ใครเป็น เจ้าของดวงจันทร์ ? หลังจาก 40 ปีของความสำเร็จในโครงการอะพอลโล 11 มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดตามมาว่าใครเป็นจะเป็นผู้ควบคุมดวงจันทร์ ทว่า ในขณะเดียวกัน ประธานของ “รัฐบาลกาแล็กติก” ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในเนวาดาก็ยังคงขายอสังหาริมทรัพย์บนดวงจันทร์ต่อไป
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1969 (พ.ศ. 2512) นักบินอวกาศสหรัฐฯ ก้าวขึ้นไปบนดวงจันทร์และได้ปักธงชาติอเมริกันลงบนพื้นดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ การกระทำนี้มีไม่ได้มีขึ้นเพื่ออ้างสิทธิ์เป็น เจ้าของดวงจันทร์ แต่เพื่อรำลึกถึงบทบาทของสหรัฐฯ ในการเหยียบดวงจันทร์ได้
40 ปีต่อมา ผู้ประกอบการในรัฐเนวาดากล่าวว่า พวกเขาคือเจ้าของดวงจันทร์และเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของ ‘รัฐบาลกาแล็กติก’ (The Galactic Government) ซึ่งเป็นกลุ่มแรกของชาวโลกที่ได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้ จนถึงขณะนี้ เดนนิส โฮป (Dennis Hope) หัวหน้าบริษัท ‘Lunar Embassy Corporation’ ได้ขายอสังหาริมทรัพย์บนดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ให้กับผู้คนกว่า 3.7 ล้านคนแล้ว
เมื่อฐานลูกค้าของเขาเติบโตขึ้น ผู้ซื้อก็ต้องการหลักประกันว่าสิทธิในทรัพย์สินของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครอง โฮปจึงก่อตั้งรัฐบาลของเขาเองในปี 2004 ซึ่งมีรัฐธรรมนูญที่ให้สัตยาบัน รัฐสภา หน่วยเงินตรา และแม้แต่สำนักงานสิทธิบัตรในรัฐบาลนี้
“ตอนนี้เราเป็นประเทศที่มีอธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว” โฮป กล่าว
แต่ปัญหาคือหากพิจารณาตามกฎหมายแล้ว จะไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของดวงจันทร์หรือสิ่งอื่นใดในอวกาศได้ ทันยา มาสสัน-ซวาน (Tanja Masson-Zwaan) ประธานสถาบันกฎหมายอวกาศนานาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า
“สิ่งที่ ‘Lunar Embassy’ กำลังทำ ไม่ได้ให้สิทธิ์แก่ผู้คนในการซื้อกระดาษเพื่อใช้ในการเป็นเจ้าของดวงจันทร์” มาสสัน-ซวาน กล่าว
ช่องโหว่ของ เจ้าของดวงจันทร์ ?
การโต้เถียงเริ่มขึ้นในปี 1980 เมื่อโฮปส่งการอ้างสิทธิ์บนดวงจันทร์กับสหประชาชาติ คำกล่าวอ้างดังกล่าวไม่ได้รับคำตอบ ดังนั้นเขาจึงคิดว่าสิทธิ์ของเขาได้รับการคุ้มครอง ทำให้จนถึงตอนนี้ บริษัทของเขาได้ขายที่ดินบนดวงจันทร์ไปแล้วมากกว่า 2,500,000 แปลง ซึ่งโฮปกล่าวว่ามันอุดมไปด้วยไอโซโทปฮีเลียม โดยมีป้ายราคาโลกประมาณ 125,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ (ราว 4,375,000 บาท)
โดยจะมีโฉนดที่ดินที่พิมพ์ชื่อผู้ซื้อวางขายทางออนไลน์ในราคารวมภาษีแล้วอยู่ที่ 22.49 ดอลลาร์ (787 บาท)
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโต้แย้งว่า สาเหตุที่สหประชาชาติไม่ได้ตอบ เพราะไม่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิ์บนดวงจันทร์ได้ ภายใต้สนธิสัญญาณอวกาศปี 1967 ซึ่งมีประเทศสมาชิกมากกว่า 100 ประเทศได้ให้สัตยาบันไว้ รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย
อย่างไรก็ตาม โฮป กล่าวว่ายังมีช่องโหว่อยู่ สนธิสัญญาณห้ามประเทศต่าง ๆ อ้างสิทธิ์ในอวกาศแต่ “ผมได้ยื่นคำร้องในฐานะบุคคล”
ทั้งนี้ ความจริงที่ว่าปัจจุบันเขาได้อ้างว่ารัฐบาลกาแล็กติกของเขามีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอ้างการควบคุมเหนือดวงจันทร์อาจดูมีปัญหา แต่โฮปเองก็กล่าวว่าระบอบการปกครองที่เพิ่งเริ่มต้นนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกิดขึ้น
มาสสัน-ซวาน จากสถาบันกฎหมายอวกาศกล่าวว่า ไม่ว่าจุดยืนของเขาในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร การอ้างสิทธิบนดวงจันทร์แต่แรกเริ่มของโฮปนั้นไม่ถูกกฎหมายอยู่ดี เนื่องจากสนธิสัญญาของสหประชาชาติมีผลบังคับใช้กับรัฐบาลและพลเมืองของรัฐบาล ซึ่งทำให้การอ้างสิทธิ์ของโฮปต่อดวงจันทร์และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ เป็นโมฆะ
ทว่า ผู้ที่ต้องการจะเป็นเศรษฐีด้านอสังหาริมทรัพย์บนดวงจันทร์ไม่จำเป็นต้องเสียใจ แม้คุณจะไม่สามารถเป็นเจ้าของสถานที่เพื่อสร้างรายได้ มาสสัน-ซวาน กล่าวว่า สิ่งที่ขาดไปในตอนนี้มีเพียงกรอบกฏหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับ “การทำธุรกิจบนดวงจันทร์” เท่านั้น
