หายนะโจมตี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซาโปริซเซีย ในยูเครน – ทางออกคือยุติสงคราม

บทวิเคราะห์ล่าสุดของกรีนพีซว่าด้วยหายนะภัยจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซาโปริซเซีย (Zaporizzhia) ในยูเครน – ทางออกเดียวคือยุติสงครามทันที

อัมสเตอร์ดัม – การรุกรานยูเครนโดยกองทัพของวลาดิมีร์ ปูติน ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางนิวเคลียร์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ 15 เครื่องรวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปของยูเครนนั้นเสี่ยงต่อการเกิดหายนะ ซึ่งอาจทำให้ภูมิภาคอันกว้างใหญ่ของทวีปยุโรป รวมถึงรัสเซีย ไม่อาจอยู่อาศัยได้นับทศวรรษ จากการวิเคราะห์ล่าสุดของกรีนพีซ [1]

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ผลิตไฟฟ้า 19% ให้แก่ยูเครนในปี 2563 และเป็นพื้นที่ที่มีกองทหารและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียอยู่ในรัศมีไม่กี่กิโลเมตร [2] ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ 6 เครื่องและบ่อน้ำหล่อเย็น 6 แห่งที่หล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์กัมมันตภาพรังสีสูงหลายร้อยตัน ปัจจุบัน มีเตาปฏิกรณ์ที่ทำงาน 3 เครื่อง และอีก 3 เครื่องหยุดทำงานนับตั้งแต่เริ่มสงคราม

งานวิจัยที่รวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญของกรีนพีซสากลสรุปว่า ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากสงคราม ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด หากมีการระเบิดที่ทำลายอาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และระบบหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารกัมมันตภาพรังสีจากทั้งแกนเตาปฏิกรณ์และและบ่อน้ำหล่อเย็นที่เก็บแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว จะรั่วไหลออกสู่ชั้นบรรยากาศและสร้างหายนะที่เลวร้ายยิ่งกว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ที่เกิดขึ้นในปี 2554 กระทบพื้นที่หลายร้อยกิโลเมตรจากจุดที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอาจมีรังสีปนเปื้อนได้นานถึงหลายทศวรรษ แม้ว่าจะไม่มีความเสียหายโดยตรงต่อโรงไฟฟ้า แต่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องพึ่งพาทั้งไฟฟ้า จากโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้ว ความพร้อมของช่างเทคนิคและบุคลากรด้านนิวเคลียร์ และการเข้าถึงอุปกรณ์และการขนส่ง

Jan Vande Putte ผู้ร่วมทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [3] กล่าวว่า

“ความน่ากลัวอีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือความเสี่ยงด้านนิวเคลียร์ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดสงครามขึ้นในประเทศที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายเครื่อง และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วและมีกัมมันตภาพรังสีสูงหลายพันตัน สงครามในทางตอนใต้ของยูเครนรอบๆ เมืองซาโปริซเซีย ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุร้ายแรง ตราบใดที่สงครามนี้ยังคงดำเนินต่อไป ภัยคุกคามทางทหารต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเครนจะยังคงอยู่ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ในบรรดาเหตุผลมากมาย ที่ปูตินจะต้องยุติการทำสงครามในทันที”

นับตั้งแต่เริ่มสงครามในยูเครน กรีนพีซสากลได้เฝ้าติดตามการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนอย่างใกล้ชิด วันนี้กรีนพีซสากลได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ทางเทคนิคเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญบางประการของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ทางตอนใต้ของยูเครน

อุบัติเหตุจากการทิ้งระเบิดและการตั้งใจโจมตีของรัสเซียอาจทำให้เกิดหายนะครั้งใหญ่กว่า

หายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2554 เนื่องจากความเปราะบางของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ที่ความซับซ้อนของระบบและการใช้ระยะเวลานานในการดึงระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลับสู่โหมดระดับความปลอดภัย

การยุติสงครามจึงเป็นทางออกเดียวที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้น

กรีนพีซขอแสดงความนับถืออย่างสุดซึ้งและขอบคุณต่อคนงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน รวมทั้งเชอร์โนบิลที่ทำงานภายใต้สภาวะสุดขีดเพื่อรักษาเสถียรภาพของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ [4] พวกเขาไม่เพียงแต่ปกป้องความปลอดภัยของยูเครน แต่ยังรวมถึงส่วนใหญ่ของยุโรปด้วย

คณะกรรมการของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ได้จัดการประชุมฉุกเฉินในวันพุธที่ 2 มีนาคมเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ในยูเครน [5]

หมายเหตุ:

[1] “ความเปราะบางของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงความขัดแย้งทางทหาร Lessons from Fukushima Daiichi Focus on Zaporizhzhia, Ukraine”, Jan Vande Putte (ที่ปรึกษาการป้องกันรังสีและผู้รณรงค์ด้านนิวเคลียร์, กรีนพีซ เอเชียตะวันออก และกรีนพีซเบลเยี่ยม) และ Shaun Burnie (ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์อาวุโส, กรีนพีซ เอเชียตะวันออก) https://www.greenpeace.org/international/nuclear-power-plant-vulnerability-during-military-conflict-ukraine-technical-briefing/ – ข้อค้นพบหลักอยู่ด้านล่าง

