Streaming Technology คืออะไร

ปัจจุบัน สื่อผสม หรือ Multimedia ถูกนำมาใช้ในงานนำเสนอหลายรูปแบบ เนื่องจากสามารถทำให้ผู้รับชมรับรู้และเข้าใจได้ดีกว่าการใช้สื่ออักษร ภาพ หรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยระบบเครือข่าย (network system) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการนำเสนอข้อมูล เนื่องจากมีประสิทธิภาพการเข้าถึงผู้รับชมจำนวนมากในการนำเสนอเพียงครั้งเดียว และการสตรีม หรือ Streaming ก็กำลังเป็นวิธีที่นิยมสำหรับการนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน การนำเสนอสื่อเสียงและวิดีโอบนเครือข่ายมักใช้หลักการ Download-and-play ซึ่งผู้ชมจำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดมาก่อน จึงสามารถรับชมสื่อนั้นได้ และแม้ว่าเป็นสื่อขนาดเล็กความยาวเพียง 30 วินาทีก็ตาม อาจต้องใช้เวลาดาวน์โหลดถึง 20 นาที ก่อนนำมาใช้ฟังหรือชมได้

การให้บริการในรูปแบบสตรีมมิงสามารถเข้าถึงผู้ใช้หลายๆ คนได้ในครั้งเดียว

ในทางกลับกัน การชมเสียงหรือวิดีโอจากสตรีมมิงมีเดียเซิร์ฟเวอร์ (Streaming Media Server) ในปัจจุบัน สร้างความแตกต่างออกไป โดยสตรีมมิงมีเดียไฟล์สามารถแสดงผลเกือบในทันทีที่ป้อนคำสั่ง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ระหว่างที่มีการรับส่งข้อมูล ผู้ชมสามารถรับฟังหรือชมสื่อนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดก่อน ไม่ว่าสื่อนั้นมีขนาดเพียง 30 วินาที หรือยาวถึง 30 นาทีก็ตาม โดยมีบัฟเฟอร์เป็นตัวช่วย

การนำเสนอข้อมูลเสียงและวิดีโอผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาวิธีการนำเสนอข้อมูลให้ทันสมัยมากขึ้น โดยวิธีการส่งข้อมูลแบบแรกคือการใช้ Web Server ในการให้บริการ และวิธีการที่สองคือการใช้สตรีมมิงมีเดียเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป จึงต้องมีการพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับการใช้งานที่ต้องการ

รถยนต์ไร้คนขับ เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เป็นประโยชน์หรือความเสี่ยง

การให้บริการข้อมูลผ่าน Web Server

การใช้งาน Multimedia file บน web server เริ่มจากทำการแปลงเสียงหรือวิดีโอให้อยู่ในรูปแบบสื่อที่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยพิจารณาจาก bandwidth เช่น 15 หรือ 50 เมกะบิตต่อวินาที

ผู้ให้บริการทำการอัปโหลดแฟ้มมัลติมีเดียไปยัง web server และสร้างเว็บเพจที่ระบุ URL ของแฟ้มมัลติมีเดียนั้นๆ เมื่อมีการเรียกใช้งานแฟ้มมัลติมีเดีย client-side player จะทำงานและเริ่มดาวน์โหลดแฟ้มมัลติมีเดีย เมื่อแฟ้มทั้งหมดดาวน์โหลดเสร็จสิ้นแล้ว จึงทำการ play ไฟล์นั้นๆ

การให้บริการผ่านระบบสตรีมมิงมีเดียเซิร์ฟเวอร์

ขั้นตอนเบื้องต้นของการเตรียมแฟ้มมัลติมีเดีย จะเหมือนกับการเตรียมสำหรับใช้บน Web Server แต่แตกต่างตรงที่แฟ้มที่ได้จะ upload ไปยัง Streaming Media Server เมื่อแฟ้มมัลติมีเดียถูกเรียกใช้งาน จะส่งไฟล์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Meta File ไปยัง Client Player ซึ่งใน meta file นี้จะระบุปลายทางไปยัง Streaming Media Server หลังจากนั้น Client Player จะติดต่อกับStreaming Media Server โดยตรงโดยไม่ผ่าน Web Browser อีก

