พบกับบ๊อบ ทูต ฟลามิงโก แห่งคูราเซา
หากคุณผู้อ่านกำลังตะลอนอยู่บนเกาะคูราเซา ประเทศหนึ่งในทะเลแคริบเบียน แล้วบังเอิญเห็นนก ฟลามิงโก นั่งอยู่หลังพวงมาลัย โปรดจงอย่าแปลกใจเพราะนั่นคือ “เจ้าบ๊อบ”
ในฐานะของทูตสันถวไมตรี ฟลามิงโก แห่งแคริบเบียนประจำองค์กรไม่แสวงหากำไรนาม Fundashon Dier en Onderwijs Cariben บ๊อบมีหน้าที่ตะลอนไปทั่วเมืองพร้อมกับ Odette Doest ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสัตวแพทย์ท้องถิ่น พวกเขาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเดินได้เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า และเรื่องราวอันน่าประทับใจนี้ถูกบันทึกไว้ผ่านภาพถ่ายโดย Jasper Doest ผู้เป็นญาติ
Odette ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่านี้ขึ้นในปี 2016 เพื่อรองนับจำนวนสัตว์ป่าต้องการความช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในจำนวนนี้รวมไปถึงบ๊อบด้วยเช่นกัน เรื่องราวของมันเริ่มต้นขึ้นเมื่อบ๊อบตกลงมาใส่หน้าต่างของโรงแรมจนได้รับบาดเจ็บ
“บ๊อบสงบมากเลยค่ะ ตอนที่ฉันพามันมายังศูนย์ ดูเหมือนว่ามันเองก็โล่งใจไม่น้อยที่ได้พวกเราดูแล” Odette กล่าว นอกเหนือจากอาการบาดเจ็บแล้ว ดูเหมือนว่าบ๊อบจะเคยเป็นนกฟลามิงโกที่อาศัยอยู่ในกรงเลี้ยงมาก่อน มันทุกข์ทรมานจากโรคอุ้งเท้าอักเสบ หรือ bumblefoot ซึ่งเป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไป เมื่อสัตว์นั้นๆ ต้องอาศัยอยู่บนพื้นเรียบแข็ง เช่นคอนกรีตเป็นเวลานาน เนื่องจากปกติแล้วฟลามิงโกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นทราย อาการป่วยนี้ทำให้มันใช้ชีวิตยากลำบากขึ้นและมีน้ำหนักตัวลดลง


แขกแปลกหน้า
บ๊อบเดินทางไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนหลายแห่งในคูราเซา การเดินทางของบ๊อบเป็นดั่งสะพานเชื่อมผู้คนท้องถิ่นกับนกประจำถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะ “ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาไม่เคยเห็นสัตว์ป่าตัวเป็นๆ ใกล้ๆ มาก่อน คิดดูว่ามันน่าตื่นเต้นแค่ไหนที่จู่ๆ ก็มีนกฟลามิงโกที่สูงกว่าเราเดินเข้ามาในชั้นเรียน” Jasper กล่าว
นั่นทำให้เด็กๆ ในคูราเซาได้เรียนรู้เกี่ยวกับนกฟลามิงโก และรู้จักที่จะชื่นชมพวกมันในระยะไกล รวมไปถึงรู้จักที่จะไม่รบกวนพวกมันขณะกำลังกินอาหาร
มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ Odette ไปออกรายการโทรทัศน์ เธอขออนุญาตโปรดิวเซอร์ว่าจะสามารถพาฟลามิงโกมาด้วยได้หรือไม่ ซึ่งโปรดิวเซอร์คิดว่าเธอหมายความถึงฟลามิงโกพลาสติก “พวกเขาอึ้งไปเลยตอนที่บ๊อบเดินเข้าสตูดิโอ” Jasper เล่าให้ฟัง

Recommend
สัตว์เหล่านี้มีหางย๊าวยาว
ถ้าพูดถึงสัตว์หางยาว คุณผู้อ่านจะนึกถึงตัวอะไรเป็นอย่างแรก?
ครั้งแรกของไทยในรอบ 30 ปี สวนสัตว์นครราชสีมา เพาะขยายพันธุ์ ‘ลูกพญาแร้ง’ สำเร็จ
หลังรอมากว่า 30 ปี นักวิจัยโครงการฟื้นฟูพญาแร้งคืนถิ่น ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ “ลูกพญาแร้ง” ตัวแรกของไทยในรอบ…
ทาสแมวตัวจริง! ทำไมคนบางคนถึงหลง “เจ้าเหมียวขนปุย” อย่างโงหัวไม่ขึ้น? วิทยาศาสตร์มีคำตอบหรือไม่?
หลายคนในที่นี้อาจเคยมีประสบการณ์ตรง หรือไม่ก็เห็นเรื่องราวทางอ้อมว่า คุณแม่ คุณพ่อ หรือคนรอบตัว ที่ยืนยันหนักแน่นว่า ‘ห้ามเอาแมวเข้าบ้าน’…
นากโบราณขนาดเท่าหมาป่า มีแรงกัดมหาศาล
เรื่อง เจสัน จี.โกลด์แมน เมื่อ 6 ล้านปีก่อน นากน้ำหนักประมาณร้อยปอนด์เที่ยวเดินด้อมๆ…