เดินป่า ในประเทศไทย กับระดับความยากที่ต่างกัน

เดินป่า ในประเทศไทย กับระดับความยากที่ต่างกัน

เดินป่า ในประเทศไทย กับระดับความยากง่ายของแต่ละเส้นทางที่แตกต่างกัน

การท่องเที่ยวในรูปแบบการ เดินป่า ในประเทศไทยได้รับความนิยมจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะคนที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติแบบใกล้ชิด และรักการผจญภัย ซึ่งสังเกตได้จากจำนวนผู้ประกอบธุรกิจเดินป่าในประเทศไทยที่มีไม่ตํ่ากว่าสองร้อยราย หรือการเติบโตของสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเดินป่า ร้านรวงเกี่ยวกับอุปกรณ์เดินป่าที่เพิ่มมากขึ้น และการบริการนำเที่ยวเดินป่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

เดินป่า, เส้นทางเดินป่าในประเทศไทย, เส้นทางเดินป่า, นกชนหิน, อุทยานแห่งชาติ
นกชนหินในอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงความอุมดมสมบูรณ์ของป่าเตร้อนในเมืองไทย และนับว่าเป็นพื้นที่ป่าเขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

แหล่งท่องเที่ยวเดินป่าในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าเพื่อศักษาเรียนรู้ธรรมชาติ นำไปสู่แนวคิดในการช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ในขณะเดียวกัน พื้นที่ก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีหน่วยงานราชการเป็นผู้บริหารจัดการดูแล ดังนั้นการเข้าไปประกอบกิจกรรมเดินป่าในพื้นที่เหล่านี้จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

การเดินป่าในแต่ละเส้นทางต้องมีการศึกษาข้อมูลของเส้นทางให้รอบคอบ เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนจะไปเดินป่า

ศึกษาข้อมูลก่อนออกเดินทาง

อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้ว่าจะเป็นพื้นที่อนุรักษ์เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง และรายละเอียดของการเข้าไปท่องเที่ยวจะแตกต่างกัน อุทยานแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาเรียนรู้ เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักในการประกาศจัดตั้งและจัดการพื้นที่ ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่ได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว แต่เป็นการประกาศจัดตั้งเพื่ออนุรักษ์ให้เป็นบ้านของพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเป็นสำคัญ

ข้อควรระวัง: การเข้าไป เดินป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจึงมีกฎระเบียบ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติที่พึงระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ต้องขออนุญาต ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า และอาจไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับที่สะดวกสบายนัก แต่การจะเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งสองประเภทต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การดำรงอยู่ของผืนป่าและสัตว์ป่า ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่แท้จริงเป็นหลักใหญ่เสมอ

เส้นทาง เดินป่า 5 ระดับ

ระดับ 1 Nature trail เส้นทางสำหรับเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติเป็นหลัก ระยะทางไม่ไกลเกิน 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน 3-4 ชั่วโมง ไม่มีการพักค้างในเส้นทาง

ระดับ 2 Hiking or Beginner Trekking เส้นทางเดินป่าสำหรับมือใหม่ ผู้เริ่มต้นเดินป่า สภาพเส้นทางมีความลาดชันบ้างแต่ไม่มากนัก ระยะทางรวมในการเดินไม่เกิน 15 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินติดต่อกันไม่เกิน 6 ชั่วโมง อาจมีการพักค้างในป่าแต่ไม่เกิน 1 คืน มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามความจำเป็น

เดินป่า, เดินป่าในประเทศไทย, เส้นทางเดินป่า,
บางเส้นทางที่ต้องเดินผ่าน อาจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถผ่านเส้นทางเดินป่าไปยังจุดหมายที่กำหนดไว้ได้

ระดับ 3 Advanced Trekking เส้นทางเดินป่าที่เน้นการเดินไปยังจุดหมาย เช่น ยอดเขา สภาพเส้นทางมีความลาดชันค่อนข้างมาก อาจจะมากกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นทาง ต้องพักค้างแรม และยังชีพในป่าอย่างน้อย 2-3 วัน

ระดับ 4 Difficult Trekking เส้นทางเดินป่าระดับยากหรือการเดินป่าแบบหนักหน่วง สภาพเส้นทางมีความลาดชันสูง ระยะทางไกล ต้องพักแรมและยังชีพในป่าอย่างน้อย 3-4 วัน เดินติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

ระดับ 5 Extreme Trekking เส้นทางเดินป่าระยะไกลที่มีสภาพเส้นทางหนักและโหด มีความยากลำบากทั้งการเดินและการดำรงชีพในป่า เส้นทางเป็นลักษณะกึ่งสำรวจผจญภัย ไม่กำหนดเป้าหมายในการเดินแต่ละวันไว้แน่นอน แต่มีเป้าหมายในการเดินในเส้นทางไว้ชัดเจน พักแรมและยังชีพในป่าตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป เดินติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

อ่านต่อหน้า 2 >>>> เส้นทางเดินป่าระดับต่างๆ ในประเทศไทย

Recommend