มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดที่ชอบกินพริก
คุณผู้อ่านสามารถกินพริกไทยมากเท่าที่กระแตจีนสามารถกินได้หรือไม่? แน่นอนว่าไม่ได้ เพราะผลการศึกษาใหม่ล่าสุดพบว่า กระแตจีนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียว (ไม่นับรวมมนุษย์) ที่ชื่นชอบรสชาติเผ็ดร้อนเป็นชีวิตจิตใจ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนพบการกลายพันธุ์ของตัวรับ TRPV1 ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ทำหน้าที่ระมัดระวังความเผ็ดร้อน หรือความเป็นกรด ปกติแล้วตัวรับเหล่านี้พบได้ทั่วไปในลิ้นและคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนสมองไม่ให้สัมผัสกับอาหารที่มีสารแคปไซซิน (
งานวิจัยภาคสนาม
Yalan Han นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน พร้อมด้วยทีมวิจัยทราบมาว่า บรรดากระแตจีนนั้นชื่นชอบการแทะกินผลของต้นพริกท้องถิ่น ซึ่งพบได้ทั่วไปในระบบนิเวศแบบป่าฝนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
ในการศึกษาวิจัย ทีมวิจัยใช้กระแตป่าจำนวน 5 ตัว และหนูป่าอีก 6 ตัว พร้อมด้วยพริกไทยสกุล Piper boehmeriaefolium พริกท้องถิ่นของจีนในการทดลอง พวกเขาสกัดเอาสารแคปไซซิลออกจากพริกไทย และฉีดให้แก่สัตว์ทั้งสองกลุ่ม จากนั้นพวกเขาวัดความเจ็บปวดจากความเผ็ดร้อนที่เกิดขึ้น โดยดูว่าทั้งหนูและกระแตเลียบริเวณแผลที่ถูกฉีดบ่อยแค่ไหน ซึ่งผลการทดลองเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ นั่นคือหนูเลียมากกว่ากระแต
หลังจากนั้นสัตว์ที่เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดถูกวางยาให้เสียชีวิต นักวิทยาศาสตร์ตัดหัวของพวกมัน ผ่าเอาสมองออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยระหว่างหนูและกระแตนั้น พวกเขาพบว่าในกระแตมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้กระแตสามารถกินพริกได้ โดยไม่รู้สึกเผ็ดร้อน ผลการค้นพบล่าสุดนี้ถูกเผยแพร่ลงในวารสาร PLOS Biology
เกิดมาเพื่อสิ่งนี้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การกลายพันธุ์ของยีนช่วยให้พวกมันสามารถกินผลพริกได้ โดยไม่ต้องรู้สึกทรมาน ปกติแล้วพืชจะมีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนเคมีในผลของมันเอง เพื่อป้องกันการถูกกินจากสัตว์ และดูเหมือนว่าสัตว์วิวัฒนาการตอบสนองให้พวกมันสามารถรับมือกับสารเคมีในพืชด้วยเช่นกัน
“เราเชื่อว่าการกลายพันธุ์นี้เป็นการปรับตัวตามวิวัฒนาการ เพื่อช่วยให้กระแตสามารถทนต่อสารแคปไซซิล เพื่อที่แหล่งอาหารของมันจะขยายไปมากขึ้น และพวกมันก็จะมีชีวิตรอดได้มากขึ้นตาม” Han กล่าวในรายงานการวิจัย
เรื่อง Richie Hertzberg
อ่านเพิ่มเติม
รายการอาหารแห่งอนาคต