“คลื่นความร้อนในทะเลอาจกำลังส่งผลกระทบต่อรูปแบบการเติบโต
ของปลาการ์ตูน ซึ่งขมีนาดเล็กลงเรื่อย ๆ”
“เธอวัดพวกมัน 3 ครั้ง เธอให้คนหลายคนวัดพวกมันในเวลาเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่า เราเชื่อในตัวเลขนั้นจริง ๆ” เทเรซา รูเกอร์ (Theresa Rueger) นักชีววิทยาทางทะเลผู้ทำงานร่วมกับ เมลิสสา เวอร์สตีก (Melissa Versteeg) นักศึกษาระดับปริญญาเอก ที่กังวลว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับปลาการ์ตูนเหล่านี้
ผลการค้นพบได้เผยแพร่ไว้บนวารสาร Science Advances โดยระบุว่าการวัดเหล่านั้นถูกต้อง ปลาการ์ตูน (Amphiprion percula) แต่ละตัวนั้นสั้นลงจริง ๆ ในช่วงที่มีคลื่นความร้อนในทะเล ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พบว่าปลาตามแนวปะการังหดตัวลงจากการถูกปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกดดัน
“(ปลาการ์ตูน) มีความสามารถที่น่าทึ่ง ซึ่งเรายังไม่ทราบมากนัก” รูเกอร์ เล่า มันอาจฟังดูเป็นเรื่องน่าตกใจแต่เธอเชื่อว่าการค้นพบนี้ทำให้มีความหวังขึ้นมาบ้าง “มีความเป็นไปได้ที่สายพันธุ์อื่น ๆ อาจปรับตัวได้ในลักษณะที่ทำให้พวกมันอยู่ได้นานกว่าที่เราคิด”
ไม่ได้ตั้งใจ
อันที่จริงแล้วในตอนแรก รูเกอร์ และทีมงานไม่ได้วางแผนที่จะศึกษาคลื่นความร้อน พวกเขากำลังติดตามดูว่าน้ำจืดที่ไหลบ่าลงมาจะส่งผลต่อการเพาะพันธุ์ของปลาการ์ตูนในอ่าวคิมเบของปาปัวนิวกินีได้อย่างไรบ้าง? โดยเฉพาะเมื่อเกิดคลื่นความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น 4°C จากค่าเฉลี่ย
“จริง ๆ แล้วเราไม่ได้ตั้งใจศึกษาคลื่นความร้อนตั้งแต่แรก” รูเกอร์ กล่าว “เราจึงตัดสินใจว่าจะติดตามพวกมันตลอดช่วงคลื่นความร้อน”
ดังนั้นกิจวัตรประจำวันจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยการวัดปลาการ์ตูน 134 ตัวในอ่าวคิมเบทุกเดือนตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2023 ถึงสิงหาคมปีเดียวกันตลอดทุก ๆ สองสามวัน นักดำน้ำจะจับปลาการ์ตูนด้วยตาข่าย และวัดขนาดมันอย่างแม่นยำโดยใช้คาลิปเปอร์ โดยรวมแล้วจะใช้เวลาไม่ถึง 30 วินาทีต่อปลาหนึ่งตัว
นักวิจัยพบว่าปลาตัวเมียที่เด่นกว่าร้อยละ 71 และตัวผู้ที่ผสมพันธุ์ราว 79 เปอร์เซ็น มีขนาดตัวลดลงอย่างน้อย 1 ครั้งตลอดระยะเวลาการศึกษา ปลาที่หดตัวเหล่านี้บางครั้งก็กลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อตามวิถีชีวิตให้ทัน แต่ก็บางส่วน (ร้อยละ 41) ที่มีการหดตัวลงหลายครั้ง และปลาที่ตัวเล็กลงพร้อมกับคู่ผสมพันธุ์ของมันก็มีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตมากกว่า
ทำไมปลาการ์ตูนจึงหดตัวลง?
