พบกับบ๊อบ ทูต ฟลามิงโก แห่งคูราเซา
หากคุณผู้อ่านกำลังตะลอนอยู่บนเกาะคูราเซา ประเทศหนึ่งในทะเลแคริบเบียน แล้วบังเอิญเห็นนก ฟลามิงโก นั่งอยู่หลังพวงมาลัย โปรดจงอย่าแปลกใจเพราะนั่นคือ “เจ้าบ๊อบ”
ในฐานะของทูตสันถวไมตรี ฟลามิงโก แห่งแคริบเบียนประจำองค์กรไม่แสวงหากำไรนาม Fundashon Dier en Onderwijs Cariben บ๊อบมีหน้าที่ตะลอนไปทั่วเมืองพร้อมกับ Odette Doest ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสัตวแพทย์ท้องถิ่น พวกเขาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเดินได้เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า และเรื่องราวอันน่าประทับใจนี้ถูกบันทึกไว้ผ่านภาพถ่ายโดย Jasper Doest ผู้เป็นญาติ
Odette ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่านี้ขึ้นในปี 2016 เพื่อรองนับจำนวนสัตว์ป่าต้องการความช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในจำนวนนี้รวมไปถึงบ๊อบด้วยเช่นกัน เรื่องราวของมันเริ่มต้นขึ้นเมื่อบ๊อบตกลงมาใส่หน้าต่างของโรงแรมจนได้รับบาดเจ็บ
“บ๊อบสงบมากเลยค่ะ ตอนที่ฉันพามันมายังศูนย์ ดูเหมือนว่ามันเองก็โล่งใจไม่น้อยที่ได้พวกเราดูแล” Odette กล่าว นอกเหนือจากอาการบาดเจ็บแล้ว ดูเหมือนว่าบ๊อบจะเคยเป็นนกฟลามิงโกที่อาศัยอยู่ในกรงเลี้ยงมาก่อน มันทุกข์ทรมานจากโรคอุ้งเท้าอักเสบ หรือ bumblefoot ซึ่งเป็นอาการป่วยที่พบได้ทั่วไป เมื่อสัตว์นั้นๆ ต้องอาศัยอยู่บนพื้นเรียบแข็ง เช่นคอนกรีตเป็นเวลานาน เนื่องจากปกติแล้วฟลามิงโกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนพื้นทราย อาการป่วยนี้ทำให้มันใช้ชีวิตยากลำบากขึ้นและมีน้ำหนักตัวลดลง


แขกแปลกหน้า
บ๊อบเดินทางไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนหลายแห่งในคูราเซา การเดินทางของบ๊อบเป็นดั่งสะพานเชื่อมผู้คนท้องถิ่นกับนกประจำถิ่นที่อาศัยอยู่บนเกาะ “ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาไม่เคยเห็นสัตว์ป่าตัวเป็นๆ ใกล้ๆ มาก่อน คิดดูว่ามันน่าตื่นเต้นแค่ไหนที่จู่ๆ ก็มีนกฟลามิงโกที่สูงกว่าเราเดินเข้ามาในชั้นเรียน” Jasper กล่าว
นั่นทำให้เด็กๆ ในคูราเซาได้เรียนรู้เกี่ยวกับนกฟลามิงโก และรู้จักที่จะชื่นชมพวกมันในระยะไกล รวมไปถึงรู้จักที่จะไม่รบกวนพวกมันขณะกำลังกินอาหาร
มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ Odette ไปออกรายการโทรทัศน์ เธอขออนุญาตโปรดิวเซอร์ว่าจะสามารถพาฟลามิงโกมาด้วยได้หรือไม่ ซึ่งโปรดิวเซอร์คิดว่าเธอหมายความถึงฟลามิงโกพลาสติก “พวกเขาอึ้งไปเลยตอนที่บ๊อบเดินเข้าสตูดิโอ” Jasper เล่าให้ฟัง

Recommend
เสือดาวหิมะ : ปีศาจหิมาลัย นักล่าแห่งขุนเขาสูงชันและหนาวเหน็บ
เสือดาวหิมะ ชราตัวนี้เป็นที่รู้จักกันดีในกิบเบอร์ หมู่บ้านเก่าแก่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนที่นี่จดจำเสือเพศผู้ขนาดใหญ่ ใบหูซ้ายมีรอยบากตัวนี้ได้ และคอยติดตามมันเท่าที่จะทำได้…
มา กินงู เหลือม” กันมั้ย? อาหารใหม่ ยุค “โลกรวน”
งูหลาม (หรืองูเหลือม) อาจกลายเป็นมาอาหารบนจานเร็ว ๆ นี้ ? นักวิทยาศาสตร์กล่าว…
ประวัติย่อการล่าสัตว์ของมนุษย์
ย้อนรอยเส้นทางการล่าสัตว์ของมนุษย์: จากการล่าเพื่อยังชีพในธรรมชาติ เพื่อถ่ายรูป เลี้ยงไว้ล่าเล่น และการค้าขายสัตว์ป่า “เราเป็นผู้บริโภคธรรมชาติมากกว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” – ไมเคิล…
แต้มสีที่หัวนกเพื่อสร้างอิทธิพล
แต้มสีที่หัวนกเพื่อสร้างอิทธิพล นกกระจอก Golden-crowned ที่มีถิ่นอาศัยในสหรัฐอเมริกาตัดสินคู่ต่อสู้จากอะไร? จากงานวิจัยก่อนหน้าชี้ว่าลายเส้นสีดำบนหัวของมันคือตัวบ่งชี้ว่านกตัวนั้นๆ ควรต่อสู้ด้วยหรือไม่ เพราะนกกระจอกที่มีลายเส้นสีดำชัดจะโดดเด่น…