เมื่อวิชาทางโบราณคดีค้นพบพฤติกรรมนากทะเล

บางครั้ง บรรดา นากทะเล จะนำเท้ามาเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้พวกมันลอยตัวกันเป็นแพ

ภาพถ่าย ROY TOFT, NAT GEO IMAGE COLLECTION

เมื่อวิชาทางโบราณคดีค้นพบพฤติกรรมนากทะเล

เทคนิคต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือในมนุษย์และโฮมินิดกำลังนำมาปรับใช้กับนากทะเลในยุคปัจจุบัน

นักโบราณคดีสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านขยะจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นกองหินบิ่นเบี้ยวและเศษเปลือกหอยจากบรรดามนุษย์ผู้หิวโหยเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเผยข้อมูลที่ว่า เผ่าพันธุ์ของเราเคยอาศัยอยู่ที่ไหน อยู่อย่างไร และอยู่มานานเท่าใด

ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้วิธีการทางโบราณคดีแบบเดียวกันนี้เพื่อเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับสัตว์ขนฟู ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์

นากยุโรปตัวแม่และลูกๆ อายุ 7 เดือนจำนวน 2 ตัว ขณะกำลังผ่อนคลายอยู่บริเวณชายฝั่งบนหมู่เกาะเชตแลนด์ สหราชอาณาจักร ภาพถ่าย CHARLIE HAMILTON JAMES, NAT GEO IMAGE COLLECTION

นากทะเลป่า มักทุบหอยแมลงภู่ด้วยการกระแทกกับหินจนติดเป็นนิสัย ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์เพียงไม่กี่ตัวที่ใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมของนากทะเลทางตอนใต้ของชายฝั่งแคลิฟอร์เนียและวิเคราะห์การสึกหรอของหินและเปลือกหอยบริเวณใกล้เคียงนั้น นักวิจัยจึงสามารถค้นพบข้อสรุปอันน่าประหลาดใจได้

ยกตัวอย่างเช่น รอยแตกอันเด่นชัดบริเวณด้านข้างของหอยแมลงภู่แสดงให้เห็นว่านากส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้ใช้มือขวาของพวกมันในการทุบ เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า มีเพียงแค่โฮมินิดและมนุษย์เท่านั้นที่ใช้มือสร้างประโยชน์ แต่ต่อมาทั้งจิงโจ้ ปลาวาฬสีน้ำเงิน และนากทะเล ต่างมีความถนัดในการใช้มือข้างใดข้างหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน

นากยักษ์แรกเกิดในเอกวาดอร์ ที่ลืมตาดูโลกพร้อมมีขนปกคลุมกาย ภาพถ่าย TIM LAMAN, NAT GEO IMAGE COLLECTION

ขนาดของเปลือกหอยและการสึกกร่อนของหินยังเป็นพื้นฐานสำหรับการประเมินว่าช่วงระยะเวลาที่นากได้กินอาหารในบริเวณแห่งนี้เกิดขึ้นมานานแค่ไหน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ลงวารสาร Scientific Reports

“ข้อมูลเหล่านี้สามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงระยะเวลาที่บรรดานากทะเลเริ่มใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ นั้นเริ่มแพร่กระจายในหมู่ของพวกมันได้อย่างไร” — Jessica Fujii, นักวิจัยอาวุโสแห่งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ กล่าว

ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังสามารถตอบคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดนากทะเลทางตอนใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่อาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนียมีแนวโน้มที่จะใช้เครื่องมือมากกว่านากทะเลทางเหนือที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและอะแลสกา

เมื่อโบราณคดีหันไปศึกษาเรื่องสัตว์

วิชาทางโบราณคดีได้หันเหไปทางอาณาจักรสัตว์มาก่อน จนกระทั่งผลการศึกษาชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลิงชิมแปนซี

“บรรดานากทะเลของเราได้นำหินและเครื่องมืออื่นๆ มาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานกว่าหลายทศวรรษแล้ว” — Natalie Uomini, นักวิทยาศาสตร์อาวุโสเเห่งสถาบันแม็กซ์พลังก์ ด้านประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในเยอรมนี กล่าว

ครอบครัวนากยุโรปขณะกำลังหยอกล้อกันบนชายฝั่งซึ่งปกคลุมไปด้วยสาหร่ายทะเล ภาพถ่าย CHARLIE HAMILTON JAMES, NAT GEO IMAGE COLLECTION

ปัจจุบันนี้ โบราณคดีที่ศึกษาเรื่องสัตว์ได้แยกย่อยออกมาศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมทางทะเล ซึ่งมันอาจนำไปสู่การค้นพบที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในน้ำตัวอื่นๆ โดยมีสัตว์ทะเลเพียงไม่กี่ชนิดที่ถูกค้นพบว่าใช้เครื่องมือในการสร้างประโยชน์ เช่น ปลาโลมาที่ใช้ฟองน้ำเป็นอุปกรณ์ป้องกันจะงอยปากขณะล่าปลาในปะการัง และอาจใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงความรักอีกด้วย เช่นเดียวกับนากทะเล เม่นทะเล หรือแม้แต่เต่าทะเลตัวน้อยที่พร้อมโจมตีหินซึ่งเป็นสิ่งที่พวกมันโปรดปราน

“แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า บรรดาสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะมีความคล้ายคลึงกันมากขนาดนี้” — Culum Brown, นักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแมคควอรี รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าว

 “ด้วยการใช้แนวทางเดียวกันกับการศึกษาวิชาโบราณคดีแบบมาตรฐาน ตัวอย่างเช่น การขุดเศษชิ้นส่วนของเปลือกหอยหรือกองขยะ “คุณสามารถหาคำตอบได้ว่า พื้นที่ต่างๆ นั้นเคยถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลายาวนานแค่ไหน

เรื่อง SYDNEY COMBS

***แปลและเรียบเรียงโดย กุลธิดา ปัญญาเชษฐานนท์
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย


อ่านเพิ่มเติม

นากโบราณขนาดเท่าหมาป่า มีแรงกัดมหาศาล

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.