 สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก และทีมนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติได้เปิดตัวโครงการ Okavango Wilderness Project เพื่อสำรวจและปกป้องภูมิภาคที่สำคัญและด้อยค่า โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญหลายคนรวมถึง มิดจ์ลีย์ มาที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของแองโกลา เพื่อสำรวจสายพันธุ์แมงมุมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2016 มิดจ์ลีย์ เดินทางมาในแองโกลาเพื่อค้นหาแมลงชนิดต่างๆ รวมถึงแมงมุม เขาเดินสำรวจพื้นที่เพื่อค้นหาแมงมุมหลากหลายสายพันธุ์
ในฤดูกาลที่หญ้าขึ้นปกคลุมพื้นที่ชุ่มน้ำรอบทะเลสาบแองโกลา เขาวิเคราะห์หลุมกว้างขนาดยาวเกือบสองฟุตตรงบริเวณพื้นดิน เพื่อดูว่ามีสิ่งใดอาศัยอยู่ข้างในหรือมีอะไรแทรกอยู่ในใบหญ้า เขานำใบหญ้ายาวๆ หย่อนทิ้งไว้ในรังของพวกมัน และกลับมาตรวจสอบอีกครั้งในเวลากลางคืน เขาพบว่าตรงปลายของใบหญ้าถูกกัด เขาจึงค่อยๆ ดึงเจ้าแมงมุมทารันทูลาออกมาจากโพรง
“มันเหมือนกับการตกปลา” มิดจ์ลีย์ กล่าวว่า “หากคุณไม่ยึดให้แน่นพวกมันสามารถดึงหญ้ากลับจากมือของคุณได้”
การซุ่มโจมตีของนักล่า
เขาขนาดใหญ่บนหลังของทารันทูลา สามารถระบุได้ทันทีว่าเป็นสกุล Ceratogyrus แมงมุมหลายตัวในกลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน มีขนาดตัวที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่กว่ากันมากนัก ปีกด้านหลังของ C. attonitifer มีความยาวเท่ากับหน้าท้องที่มีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ
นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับแมงมุมสายพันธุ์ใหม่นี้ – รวมถึงเขาของมันสามารถใช้งานอย่างไร – แต่พวกเขารู้ว่า C. attonitifer เป็นนักล่าที่ออกหากินเวลากลางคืน นอนหลับเวลากลางวันตรงบริเวณก้นโพรง และจะขึ้นมาที่ปากโพรงเพื่อรอให้เหยื่อตกลงมา
แมงมุมใช้การกัดและฉีดพิษเข้าไปในตัวของเหยื่อ เมื่อเหยื่อหยุดนิ่งมันจะดูดสารอาหารในตัวของเหยื่อราวกับการกินสมูตตี้
การเจาะจงแหล่งที่อยู่อาศัย
แม้ว่า มิดจ์ลีย์ จะพบโพรงมากกว่า 10 โพรง ในพื้นที่ขนาด 300 ตารางเมตร ซึ่งอยู่รอบๆ ที่พักของเขา ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มีความชุกชุมสูง แต่เขากลับพบแมงมุมเพียงหนึ่งสปีชีส์เท่านั้น
“แมงมุมบาบูนมีความเฉพาะเจาะจงแหล่งที่อยู่อาศัยมาก” ฮีทเธอร์ แคมเบลล์ นักกีฏวิทยาเชิงนิเวศจากมหาวิทยาลัยฮาร์เปอร์อดัมส์ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการการวิจัย กล่าวว่า “แมงมุมบาบูน” เป็นชื่อทั่วไปสำหรับวงศ์ย่อยของทารันทูที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา “ในหนึ่งสปีชีส์อาจสร้างโพรงที่เจาะจงกับทรายบริเวณนั้น ส่วนชนิดอื่นอาจสร้างโพรงในดินที่แตกต่างออกไป”
หากที่อยู่อาศัยของพวกมันถูกรบกวน แมงมุมเหล่านี้ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ มันเป็นสัตว์ที่มีชีวิตยืนยาวแต่อัตราการสืบพันธุ์ต่ำทำให้มันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง
การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพขั้นพื้นฐานนี้ถือเป็นวิธีไขความลึกลับของ โอกาวางโก ได้อย่างยั่งยืน
“ทุกครั้งที่เราออกไปข้างนอกเราค้นพบสิ่งใหม่ที่น่าอัศจรรย์และน่าประหลาดใจอยู่เสมอ” แคมเบลล์ กล่าว
***แปลและเรียบเรียงโดย ปุณยวีร์ เฉลียววงศ์เจริญ
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย
อ่านเพิ่มเติม: สาเหตุของการลดลงของจำนวนประชากร แมลง