“ParkRx” เป็นใบสั่งยาแบบใหม่จากบรรดาหมอในเซาท์ดาโกตาที่เขียนใบสั่งยาทุกอย่างตั้งแต่ยาแก้ปวดถึงยาทา มาปีนี้หมอที่นั่นมีทางเลือกจ่ายยาใหม่ที่ดีกว่า นั่นคือ “ใบสั่งไปป่า” (park prescriptions) ที่เขียนลงบนใบสั่งยาอย่างเป็นทางการพร้อมสัญลักษณ์ “Rx” บนมุมกระดาษ สั่งให้คนไข้หยุดงานสักวันเพื่อไป “อุทยานหรือสวนสาธารณะใดก็ได้ในเซาท์ดาโกตา”
หลังโครงการนำร่องตั้งแต่ปี 2558 มาปี 2560 กรมสุขภาพของรัฐเซาต์ดาโกตากับกลุ่ม “สวน-ตกปลา-กีฬาแห่งเซาท์ดาโกตา” ชักชวนบรรดาคุณหมอทั้งรัฐให้จ่ายยาตามโครงการใหม่ให้คนไข้ฟื้นฟูสุขภาพกายใจด้วยการเดินเข้าป่าเพื่อสัมผัสธรรมชาติบ้าง
โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในบรรดาโครงการอื่นอีกหลายสิบโครงการที่คล้ายคลึงกันทั่วสหรัฐอเมริกา เช่น “แพทย์ในอุทยาน” ของบัลติมอร์ ถึง “ใบสั่งยาเส้นทางธรรมชาติ” ที่อาบูเคอคี เว็บไซต์ ParkRx.org ดำเนินการโดยเครือข่ายเชื่อมโยง “ใบสั่งไปป่า” ในรัฐต่างๆ ที่กำลังโตวันโตคืนตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ทางโครงการฯ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติจัดวัน “ใบสั่งไปป่า” ด้วยการเปิดอุทยานแห่งชาติให้ประชาชนเข้าฟรีมากกว่า 60 แห่ง
เดินป่า ในประเทศไทย กับระดับความยากที่ต่างกัน
อุปกรณ์เดินป่า สำหรับผู้เริ่มต้นกิจกรรมเดินป่า
แม้เซาท์ดาโกตาจะมีคุณหมอผู้สนใจเข้าร่วมสั่งยาเป็นการเดินป่าเป็นร้อยๆ ใบ แต่การประเมินผลโครงการยังอาจเร็วเกินไป สำหรับรัฐเวอร์มองต์ที่โครงการนี้ดำเนินการมา 3 ปีแล้ว จำนวนคุณหมอที่ต้องการให้ “ใบสั่งยา” เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สภากีฬาและสุขภาพของเวอร์มอนต์ร่วมกับอุทยานต่างๆ ของรัฐจัดโควต้าใบสั่งยาเข้าป่าฟรีให้คุณหมอสั่งได้ 12,000 ใบ เจเน็ต ฟรานซ์ ประธานสภาดังกล่าวหวังว่าจะแจกใบสั่งยาเหล่านั้นหมดภายใน 2-3 สัปดาห์ สำหรับหมอรักษาเด็กอย่าง ไมเคิล ซีทัน บอกว่ามันเป็นโครงการที่เจ๋งมาก เพราะทำให้เขามีทางเลือกอีกทางหนึ่งในการคุยเรื่องการออกกำลังกายกับคนไข้ ปัจจุบันซีทันออกใบสั่งเข้าป่าให้คนไข้เป็นประจำ ถึงเข้าจะไม่แน่ใจว่าคนไข้จะเอาไปใช้จริงหรือไม่ แต่คนไข้ก็มักรับไปเสมอ จากการเก็บข้อมูลของสภากีฬาและสุขภาพของเวอร์มองต์ปีที่แล้ว มีคนไข้เกือบ 700 คนใช้ใบสั่งไปป่าจริง จากจำนวนทั้งสิ้น 12,000 ใบ
จุดเริ่มต้นของโครงการมาจากโครงการใหม่อีกโครงการหนึ่งชื่อ “การออกกำลังกายคือยา” (EIM-Exercise is Medicine) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 มีเป้าหมายสนับสนุนให้บุคลากรด้านสุขภาพพิจารณารวมการออกกำลงกายเป็นการรักษาด้วย บ๊อบ แซลลิส แพทย์และหนึ่งในผู้ก่อตั้งกล่าวว่ามันน่าหงุดหงิดที่การรักษาโรคมักมุ่งเน้นไปที่ยาและขั้นตอนอื่นๆ ทั้งๆ ที่การออกกำลังกายช่วยได้ EIM ยังร่วมกับสมาคมกีฬาอื่นๆ ในการเผยแพร่แนวคิดนี้
” ถึงแม้ว่าการเดินป่าไม่ได้เป็นคำตอบทั้งหมดของการรักษาแบบอื่น แต่มันก็ “สนุกกว่า” ฌอน เรนน์ ศัลยแพทย์จากรัฐเวอร์มอนต์กล่าว ส่วนผู้ก่อตั้งโครงการ ParkRx ก็หวังว่าการเดินป่าจะกลายเป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพตลอดชีพของคนไข้ “
เรื่อง : ทิก รูต
ภาพถ่าย : โครีย์ อาร์โนลด์, เจมส์ พี แบลร์, สตีเฟน เซนต์จอห์น
วัฒนธรรมใหม่ของ การเดินป่า ที่ยั่งยืน
รีวิวเต็นท์ ที่มาพร้อมดีไซน์และการใช้งาน
แคนยอนเร้นลึกแห่งออสเตรเลีย