สำรวจโลก : แด่ปักษาผู้สูญสิ้น

สำรวจโลก : แด่ปักษาผู้สูญสิ้น

แด่ปักษาผู้สูญสิ้น

นกคาราคาราเกาะกวาดาลูเปกลายเป็นของลํ้าค่า ทันทีเมื่อมันใกล้สูญพันธุ์ ย้อนหลังไปเมื่อ ปี 1876 นกนักล่าในวงศ์เหยี่ยวชนิดนี้เคยมีอยู่มากมายบนเกาะกวาดาลูเปของเม็กซิโก แต่ถูกกำจัดอย่างเป็นระบบทั้งด้วยการยิงและวาง ยาเบื่อ พอถึงปลายศตวรรษที่สิบเก้า นกถิ่น เดียวชนิดนี้ก็หายากมาก และกลายเป็นที่หมายตาของนักสะสม ผู้คนเริ่มดักจับเพื่อนำไปขายให้ผู้เสนอราคาสูง ๆ แต่แล้วพวกมันก็ สูญพันธุ์ไปในที่สุด

เมื่อหลายปีก่อน ลอเรล รอท โฮป ศิลปินที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เริ่มเฝ้าสังเกตนกพิราบในเมือง “ฉันเริ่มคิดถึงวิธีการที่คนเราให้ค่ากับสิ่งต่าง ๆ ที่หายาก และไม่แยแสอะไรที่มีอยู่ดาษดื่น และนั่นก็ส่งผลต่อทัศนคติของเรา ที่มีต่อสัตว์ป่า” เธอกล่าวและเสริมว่า “ฉันจึง อยากนำทั้งสองสิ่งนี้มาอยู่ด้วยกัน”

โฮปเริ่มถักโครเชต์เพื่อสร้างงานศิลปะที่เธอเรียกว่า “Biodiversity Reclamation Suits for Urban Pigeons” อธิบายง่าย ๆ คือการสร้างเรือนขนหรือ “เสื้อคลุม” ของนกหายากหรือที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เพื่อนำไปประดับหรือตกแต่งบนประติมากรรมนกพิราบซึ่งเป็นนกที่พบเห็นได้ทั่วไป งานชิ้นแรกของเธอประกอบด้วย “นกพิราบในฐานะตัวแทนชนิดพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จด้านการปรับตัว กับนกโดโด ในฐานะตัวแทนของชนิดพันธุ์ที่สูญสิ้นไปแล้ว”

งานของโฮปเริ่มจากการขึ้นรูปและหล่อตัวนกพิราบจากเรซิน จากนั้นจึงเลือกลายปักและสีสันเพื่อสร้าง “แบบสเก็ตช์โครเชต์สามมิติ” ของเรือนขนนกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เธอจะลองสวม “เสื้อคลุม” ลงบนตัวแบบ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ช่างตัดเสื้อทำ

โฮปอธิบายนัยหรือความหมายของงานชิ้นนี้ว่า “เสื้อคลุมทำหน้าที่ปกปิดสิ่งที่เราไม่อยากเห็น นั่นคือความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการสูญพันธุ์ ด้วยบางสิ่งที่งดงามน่ามองกว่า”

เรื่อง อีฟ โคแนนต์

ภาพถ่าย แอนดี ดีแอซ โฮป รูปประกอบโดย ปีเตอร์ เชาเทน จากหนังสือ A GAP IN NATURE: DISCOVERING THE WORLD’S EXTINCT ANIMALS โดยทิม แฟลนเนอรี

 

อ่านเพิ่มเติม : นกอินทรีเหล่านี้คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อนเหตุใดนกเหล่านี้จึงตกแต่งรังของมันด้วยขยะ

Recommend