พรุควนเคร็ง : พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญต่อชีวิต

พรุควนเคร็ง : พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญต่อชีวิต

ป่าพรุควนเคร็งมีความสำคัญอย่างไร

จากรายงานโครงการสำรวจสถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทพรุของประเทศไทย ปี 2008 โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย รายงานการใช้ประโยชน์และความสำคัญของป่าพรุควนเคร็งไว้หลายด้าน ดังนี้

การเก็บกักน้ำฝนและน้ำท่า พื้นที่พรุควนเคร็งเป็นที่ราบลุ่มริมด้านเหนือของทะเลสาบสงขลา พื้นที่พรุรับน้ำที่มาจากต้นน้ำและเก็บกักน้ำเอ่อล้นจากทะเลสาบ และเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญ

การดักตะกอนและแร่ธาตุ การกรองตะกอนและแร่ธาตุจากแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เกษตรที่ระบายลงสู่พื้นที่พรุ ก่อนปลดปล่อยน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลา

แหล่งทรัพยากรและผลผลิตธรรมชาติ พบพรรณไม้ทั้งสิ้น 260 ชนิด พบสัตว์ป่าในพื้นที่พรุรอบทะเลน้อย รวมทั้งสิ้น 131 ชนิด ทรัพยากรปลาที่พบยังเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านอาหารกว่า 8 ชนิด และเป็นปลาสวยงามกว่า 17 ชนิด นอกจากนี้ พรุควนเคร็งเป็นแหล่งกระจูดส่งไปเป็นวัตถุดิบสำหรับงานหัตถกรรมเสื่อของชุมชนทะเลน้อย

ด้านนิเวศวิทยาและห่วงโซ่อาหาร เป็นพื้นที่ป่าพรุขนาดกว้างใหญ่ มีไม้เสม็ดขาวเป็นไม้เด่นและหนาแน่น เป็นแอ่งน้ำขนาดกว้างใหญ่ มีพรรณไม้น้ำหนาแน่น มีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน ประกอบกับการขุดคลองระบายน้ำพาดผ่าน สภาพทางนิเวศวิทยาแหล่งน้ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แอ่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ เชื่อมต่อกับลำน้ำหลายสาย และทะเลสาบ

การดักสารมลพิษ เป็นพื้นที่รับน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีจากพื้นที่การเกษตร

การคุกคามที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่พรุ

การสูญเสียที่ดินหรือพื้นที่พรุ เกิดจากการบุกรุกและครอบครองที่ดิน การอ้างสิทธิการครอบครองที่ดินในพื้นที่พรุ รวมทั้งการกันพื้นที่อนุรักษ์เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้สูญเสียพื้นที่พรุตลอดเวลา

การใช้ทรัพยากรไม่ถูกวิธี พบการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่พรุ และการลักลอบตัดไม้ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ตลอดทั้งยังไม่มีการวางระบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนทำให้ป่าไม้เสื่อมโทรม

ต้นเสม็ดขาว, พื้นที่ชุ่มน้ำ
ต้นเสม็ดขายที่ยืนต้นเรียงรายอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ / ภาพถ่าย: นภัทรดนัย

การจัดการน้ำไม่เหมาะสม เนื่องจากการขุดลอกคูคลองใช้น้ำเพื่อการเกษตร มีผลกระทบต่อระบบน้ำในพื้นที่พรุ แอ่งน้ำบริเวณกลางพื้นที่ตื้นเขินจากการทับถมของซากพืชโดยเฉพาะหญ้า รวมถึงลำน้ำหลายสายมีการตื้นเขินและถูกบุกรุก

การใช้ประโยชน์ที่ดิน/กิจกรรมที่ขัดแย้ง พบการใช้พื้นที่พรุเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก การเหยียบย่ำของสัตว์กระทบต่อหน้าดินและการสะสมของดินอินทรีย์ ทำให้สูญเสียหน้าดินจากการถูกชะล้างลงสู่

การแพร่ระบาดของพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น จากการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในพื้นที่พรุ ได้นำพืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่พรุ

ในตอนท้ายของรายงานพบว่า “ชาวบ้านมีความต้องการอนุรักษ์พื้นที่พรุควนเคร็งไว้ เนื่องจากพื้นที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญต่อการประกอบอาชีพของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น”

ต้นกระจูด, พื้นที่ชุ่มน้ำ
ดงต้นกระจูดที่ขึ้นอยู่ริมฝั่ง เป็นวัตถุดิบในการผลิตหัตกรรมของคนในท้องถิ่น / ภาพถ่าย: นภัทรดนัย

จนถึงวันนี้ “หลังเกิดไฟไหม้ป่าพรุเป็นเวลาร่วมเดือน ร่วมกับเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้พื้นที่พรุควนเคร็งอยู่ในลักษณะป่าพรุที่สิ้นสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติไปอย่างสิ้นเชิง พื้นที่ความเสียหายประมาณ 15,000 ไร่” จากเนื้อหาข่าวที่เผยแพร่ใน Manager Online

เหตุไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งจนสิ้นสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ แสดงให้เห็นถึงการสูญเสียพื้นที่แหล่งอาหาร แหล่งวัตถุดิบท้องถิ่น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และจากป่าพรุที่เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ไฟป่าเปลี่ยนให้ป่าพรุควนเคร็งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ :  พื้นที่ชุ่มน้ำ…ในชีวิตและความทรงจำ

พื้นที่ชุ่มน้ำ
พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างทะเลสาบสงขลา มีขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่หลายจังหวัด มีระบบนิเวศหลายหลาย ทั้งน้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืด มีป่าไม้ทั้งที่เป็นป่าบก ป่าพรุน้ำท่วมขัง และป่าชายเลน ซึ่งเป็นที่พักพิงของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย รวมทั้งมนุษย์มาอย่างยาวนาน

Recommend