ตัวอย่างแบบจำลองการให้บริการผ่านเทคโนโลยีสตรีมมิง

เปรียบเทียบการนำเสนอสื่อผสมระหว่าง Web Server และ Streaming Media Server

Web Server ไม่จำเป็นต้องเพิ่มซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์, ไม่สามารถชมสื่อแบบ real-time ได้ ต้องทำการ download มาก่อน, ไม่มีการบริหาร bandwidth ของระบบ network ตัวอย่างเช่น Google Drive, Dropbox, และ WeTranfer เป็นต้น

Streaming Media Server ต้องทำการเพิ่ม software ของ server, สามามารถนำเสนอแบบ real-time ได้ ทั้งแบบ on-demand และ broadcast, มีการจัดการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลในระบบเครื่อข่าย สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก, มีความยืดหยุ่น สามารถกำหนดข้อบังคับต่างๆ ในการนำเสนอได้ ตัวอย่างเช่น Netflix, YouTube, และ Spotify เป็นต้น

แรร์เอิร์ธ แร่ที่กุมชะตาแห่งสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Streaming Technology

Bandwidth: ปริมาณการส่งข้อมูลที่สามารถส่งได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในระบบเครือข่าย bandwidth ที่สูงจะแสดงถึงการส่งผ่านข้อมูลที่เร็วกว่า bandwidth ต่ำ ค่าของ bandwidth จะแสดงในรูป bits per second (bps)

Broadcast: อธิบายถึงการส่งสัญญาณกระจายไปยังเครื่องผู้รับ ในการรับสัญญาณทางฝั่งผู้รับจะไม่สามารถควบคุม สื่อที่ทำการส่งสัญญาณขณะนั้นได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งสัญญาณแบบ on-demand เครื่องผู้รับจะสามารถทำการควบคุมการเปิด ปิด หรือเล่นสื่อนั้นๆ ได้ ประกอบด้วย

On-Demanded: อธิบายถึงการส่งสัญญาณไปยังเครื่องผู้รับ โดยที่ผู้รับสามารถควบคุมสื่อนั้นๆ ได้ เช่นในกรณีของสื่อวิดีโอ ผู้รับสามารถ play, pause , forwarded ได้ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการส่งสัญญาณแบบ broadcast

On-Demanded Unicast: เป็นการติดต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับ ซึ่งผู้ส่งจะสร้างเส้นทางเชื่อมต่อสัญญาณ สำหรับผู้รับแต่ละราย

Codec: เป็นคำย่อของ Compressor/Decompressor ซึ่งเป็นหลัก Algorithm ที่ใช้ในการบันทึกสื่อวิดีโอหรือเสียง ซึ่งในแต่ละ Algorithm จะมีความแตกต่างกันทั้งในรูปแบบการจัดเก็บ ขนาดที่บีบอัดได้ และคุณภาพของสื่อ

Distributed Component Object Model (DCOM) : เป็นส่วนเพิ่มเติมของ Component Object Model (COM) ซึ่งจะช่วยจัดการให้ software component สามารถติดต่อกันได้โดยตรง ผ่านระบบ network รวมไปถึง internet และ intranet ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพ

Firewall: ระบบหรือองค์ประกอบของระบบซึ่งควบคุมจุดต่อระหว่างระบบเครือข่าย และคอยป้องกันไม่ให้ผู้ได้รับอนุญาต เข้ามายังในระบบเครือข่าย firewall จะเช็คข้อมูลที่รับเข้า และส่งออกทั้งหมดว่าไม่มีข้อมูลใดที่ขัดต่อระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้กำหนดไว้

 

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.