[2] รายงานท้องถิ่นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ชี้ให้เห็นว่าพลเรือนหลายพันคนใน Enerhodar เมืองหลักที่เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียกำลังพยายามสกัดกั้นการรุกของกองทัพรัสเซียไปยังโรงไฟฟ้าดังกล่าว วิดีโอจากนายกเทศมนตรีเมือง: https://twitter.com/ignis_fatum/status/1498939204948144128?s=21

[3] Jan Vande Putte เป็นที่ปรึกษาด้านการป้องกันรังสีและนักรณรงค์ด้านนิวเคลียร์ที่กรีนพีซ เอเชียตะวันออกและกรีนพีซ เบลเยี่ยม

[4] Chornobyl เป็นการสะกดภาษายูเครนของ Chernobyl

[5] IAEA ได้รับแจ้งจากรัฐบาลรัสเซียเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 ว่ากองกำลังทหารของรัสเซียเข้าควบคุมอาณาเขตรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย – https://www.iaea.org/newscenter/pressreleases/update-6-iaea -อธิบดี-ทั่วไป-ถ้อยแถลงสถานการณ์ในยูเครน

ข้อค้นพบหลักจากการวิเคราะห์กรีนพีซ :

● เช่นเดียวกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อื่นๆ เตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียมีเชื้อเพลิงใช้แล้วที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงซึ่งต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับคงที่ในระบบหล่อเย็นแม้ว่าจะปิดทำงานก็ตาม เมื่อโครงข่ายไฟฟ้าขัดข้องและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ในสถานการณ์ไฟฟ้าดับ จะมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรองและแบตเตอรี่สำรองอยู่ แต่ไฟฟ้าสำรองนี้อาจไม่สามารถจ่ายไฟได้เป็นระยะเวลานาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข นั่นคือ มีคลังเก็บน้ำมันที่ใช้งานได้เพียงเจ็ดวัน

● ข้อมูลทางการจากปี 2560 รายงานว่าที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียมีเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่มีกัมมันตภาพรังสีระดับสูง 2,204 ตัน ในจำนวนนั้น มี 855 ตันอยู่ในบ่อน้ำหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วที่มีความเสี่ยงสูง หากไม่มีการหล่อเย็นตลอดเวลา(Active Cooling) เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วจะ เสี่ยงต่อความร้อนที่สูงเกินไปและระเหยไปถึงจุดที่โลหะที่เป็นเปลือกหุ้มเชื้อเพลิงสามารถติดไฟและทำให้กัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม

● เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งที่ทำการผลิตไฟฟ้าอยู่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียต้องการระบบสนับสนุนที่ซับซ้อน รวมถึงการประจำการถาวรของบุคลากรที่ผ่านการรับรอง ระบบพลังงาน การมีแหล่งน้ำที่ใช้หล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ ระบบสนับสนุนดังกล่าวนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงสงคราม

● อาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียมีโครงสร้างกักเก็บแบบคอนกรีตที่ปกป้องทั้งแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ระบบหล่อเย็น และแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม โครงสร้างกักเก็บดังกล่าวไม่อาจทนต่อผลกระทบของอาวุธยุทโธปกรณ์หนัก โรงไฟฟ้าอาจถูกโจมตีโดยไม่ตั้งใจ แม้ว่าจะเป็นไปได้น้อยมากที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะถูกโจมตีโดยเจตนา เนื่องจากการรั่วไหลของรังสีนิวเคลียร์อาจปนเปื้อนอย่างรุนแรงกับประเทศเพื่อนบ้านรอบยูเครน รวมถึง รัสเซีย ถึงกระนั้น สมมุติฐานนี้ไม่อาจวางใจได้ทั้งหมด

● ในกรณีเลวร้ายที่สุด อาคารกักเก็บเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจถูกทำลายจากการระเบิด และระบบน้ำหล่อเย็นจะล้มเหลว กัมมันตภาพรังสีทั้งจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์และบ่อน้ำหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วสามารถแพร่กระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างอิสระ ความเสี่ยงนี้ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เลย เนื่องจากระดับกัมมันตภาพรังสีที่สูงซึ่งอาจนำไปการเกิดความเสียหายกับเตาปฏิกรณ์และบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อื่นๆ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แต่ละเครื่องจะมีการกระจายกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากไปยังทิศทางลมที่แตกต่างกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ อาจทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป รวมทั้งรัสเซีย กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่อาจอาศัยอยู่ได้เป็นเวลาอย่างน้อยหลายทศวรรษและในพื้นที่รัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ถือเป็นฉากทัศน์ของความฝันร้ายที่เลวร้ายยิ่งกว่าหายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิในปี 2554 มาก

● ต้องใช้เวลานานมากในการทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลับเข้าสู่สถานะความปลอดภัยแบบพาสซีฟที่ไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมจากมนุษย์ เมื่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ปิดตัวลง ความร้อนที่เหลือจากการแผ่กัมมันตภาพรังสีจะลดลงแบบทวีคูณ แต่ก็ยังคงร้อนมากและต้องใช้เวลา 5 ปี เพื่อทำให้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเย็นลง ก่อนที่จะบรรจุลงในที่กักเก็บที่เป็นคอนกรีตแห้งซึ่งใช้การไหลเวียนของอากาศภายนอกในการระบายความร้อน การปิดเตาปฏิกรณ์อาจลดความเสี่ยงลง แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด

 PARTNER CONTENT with Greenpeace Southeast Asia, Thailand

บทความที่เกี่ยวข้อง


อ่านเพิ่มเติม เกิดอะไรขึ้นในหายนะนิวเคลียร์แห่งเชอร์โนบิล

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.