นี่คือแอนตาร์กติกาจากมุมมองที่คุณอาจไม่เคยเห็น เพราะเป็นภาพจากหลังวาฬหลังค่อม นักวิจัยติดตั้งกล้องด้วยหัวดูดสุญญากาศซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อวาฬ พวกเขาบันทึกภาพเป็นเวลาติดต่อกัน 24-48 ชั่วโมงก่อนที่กล้องจะหลุดออกและได้รับการระบุตำแหน่งด้วยระบบจีพีเอสเพื่อเก็บกู้ นักวิทยาศาสตร์ไม่เพียงได้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตอันลี้ลับของวาฬหลังค่อม เช่น พวกมันหากินในน้ำลึกกว่าที่เคยคิดกัน และอาจใช้การพ่นน้ำจากรูพ่นเพื่อเปิดช่องหายใจบนแผ่นน้ำแข็ง
Recommend
เมื่อขนบธรรมเนียมปล่อยสัตว์กลายเป็นเรื่องไม่ชวนพิสมัย
ชาวพุทธเชื่อว่าการปล่อยสัตว์ที่ถูกกักขัง เพื่อแสดงความเมตตาจะนำมาซึ่งกรรมดี ทว่าในจีนกิจกรรมเชิงพานิชย์เหล่านี้กำลังทำร้ายสัตว์ เพราะส่วนมากพวกมันถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติแบบผิดกฎหมาย และต้องทนอาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก่อนที่จะถูกนำไปปล่อย และถูกจับซ้ำอีกครั้ง
ค้างคาวจำศีลในหิมะ
สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วชนิดใดกันนะที่อาศัยอยู่ในรูหิมะ ของญี่ปุ่น…มันคือค้างคาวจมูกท่อที่กำลังจำศีล หากไม่นับรวมหมีขั้วโลกแล้ว ค้างคาวน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่สามารถมีชีวิตรอดแม้อาศัยอยู่ในกองหิมะได้ ต่างกันตรงที่พวกมันไม่มีขนหนาและชั้นไขมันเหมือนหมีขั้วโลก ในการเอาชีวิตรอดจากหิมะ ค้างคาวจมูกท่อจะลดอุณหภูมิร่างกายตลอดจนอัตราการเต้นของหัวใจ…
ฝูงม้าลายเหล่านี้เดินทางไกลทุกปี แม้รู้ว่าเสี่ยงอันตราย
ทุกๆ ปีฝูงม้าลายในแอฟริกาเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 241 กิโลเมตร จากพื้นที่เขียวชอุ่ม ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกไปยังพื้นที่แห้งแล้ง ในฤดูอพยพ…
สัตว์ผสมพันธุ์ในน้ำได้อย่างไร
ความรวดเร็ว ตำแหน่งที่เหมาะสม และความคล่องตัว เป็นความสามารถที่ท้าทายพฤติกรรมการสืบพันธุ์ใต้น้ำ