พบการระเบิดของดวงดาวในรูปแบบใหม่: ‘ ไมโครโนวา ’ เผาไหม้ 20,000,000 ล้านล้านกิโลกรัมในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในระบบดาวคู่ เมื่อดาวดวงหนึ่งกลายเป็นดาวแคระขาว (ดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว) มันจะดึงดูดก๊าซไฮโดรเจนออกจากดาวคู่ของมันราวกับเป็นแวมไพร์ เมื่อก๊าซสัมผัสกับผิวดาวที่ร้อน การระเบิดก็เกิดขึ้น กลายเป็นการระเบิดรูปแบบใหม่ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบ เรียกว่า ‘ ไมโครโนวา ’ (Micronova) โดยการเกิดไมโครโนวาแต่ละครั้ง สามารถเกิดการเผาไหม้ในปริมาณที่เทียบเท่ามหาพีระมิดแห่งกีซาแห่งอียิปต์ 3.5 พันล้านพีระมิด หรือ 20,000,000 ล้านล้านกิโลกรัมในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือ 2-3 ชั่วโมงตามคำกล่าวของนักวิจัย “เราได้ค้นพบและระบุสิ่งที่เราเรียกว่าไมโครโนวาเป็นครั้งแรก” ซิโมน สการ์ริงกิ (Simone Scaringi) หัวหน้าทีมวิจัยและนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอแรม (Durham University) ในสหราชอาณาจักรกล่าว แม้จะจัดว่าเป็น ‘โนวา’ แต่ไมโครโนวานี้มีขนาดเล็กกว่าหลายล้านเท่า มันส่องแสงสว่างวาบเพียงครู่เดียวราวกับแสงเฟลช ซึ่งต่างจากโนวาปกติที่ทรงพลังและสร้างจุดแสงบนท้องฟ้านานหลายสัปดาห์ “สิ่งที่น่าเหลือเชื่อก็คือการระเบิดเหล่านี้เกิดขึ้นเร็วมาก ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงครึ่งวันแล้วก็หายไป” ดร.สการ์ริงกิกล่าว ในขณะที่พอล กรูท (Paul Groot) นักดาราศาสตร์ในทีมเสริมว่า “เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นแล้วว่าการหลอมไฮโดรเจนสามารถเกิดขึ้นได้ในลักษณะเฉพาะ” “เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสามารถบรรจุอยู่ที่ฐานของขั้วแม่เหล็กของดาวแคระขาวบางดวง ดังนั้นการหลอมรวมจะเกิดขึ้นที่ขั้วแม่เหล็กเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การระเบิดไมโครฟิวชันซึ่งที่มีกำลังประมาณหนึ่งในล้านของโนวา […]