ดวงดาวที่ใหญ่ที่สุด ในจักรวาล Stephenson 2-18 หรือ กาแล็กซีทางช้างเผือก มีขนาดรัศมีใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาลถึง 2,150 เท่า ถือเป็นดาวยักษ์ที่ทำให้ดวงอาทิตย์ดูดวงเล็กลงเหลือขนาดนิดเดียว หากนำมาวางเทียบขนาดกัน
Stephenson 2-18 ดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุด
Stephenson 2-18 เป็นที่รู้จักในชื่อสตีเฟนสัน 2 DFK 1 หรือ RSGC2-18 คือซุปเปอร์ดาวยักษ์สีแดง ประเภท Red Hypergiant อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง อยู่ในบริเวณทิศของกลุ่มดาวโล่ (Scutum) รวมถึงยังเป็นดวงอาทิตย์ที่สว่างที่สุดในจักรวาล ซึ่งหากนำมาอยู่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา มันจะกลืนกินดวงดาวไปถึงวงโคจรของดาวเสาร์
ทั้งนี้ Stephenson 2-18 มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,150 เท่า ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Charles Bruce Stephenson เมื่อปี 1990 ซึ่งเขาเห็นมันโดดเด่นอยู่ในกระจุกดาวหรือคลัสเตอร์ที่ชื่อ RSGC2 แต่ด้วยความที่ Stephenson 2-18 อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลเกินปกติ รวมทั้งความสว่างสูงมาก และเคลื่อนไหวน้อย ทำให้ช่วงแรกมันยังไม่ถูกรับรองจากองค์กระดับประเทศ
Uy Scuti ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่อันดับ 2
Uy Scuti คือดาวที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดกาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นดาวประเภท Red Hypergiant เหมือนกับ Stephenson 2-18 โดยมีรัศมี 2,800 ล้านกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 2,100 เท่า อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 5,000 ปีแสง
ดาว Uy Scuti ถูกค้นพบเมื่อปี 1860 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันที่หอสังเกตการณ์ Bonn Observatory ได้สังเกตเห็นว่าดาว BD-12 5055 มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมในช่วงเวลาเพียง 740 วัน ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ามันเป็นดาวจำพวกดาวแปรแสง และอยู่ในขั้น Red Supergiant แล้วแน่นอน ต่อมานักดาราศาสตร์จึงได้ตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า UY Scuti
อย่างไรก็ตาม เมื่อนักดาราศาสตร์ได้ทำการศึกษาดาว UY Scuti ก็พบว่ามันประกอบไปด้วยไฮโดรเจน ฮีเลียมและธาตุอื่น ๆ ที่หนักกว่าซึ่งคล้ายคลึงกับองค์ประกอบทางเคมีของดวงอาทิตย์ของเรา และพบว่าดาวฤกษ์ดวงนี้มีรัศมีถึง 1,708 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา
ดวงอาทิตย์ ดาวที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
ดวงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่ถึง 1,392,140 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 109.136 เท่า เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะที่ประกอบไปด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง คือ ดาวเคราะห์ 8 ดวง (ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน) กับ ดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 167 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น รวมถึงดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาวและฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
ดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
หากไม่นับดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์แล้ว ดาวพฤหัสบดี จะครองตำแหน่งดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ หมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งนอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือจุดแดงใหญ่ซึ่งเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่กว่าโลก
ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ถ้าไม่นับรวม ดาวพลูโต ที่ถูกปลดจากสมาชิกดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมาเป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ มีดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวอื่นๆ มากคือ ดาวเคราะห์น้อยซีรีส
ดาวเคราะห์น้อยซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอัซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 ซึ่งมีการตั้งตามชื่อซีรีส เทพีโรมันแห่งการปลูกพืช เก็บเกี่ยวและความรักอย่างมารดา
สำหรับ ดาวเคราะห์น้อยซีรีส มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 950 กิโลเมตร ประกอบด้วยมวลหนึ่งในสามของมวลทั้งหมดในแถบดาวเคราะห์น้อย พื้นผิวอาจเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งและธาตุที่ถูกไฮเดรต เช่น คาร์บอเนตและดินเหนียว จำแนกเป็นแก่นหินและแมนเทิลน้ำแข็ง และอาจมีมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวกักเก็บไว้ใต้พื้นผิว
แกนีมีดดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
ดวงจันทร์แกนีมีด คือดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่และยังครองตำแหน่งดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ขนาดของมันใหญ่กว่าดาวพุธเสียอีก แต่มวลของดวงจันทร์แกนีมีดกลับน้อยกว่าดาวพุธถึง 45% เนื่องจากพื้นผิวของดวงจันทร์ดวงนี้มีน้ำแข็งและแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบหลัก แตกต่างจากพื้นผิวของดาวพุธที่เป็นหินซิลิกาที่มีความหนาแน่นสูง
ดวงจันทร์แกนีมีด ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนามแม่เหล็กภายในตัวมันเอง สามารถพบแสงออโรราเหนือพื้นผิว ซึ่งแม้ว่าแกนิมีดจะมีสนามแม่เหล็กด้วยตัวเอง แต่ก็ยังคงอยู่ภายในชั้นสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดีอีกชั้นหนึ่งด้วยเช่นกัน เมื่อดวงจันทร์แกนีมีดโคจรรอบดาวพฤหัสบดี สนามแม่เหล็กของทั้งดาวเคราะห์หลักและดาวบริวารจึงส่งอิทธิพลถึงกัน เกิดเป็นการโยกไปมาของตำแหน่งแสงออโรราบนดวงจันทร์แกนิมีด
ขณะเดียวกัน ดวงจันทร์แกนีมีด ยังมีโครงสร้างที่อาจเหมาะเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับดวงจันทร์อีก 3 ดวง ได้แก่ ดวงจันทร์ยูโรปา อีกดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี , ดวงจันทร์ไททัน และ ดวงจันทร์เอนเซลาดัส บริวารของดาวเสาร์
อนึ่ง สถานะ Stephenson 2-18 ดวงดาวที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลอาจไม่ได้คงอยู่ยาวนาน ด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์บนโลกจึงสามารถค้นพบดาวดวงใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ
สืบค้นและเรียบเรียง สิทธิโชติ สุภาวรรณ์
ภาพ Mondolithic
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephenson_2-18