ดัดหลัง “มนุษย์ล่าเอา นอแรด ” ทำ “นอ” ให้มี “กัมมันตภาพรังสี”

นักวิทยาศาสตร์ เปลี่ยน “ นอแรด ” ให้กลายเป็น “วัตถุกัมมันตภาพรังสี ” โดยหวังช่วยให้รอดจากการถูกฆ่าและการลักลอบล่าสัตว์

ปัจจุบัน แม้จะมีโครงการป้องกันจำนวนมากเพื่อรักษาชีวิตแรด แต่ความต้องการ นอแรด ก็ยังคงสูงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ทำให้นักลักลอบล่าสัตว์ยังคงมองหาช่องว่างในการนำนอแรดที่มีค่าเหล่านี้ออกมา และทิ้งไว้แต่เพียงร่างที่ไร้ชีวิตของแรด ซึ่งเป็นภัยคุกคามใหญ่ที่สุดต่อแรดใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้
.
“ทุก ๆ 20 ชั่วโมงในแอฟริกาใต้ แรด 1 ตัวจะตายเพราะนอของมัน” ศาสตราจารย์ เจมส์ ลาร์คิด (James Larkin) หัวหน้าโครงการ ‘Rhisotope’ จากมหาวิทยาลัยวิทวอเตอร์แรนด์ กล่าว “นอเหล่านี้ถูกขายไปทั่วโลก และใช้เป็นยาแผนโบราณ หรือเป็นสัญลักษณ์สถานะอะไรบางอย่าง”
.
“สิ่งนี้ทำให้นอแรดกลายเป็นสินค้าที่มีค่ามากที่สุดในการค้าขายตลาดมืด เหนือกว่าทองคำ แพลทตินัม เพชร หรือโคเคน” เขาเสริม
.
แอฟริกาใต้เป็นบ้านของประชากรแรดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของโลก ซึ่งมีอยู่กว่าหลายหมื่นตัวจากทุกสายพันธุ์ ตามรายงานของมูลนิธิแรดนานาชาติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แอฟริกาใต้กลายเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุดของผู้ที่ต้องการมัน ทำให้เมื่อปีที่แล้วมีแรดกว่า 499 ตัวถูกฆ่าเพื่อเอานอไปขาย
.
นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์จำนวนมากจึงพยายามหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปกป้องชีวิตแรด และมันคือโครงการ ‘Rhionotope’ ซึ่งมีการพัฒนามาเป็นเวลา 3 ปีจากหน่วยรังสีและฟิสิกส์สุขภาพของมหาวิทยาลัยวิทวอเตอร์แรนด์

อ่านเพิ่มเติม

นักวิจัยพบเสียงนกช่วยเตือนให้ แรด หนีจากมนุษย์ที่กำลังเข้าใกล้รวมทั้งนักล่าสัตว์

โลกมีหวัง! ผสมเทียม แรด ที่เหลือ 2 ตัวในโลกสำเร็จ! ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

จำนวนประชากรแรดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หายไปถึงร้อยละ 70 ภายในช่วง 10 ปี

แรดขาวเหนือ : บทเรียนจากความตายของสัตว์ตัวสุดท้าย

แรดที่มีชีวิตจำนวน 20 ตัวซึ่งอาศัยอยู่ในเขตสงวนชีวมณฑลวอเตอร์เบิร์กของยูเนสโก จะถูกใส่วัตถุกัมมันตภาพรังสีที่เป็นไอโซโทปขนาดเล็กซึ่งไม่เป็นพิษสำหรับแรด ผ่านรูเล็ก ๆ บนนออย่างใกล้ชิดและระมัดระวัง
.
“การใส่แต่ละครั้งจะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการดูแลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันอันตรายใด ๆ ต่อสัตว์” ศาสตราจารย์ ลาร์คิน อธิบาย “ตลอดระยะเวลาหลายเดือนของการวิจัยและการทดสอบ เรารับประกันได้ว่าไอโซโทปรังสีที่ใส่เข้าไปนั้นไม่มีสุขภาพหรือวามเสี่ยงอื่นใดสำหรับสัตว์หรือผู้ที่ดูแลพวกมัน”
.
แรดทั้งหมดจะถูกจับตาอยู่อย่างใกล้ชิดตลอด 6 เดือนข้างหน้า โดยติดตามข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมของแรด ทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อเป้าหมาย 2 ประการใหญ่ ๆ คือ เพื่อให้นอดังกล่าวสามารถตรวจจับได้ง่ายหากมันถูกตัดออกไป
.
และอีกประการหนึ่งสำคัญคือ เพื่อให้นอนั้นมีคุณค่าลดลง รวมถึงมีความเป็นพิษที่อันตรายถึงชีวิตหากมนุษย์บริโภคมันเข้าไป โดยหวังป้องกันไม่ให้แรดถูกล่าตั้งแต่แรก หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะนำไปปรับใช้กับสัตว์อื่น ๆ อย่างเช่น ช้างที่ตกเป็นเป้าของการล่างา
.
“ท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายคือการพยายามลดคุณค่านอแรดในสายตาของผู้บริโภคปลายทาง ขณะเดียวกันก็ทำให้ตรวจพบนอแรดได้ง่ายขึ้นในขณะที่พวกมันถูกลักลอบขนข้ามพรมแดน” ศาสตราจารย์ ลาคิน กล่าว พร้อมเสริมว่า “การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนอนี้ จะทำให้นอ ‘มีความเป็นพิษต่อการบริโภคของมนุษย์”

สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล

ที่มา

abcnews.go.com

www.wits.ac.za/

www.bbc.co.uk/

phys.org/

www.iflscience.com/


อ่านเพิ่มเติม คู่หู น้องแรด-ม้าลาย ต่างสายพันธุ์ ทำไมเป็นเพื่อนรักกันได้

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.