ปลาการ์ตูน – ดอกไม้ทะเล มิตรภาพแสนงามแห่งมหาสมุทร

ปลาการ์ตูน และดอกไม้ทะเลคือแบบอย่างของพันธมิตรอันแนบแน่นที่ต่างพึ่งพาอาศัยกัน พวกมันเปรียบได้กับเพชรยอดมงกุฎแห่งแนวปะการัง

ปลาการ์ตูน – ดอกไม้ทะเล / ตอนที่แอนดรูว์ สแตนสัน เริ่มสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งเค้าโครงเรื่องเกิดขึ้นในมหาสมุทร ทั้งหมดที่เขาต้องการก็คือปลาที่เหมาะจะรับบทเป็นตัวเอกของเรื่อง

เขาเปิดหนังสือภาพเล่มโตเกี่ยวกับชีวิตในท้องทะเลเล่มแล้วเล่มเล่า กระทั่งมาสะดุดตากับภาพปลาสองตัวที่เยี่ยมหน้ามองออกมาจากดอกไม้ทะเล ”เป็นภาพที่ตรึงตรามากครับ

และแล้วดาวจรัสแสงก็ถือกำเนิดขึ้น นีโม ปลาเล็กหัวใจ โต๊…โต (Finding Nemo) ของบริษัทพิกซาร์ (Pixar) ที่สแตนตันเป็นผู้กำกับและเขียนบท ได้รับรางวัลออสการ์ ประจำปี 2003 สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ปลาน้อยนีโมซึ่งเป็นปลาการ์ตูนชนิด Amphiprion percula ทำให้เด็กๆ หลายล้านคนทั่วโลกได้รู้จักกับระบบนิเวศเขตร้อนอันแสนมหัศจรรย์ นั่นคือแนวปะการังและเหล่าผู้อยู่อาศัย

ในหมู่นักวิทยาศาสตร์และนักเลงปลาตู้ ปลาการ์ตูน ยังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาดอกไม้ทะเล (anemonefish) เนื่องจากพวกมันไม่อาจอยู่รอดได้หากปราศจากดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นเจ้าบ้านผู้ให้แหล่งพักพิง หนวดที่มีเข็มพิษของดอกไม้ทะเลช่วยปกป้องปลาการ์ตูนและไข่ที่กำลังพัฒนาจากนักล่า

ทว่าในจำนวนดอกไม้ทะเลราว 1,000 ชนิด มีเพียงสิบชนิดเท่านั้นที่เป็นบ้านของปลาการ์ตูน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปลาการ์ตูนหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกเข็มพิษของดอกไม้ทะเลทำร้ายได้อย่างไร แต่เป็นไปได้ว่า ชั้นเมือกซึ่งปลาการ์ตูนอาจสร้างขึ้นหลังจากได้สัมผัสหนวดดอกไม้ทะเลในครั้งแรกๆ อาจช่วยปกป้องพวกมัน อัลเลนอธิบายว่า ”เมือกพิเศษนี่เองครับที่ยับยั้งดอกไม้ทะเลไม่ให้ขับเซลล์เข็มพิษออกมาครับ