สนธิสัญญาฉบับปี 1979 ที่แยกออกมาซึ่งเรียกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับดวงจันทร์ ได้กำหนดกรอบทำงานเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของดวงจันทร์ ทันทีที่มีการเริ่มใช้ทรัพยากรเหล่านั้น กฎหมายดังกล่าวจะถูกนำไปใช้กับธุรกิจที่ต้องการสร้างโรงแรม การทำเหมือง และความพยายามเชิงพาณิชย์อื่น ๆ บนดวงจันทร์
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมีเพียง 13 ประเทศเท่านั้นที่ให้สัตยาบัน ซึ่งทั้งหมดไม่มีประเทศใดที่เป็นรัฐหลักของการเดินทางในอวกาศ
ดวงจันทร์ “เป็นเพียงแค่อีกทวีปหนึ่ง”
ประเด็นสำคัญอีกประการที่ต้องพูดถึงในสนธิสัญญาปี 1979 ที่ได้ระบุว่าแต่ละประเทศจะแบ่งปันความมั่งคั่งกันอย่างไร นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าแหล่งสะสมฮีเลียม-3 อาจทำให้ดวงจันทร์กลายเป็นอ่าวเปอร์เซียแห่งถัดไปได้ โดยวัตถุดิบที่หาได้ยากยิ่งบนโลกนี้ถูกระบุว่าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดแห่งอนาคต
ซึ่งเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้วที่ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศปกป้อง มันถูกอาบไปด้วยอนุภาคจากดวงอาทิตย์ ซึ่งรวมถึงฮีเลียม-3 ในปริมาณที่ยังไม่ทราบแน่ชัดซึ่งซุกซ่อนอยู่ในดินดวงจันทร์ขณะนี้ แต่การใช้มันเป็นเชื้อเพลิงนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของระบบฟิวชั่นให้เสถียรและเชื่อถือได้
ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการผลิตพลังงานที่ “เหมือนกับการควบคุมระเบิดไฮโดรเจน” ปีเตอร์ โคคฮ์ (Peter Kokh) ประธานสมาคมดวงจันทร์ (Moon Society) ที่ไม่แสวงหากำไร กล่าว
โดยมนุษย์สามารถใช้ดวงจันทร์ทันทีได้ในด้านอื่น ๆ เช่นการขุดฝุ่นดวงจันทร์เพื่อก่อสร้างฐานปล่อยดาวเทียม และการติดตั้งตัวสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นทั้งหมดเป็นโครงการสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ระลอกแรก
ดวงจันทร์ก็ “เป็นเพียงอีกทวีปหนึ่งที่พาดผ่านทะเลประเภทอื่น (อวกาศ) ” โคคฮ์ กล่าว “เรามองเห็นอนาคตที่ผู้คนจะได้อาศัยอยู่บนดวงจันทร์และผลิตวัสดุสำหรับการแก้ไขปัญหาของโลก”
สหรัฐแห่งดวงจันทร์? (United States of the Moon)
โดยส่วนตัวแล้ว โคดฮ์คิดว่าอนาคตที่ดีที่สุดคืออนาคตที่ชาวดวงจันทร์จะได้ปกครองตนเอง กระบวนการตั้งอาณานิคมบนภูมิประเทศที่ท้าทายของดวงจันทร์จะกำหนดความต้องการของสังคมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่น เช่นเดียวกับความปราถนาของชาวอาณานิคมอังกฤษที่เปลี่ยนไปเมื่อพวกเขาได้ไปถึง “โลกใหม่”
“ผู้ตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์อาจต้องการนำวิถีชีวิตแบบอเมริกันไปดวงจันทร์ แต่พวกเขาจะออกจาก วอชิงตัน ดี.ซี ที่เป็นบ้าน” โคคฮ์ กล่าว “ในระหว่างนี้มันจะดีกว่ามากถ้าได้รับการดูแลจากสหประชาชาติ ซึ่งขณะนี้ (โลกมี) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ทำงานอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ และนั่นก็เป็นตัวอย่างที่ดี”
มาสสัน-ซวาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ เห็นด้วยที่ว่าฐานแรกที่สร้างขึ้นบนดวงจันทร์ควรเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือกัน “ฉันไม่คิดว่าเราจะมีคนมาปักธงแล้วพูดว่า นี่คือจตุรัสเล็ก ๆ ของฉัน และฉันจะสร้างฐานที่นี่”
ในทางเดียวกัน ‘Lunar Embassy Corporation’ ดูเหมือนจะมีความหวังกับรัฐบาลดวงจันทร์ที่เป็นอิสระแล้วมากกว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ โฮป กล่าวว่าเขาได้ส่งจดหมายในนามของรัฐบาลของเขาเพื่อขอให้ประเทศอื่น ๆ ไม่บุกรุกดวงจันทร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้เขายังต่อสู้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้ยอมรับสกุลเงินของรัฐบาลของเขาที่มีชื่อว่า ‘เดลต้า’ อย่างเป็นทางการ
“จุดยืนของรัฐบาลกาแล็กติกคือ เราไม่พยายามตีตัวออกห่างจากรัฐบาลอื่น ๆ เราเพียงแค่ต้องการการยอมรับเพื่อที่เราจะได้ทำงานร่วมกัน” โฮป บอก “เราไม่ได้เป็นศัตรู ไม่ได้โกรธ เราแค่ต้องการการยอมรับ”
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
ที่มา
.
https://www.nationalgeographic.com/science/article/space-who-owns-moon-science