จากการศึกษาพบว่าปลาที่มีขนาดตัวเล็กลงนี้ดูเหมือนจะมีโอกาสรอดชีวิตจากคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น 78 เปอร์เซ็น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปลาการ์ตูนนั้นมีความสามารถพิเศษในการควบคุมการเจริญเติบโตของตัวเอง
โดยปกติแล้วปลาที่เป็นตัวเมียเด่น จะเป็นปลาที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดและมีอำนาจในกลุ่ม ซึ่งปลาตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่จะสามารถกลายเป็นตัวเมียได้ และปลาตัวผู้ที่ใหญ่เป็นอันดับสองจะกลายเป็นคู่ผสมพันธุ์ของมัน ดังนั้นหากมีต่ำแหน่งว่างในลำดับเหล่านี้ ปลาจะสามารถเร่งการเติบโตเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู่ได้
“เมื่อพวกมันมาถึงจุดนั้นแล้ว ปลาก็จะทำให้ปลาที่อยู่ใต้จุดนั้น (ที่มีขนาดเล็กกว่า) หยุดการเจริญเติบโต” รูเกอร์ กล่าว “พวกมันสามารถหยุดเติบโตเองได้เพื่อไม่ให้ปลาที่อยู่เหนือพวกมันในลำดับชั้นโกรธเคือง”
การควบคุมการเจริญเติบโตเหล่านี้ทำให้พวกมันหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ หากตัวเด่นคิดว่าปลาตัวรองตัวใดตัวหนึ่งมีขนาดใหญ่เกินไป มันก็จะไล่ปลาตัวนั้นออกไปจากดอกไม้ทะเล ซึ่งจะไม่สามารถอยู่รอดได้ ความขัดแย้งเหล่านี้ใช้พลังงานสูงและเสี่ยงชีวิต วิธีนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก
แต่การหดตัวนั้นเป็นเรื่องใหม่ ปลาการ์ตูนมักมีขนาดเเท่ากับดอกไม้ทะเล ดังนั้นหากดอกไม้ทะเลถูกคลื่นความร้อนทำลายหรือเสียหายไปบางส่วน ปลาก็อาจจำเป็นต้องหดตัวเองเพื่อเข้าไปอยู่ด้านใน และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือปลาอาจตอบสนองต่อปริมาณออกซิเจนหรือปริมาณอาหารที่มีอยู่
“หากคุณตัวเล็ก คุณจะต้องการอาหารน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และคุณยังหาอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย” รูเกอร์ อธิบาย
ไม่ใช่แค่การ์ตูนที่หดตัวลง
การศึกษาปลาการ์ตูนเเป็นเพียงการค้นพบล่าสุดที่อธิบายถึงการปรับตัวของสัตว์ในโลกที่ร้อนขึ้น งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็พบว่าสัตว์หลายชนิดเช่น นก และสัตว์ฟันแทะ ก็ดูเหมือนจะมีขนาดเล็กลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่นเดียวกัน อีกัวน่าทะเลเองก็หดตัวลงเพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิของน้ำที่อุ่นขึ้นในช่วงปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ
นักวิจัยยังไม่ทราบว่าปลาการ์ตูนเหล่านี้หดตัวลงได้อย่างไร สมมติฐานหนึ่งก็คือ ปลาจะดูดซับกระดูกของตัวเองเข้าไปใหม่ แต่มันก็ส่งผลกระทบในอีกด้านเช่นกันนั่นคือ สัตว์ที่มีขนาดเล็กลงก็จะออกลูกน้อยลง แต่โดยรวมแล้วก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าทำไมสัตว์บางชนิดจึงมีขนาดเล็กลงกว่าที่เคยเป็น
เมื่อวัดปลาแต่ละตัว “ผลลัพธ์ที่ได้ จะให้ภาพที่น่าสนใจและซับซ้อนว่าสัตว์แต่ละตัวตอบสนองต่อคลื่นความร้อนในทะเลบที่กินเวลานานอย่างไร” อเล็กซา เฟรดสตัน (Alexa Fredston) นักนิเวศวิทยาเชิงปริมาณจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาครูซ ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมกับงานวิจัย กล่าว
การค้นพบล่าสุดนี้มีทั้งความสุขและความเศร้า “เราตั้งใจที่จะศึกษาปลาเหล่านี้ โดยไม่อยากที่จะบันทึกการตายของพวกมัน” เธอเสริม
ที่มา
https://www.smithsonianmag.com
https://www.nationalgeographic.com
https://oceanographicmagazine.com