โดย อเล็กซานดรา เกโนวา
ภาพถ่าย จาน่า โรมาโนว่า
งูเป็นที่น่าหลงใหลและน่ารังเกียจผ่านสายตามนุษย์มานานนับสหัสวรรษ
ในอารยธรรมกรีกโบราณ งูคือสัญญาณแห่งความอุดมสมบูรณ์และการเกิดใหม่ ในขณะที่บรรดาชาวคริสต์มองว่างูคือสัญลักษณ์ของการหลุดพ้น ทุกวันนี้งูไม่ใช่แค่อยู่ในวัฒนธรรมป๊อป แต่พวกมันคือสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน
จาน่า โรมาโนว่า ช่างสาวภาพชาวรัสเซียผู้เป็นโรคกลัวงู เริ่มต้นโปรเจคเก็บภาพระยะยาวของงูและเจ้าของตามบ้าน ซึ่งการเลี้ยงงูกลายมาเป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลง “ฉันต้องการสำรวจความหวาดกลัวของตนเองและหาคำตอบว่าทำไมผู้คนถึงเก็บสิ่งมีชีวิตนี้ไว้เป็นสัตว์เลี้ยง” เธอกล่าว
แต่ภาพถ่ายของโรมาโนว่าไม่ใช่ภาพถ่ายของงูแบบทั่วๆ ไป “ภาพถ่ายของงูในสิ่งแวดล้อมต่างๆ” ผลักการมีส่วนร่วมของผู้ชมออกไป เธอกล่าว
ในบรรดารูปที่น่าสนใจของเธอ งูโบอาตัวอ้วนเลื้อยไปมารอบๆ ตู้ไม้, งูเหลือมเลื้อยพันเตารีดที่ตั้งเอาไว้ และงูข้าวโพดเลื้อยไปมาระหว่างแม่เหล็กที่ติดบนตู้เย็นลายเสือดาว
แก้ปัญหาความกลัวงู
การถ่ายภาพให้งูกลมกลืนไปกับลวดลายและพื้นหลังไม่ได้แค่เป็นเรื่องน่าสนใจ แต่ยังเป็นการท้าทายตัวเธอเองอีกด้วย
“ในตอนแรกเริ่ม ฉันไม่แม้แต่จะมองภาพของพวกมันด้วยซ้ำ” เธอกล่าว “ทุกวันนี้ถ้าให้เลี้ยงสักตัวเป็นสัตว์เลี้ยง ก็โอเคนะ”
จากการสำรวจผ่านโปรเจคดังกล่าว เธอสามารถวิเคราะห์จุดเริ่มต้นของความกลัวงูออกมาได้ “ความกลัวงูส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ผ่านวัฒนธรรม” เธอกล่าว “เช่นในหนังสยองขวัญ, พ่อแม่ที่เตือนลูกๆ ว่างูเป็นสัตว์อันตรายหรือแม้กระทั่งข่าวปลอมๆ ที่ว่างูกลืนเจ้าของลงท้องไป”
โรมาโนว่ายังประหลาดใจมากที่พบว่าผู้ชายจำนวนมากเลี้ยงงูเป็นสัตว์เลี้ยง
“ฉันคิดมาตลอดว่าผู้หญิงน่าจะเลี้ยงงูเยอะกว่า เพราะภาพถ่ายจำนวนมากของงูที่กำลังพันรอบตัวพวกเธอ”
สเตอริโอไทป์แบบโซเวียต
อีกหนึ่งความท้าทายของเธอในการทำโปรเจคนี้คือ “การแสวงหาความงดงามของยุคหลังโซเวียต”
“มันมีความเชื่อหรือภาพลักษณ์ที่มองว่าชาวรัสเซียและบรรดาอดีตประเทศโซเวียตเป็นคนยังไง” เธอกล่าว ฉะนั้นแล้วในภาพถ่ายของเธอ โรมาโนว่าจึงไม่ได้ตั้งคำถามแค่เฉพาะความกลัวงูเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกลัวรัสเซียอีกด้วย “ฉันสงสัยใคร่รู้ว่าถ้าฉันทำโปรเจคนี้ให้ไม่ธรรมดาหรือธรรมดามากกว่านี้จะเป็นยังไง” เธอกล่าว “มันเป็นคำถามเปิดค่ะ”
อ่านเพิ่มเติม : สินค้าที่ “ผลิตในจีน” จริงๆแล้วผลิตที่ไหน, ชีวิตครึ่ง แต่คุ้มค่า