เรื่อง เจมส์ โพรเซก
ภาพถ่าย เดวิด ดูบิเลต์

AMPHIPRION AKALLOPISOS (ปลาการ์ตูนสกั๊งค์); HETERACTIS MAGNIFICA (ดอกไม้ทะเลแสนสวย); ถ่ายภาพที่ประเทศเซเชลส์
ปลาการ์ตูนครีบส้ม (ตัวผู้อยู่ทางซ้าย ตัวเมีย อยู่ทางขวา) หลบภัยจากเหล่านักล่า เช่น ปลากะรัง โดยซุกตัวอยู่ท่ามกลางหนวด มีเข็มพิษของดอกไม้ทะเลในยามค่ำ คืน AMPHIPRION CHRYSOPTERUS; STICHODACTYLA MERTENSII (ดอกไม้ทะเลเมอร์เทนส์คลาวน์ฟิช); ปาปัวนิวกินี
เมื่อสิ้นแสงอาทิตย์ ดอกไม้ทะเล HETERACTIS MAGNIFICA จะหดตัวลงจนดูคล้ายกระถางดินเผา แต่หนวดของมันยังโผล่แพลมออกมาพอให้ปลาการ์ตูนส้มขาว ซึ่งสามารถเติบโตจนมีความยาวราว 7 เซนติเมตร มุดเข้าไปหาที่พักพิงอันปลอดภัยได้ สีสันของดอกไม้ทะเลชนิดนี้มีหลากหลาย ตั้งแต่สีส้มไปถึงสีชมพู น้ำ เงิน เขียว แดง หรือขาว AMPHIPRION PERCULA (ปลาการ์ตูนส้มขาว); HETERACTIS MAGNIFICA (ดอกไม้ทะเลแสนสวย); เกรตแบรริเออรรีฟ ออสเตรเลีย
ดอกไม้ทะเลบับเบิลทิปใน สภาพฟอกขาวจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น แทบจะปราศจากสาหร่ายซึ่งช่วยสร้างสีสันและพลังงานจากการ สังเคราะห์แสงให้มัน แต่แม้จะตกอยู่ในสถานการณ์บีบคั้น มันก็น่าจะอยู่รอดและเป็นแหล่งพักพิงให้ปลาการ์ตูนได้ต่อไป PREMNAS BIACULEATUS (ปลาการ์ตูนแก้มหนาม); ENTACMAEA QUADRICOLOR; ปาปัวนิวกิน
ปลาการ์ตูนมะเขือเทศเพศผู้เฝ้าประคบประหงมไข่ที่กำ งฟักเป็นตัวราวกับคนสวน มันจะคอยตอดไข่ที่เสียหรือตัวอ่อนที่ตายแล้วทิ้งไป พร้อมกับเติมออกซิเจนให้ลูกน้อย ด้วยการโบกครีบอกของมันไปมา AMPHIPRION FRENATUS ; ฟิลิปปินส์
เมื่อถูกโจมตี บางครั้งปลาการ์ตูนอานม้าจะมุดเข้าไปในปากของดอกไม้ทะเลเพื่อหาที่คุ้มภัย เนื่องจากดอกไม้ทะเลชนิดนี้อาศัยอยู่บนผืนทราย ปลาการ์ตูนอานม้าจึงต้องวางไข่บนวัตถุแข็งๆที่อยู่ใกล้ๆ เช่น เศษเปลือกหอย
ปลาการ์ตูนมัลดีฟส์วัยเยาว์เกาะกลุ่มกันเป็นแพเพื่อต้านกระแสน้ำ ปลาตัวใหญ่ที่สุดสองตัวในกลุ่มจะกลายเป็นคู่จ่าฝูงที่ได้ผสมพันธุ์กันในดอกไม้ทะเล
ปลาการ์ตูนพิงค์เพศเมีย (มุมซ้ายบนของภาพ) ประกาศศักดาเหนือปลาเพศผู้ตัวเต็มวัย (ด้านหน้า) ขณะที่ฝ่ายหลังกำลังไล่ปลาวัยเยาว์ตัวหนึ่งที่ล่วงล้ำ เข้ามา
ดอกไม้ทะเลบับเบิลทิป เป็นบ้านของปลาการ์ตูนถึง 14 ชนิด มากกว่าดอกไม้ทะเลชนิดอื่นใด ณ ที่แห่งนี้ ปลาการ์ตูนมะเขือเทศล่องลอยอยู่ท่ามกลางหนวดดอกไม้ทะเลที่ได้รับสีสันจากสาหร่าย อันเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ดี

อ่านเพิ่มเติม ปะการัง ที่ตระการตาที่สุดในโลก และโลกสีครามมหัศจรรย์ ใต้ภัยคุกคามจากมนุษย์

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.