ระยะเวลาทั้งหมดกว่าหนึ่งปี ช่างภาพคนนี้ได้อะไรบ้างจากการติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมของเหล่าเสือพูม่า

ระยะเวลาทั้งหมดกว่าหนึ่งปี ช่างภาพคนนี้ได้อะไรบ้างจากการติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมของเหล่าเสือพูม่า

เสือพูม่า นักล่าแห่งเทือกเขาแอนดีส

สำหรับ อินโก อาร์นดท์ แล้ว การฝ่าฟันกับสภาพอากาศทั้งหนาวและร้อนอย่างสุดขั้วตลอดระยะเวลาทั้งหมด 7 เดือนในช่วงระหว่างปี 2016 ถึง 2018 ที่ตอร์เรเดลไปไน (Torres de Paine) สถานที่ที่เชื่อกันว่าเป็นแหล่งที่มี เสือพูม่า อาศัยอยู่เยอะที่สุดของโลก พร้อมกับต้องแบกอุปกรณ์ถ่ายภาพไปมา เฝ้ารอโอกาสเหมาะที่จะได้เก็บภาพหนึ่งในสัตว์ตัวโปรดของเขา ถือเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ

ประสบการณ์ครั้งนี้ อาร์นดท์ไม่เพียงแต่จัดทำอัลบั้มรูปของเหล่าเสือพูม่าที่น้อยคนนักที่จะมีโอกาสสัมผัสเท่านั้นที่เขาได้รับ แต่เขายังได้เรียนรู้และเข้าใจวิถีในการดำรงชีวิตของทั้งคนและสัตว์ป่าอีกด้วย

นักล่าแห่งเทือกเขาแอนดีส

สไตล์การล่าเหยื่อของเสือพูม่าจะมีลักษณะเป็นแบบจู่โจมเสียมากกว่า พวกมันมักจะใช้เวลากว่าเป็นชั่วโมงในการติดตามพฤติกรรมของเหยื่ออยู่ห่าง ๆ จากนั้นจะค่อยจู่โจมจากด้านหลังพร้อมกับงับไปที่คอของเหยื่อด้วยขากรรไกรอันทรงพลัง โดยเหยื่อส่วนใหญ่ของเสือพูม่าเป็นกัวนาโค

เสือพูม่า
ภาพของฝูงกัวนาโค โดยกัวนาโคถือเป็นเหยื่อหลักของเสือพูม่า

แต่ก็ไม่มีอะไรง่ายเสมอไป

โดยกัวนาโคตัวเต็มวัยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณเกือบ 100 กิโลกรัม สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึงอย่างไรก็ตาม การล่าตัวกัวนาโคแต่ละที ถือเป็นเรื่องที่ยากมากๆ สำหรับพวกเสือพูม่า เพราะถึงแม้ว่าในเรื่องของความเร็วแล้ว ทั้งเสือพูม่าและกัวนาโคจะมีความเร็วอยู่ในเกณฑ์ที่ไล่เลี่ยกัน แต่ถ้าวัดกันในเรื่องของความอึดของสภาพร่างกายแล้ว เสือพูม่าแทบเทียบไม่ติดเลย

แม้ว่าจะเป็นอาหารหลักของเสือพูม่าอยู่เป็นประจำ แต่ใช่ว่ากัวนาโคจะเป็นเหยื่อให้เชือดง่ายๆ

เสือพูม่าเพศเมียในคลิปข้างต้น มีชื่อว่าซาร์มิเอนโต ได้เฝ้าคอยติดตามกัวนาโคตัวนี้เป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง ก่อนตัดสินใจเข้าจู่โจม แต่ทว่าความพยายามก็ไม่ได้มาซึ่งความสำเร็จ.. เจ้ากัวนาโคดังกล่าวสามารถสลัดหนีออกไปได้

อาร์นดท์ยังได้ทำการสำรวจพฤติกรรมเสือพูม่าเพศเมียอีกหนึ่งตัวที่สูญเสียฟันจากการเสียท่าให้กับเหยื่อในการจู่โจมตัวกัวนาโค โดยหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เสือพูม่าที่เป็นที่รู้จักกันในวงการเจ้าหน้าที่อุธยานว่าคอลมิลโล่ไม่สามารถออกล่าเหยื่อได้อีกต่อไป

ด้วยเหตุนี้ทำให้พฤติกรรมการล่าเหยื่อที่มักจะเพ่งเล่งไปที่เหยื่อตัวใหญ่ของเสือพูม่าเป็นพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บอย่างมาก หรือแม้กระทั่งในบางรายอาจถึงขั้นพลาดท่าเสียชีวิตเลยก็มี

เสือพูม่าก็มีลักษณะนิสัยขี้อายเหมือนกันนะ

เสือพูม่าแต่ละตัวก็มีนิสัยที่แตกต่างกันออกไป ทั้งตั้งแต่ตัวที่มีนิสัยขี้อายจนไปถึงขี้สงสัย

อาร์นดท์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในปาตาโกเนีย ดินแดนที่เขาได้ตั้งชื่อเล่นว่า “ดินแดนของเสือพูม่า” ไปกับการติดตามสังเกตพฤติกรรมเสือพูม่าเพศเมียสองตัว (ซาร์มิเอนโตและคอลมิลโล่) และเหล่าบรรดาลูกๆ ของพวกมัน โดยพวกมันทั้งสองตัวต่างมีนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว

ในรายแรกมีนิสัยที่ไม่เกรงกลัวสิ่งอื่นใด และมีนิสัยหวงลูก ในส่วนของรายที่สองนั้นจะมีนิสัยที่ค่อนข้างออกไปทางขี้อายเสียมากกว่า อีกทั้งยังมีนิสัยชอบแบ่งปันเหยื่อที่ล่ามาได้กับเสือพูม่าตัวอื่นๆ ในฝูงอีกด้วย

กว่าจะได้มาเป็นอัลบั้มรูปเสือพูม่า

บทเรียนสำคัญที่ อาร์นดท์เรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้คือ หากต้องการจะถ่ายภาพเสือพูม่า ควรถ่ายจากที่ไกลๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเว้นช่องว่างระยะห่างเพื่อเหตุผลในด้านของความปลอดภัยและความสวยงามขององค์ประกอบภาพ

อาร์นดท์อธิบายว่าการเข้าไปใกล้เสือพูม่า (รวมถึงสัตว์ป่าตัวอื่นๆ) อาจไปส่งผลกระทบ และรบกวนสัตว์ป่ามากเกินไป จนส่งผลให้พฤติกรรมธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่พวกมันเคยปฏิบัติ อีกทั้งการที่เสือพูม่ามักจะล่าเหยื่อในอาณาเขตของฟาร์มปศุสัตว์อยู่บ่อยๆ ทำให้พวกมันมักจะตกเป็นเหยื่อของพวกเจ้าของฟาร์มอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เองทำให้เสือพูม่ามักจะเลี่ยงการเข้าใกล้กับมนุษย์ ส่งผลให้การเก็บภาพพวกมันเป็นเรื่องยากขึ้นไปกว่าเดิม

เสือพูม่าถูกฆ่าตายเป็นประจำโดยเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ จำนวนกว่า 100 ตัวต่อปี

การถ่ายภาพสัตว์ที่ดี ควรถ่ายตอนที่สัตว์ “เผลอ” ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มาซึ่งภาพพฤติกรรมของพวกมันอย่างเป็นธรรมชาตินั้นเอง

เสือพูม่าอาศัยอยู่ในอุธยานแห่งชาติแห่งนี้มากกว่าหลายสิบปีแล้ว แต่มีรายงานการจู่โจมของเสือพูม่าต่อมนุษย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาร์นดท์มักจะเว้นระยะห่างสำหรับเขาและเสือพู่ม่าอยู่เสมอขณะเก็บภาพ แม้ว่าประวัติการโจมตีมนุษย์ของพวกมันแทบจะไม่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลย แต่ก็ปลอดภัยไว้ก่อนย่อมส่งผลดีเสมอ

แต่หลายเดือนผ่านไป เสือพูม่าบางตัวก็เริ่มรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจเขามากขึ้น บางตัวถึงขนาดเข้ามาใกล้โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะทำอันตรายต่อเขาเลย

“หากคุณให้ความเคารพพวกมัน พวกมันก็จะให้ความเคารพต่อคุณกลับ”

***แปลและเรียบเรียงโดย รชตะ ปิวาวัฒนพานิช
โครงการนักศึกษาฝึกงาน กองบรรณาธิการ นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย 


อ่านเพิ่มเติม: เสือ พูม่า แห่งปาตาโกเนีย

พูม่า

Recommend