ภาพนกฮัมมิงเบิร์ดที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

ภาพนกฮัมมิงเบิร์ดที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

ภาพ นกฮัมมิงเบิร์ด ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก

นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ตีพิมพ์สารคดีเรื่อง นกฮัมมิงเบิร์ด มาแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกสุดคือเรื่อง “The Hummingbirds” ในฉบับเดือนพฤศจิกายน ปี 1960 ซึ่งถ่ายภาพโดยครอว์ฟอร์ด เอช. กรีนวอลต์ นี่คือภาพบางส่วนจากสารคดีเรื่องดังกล่าวที่เรานำมาให้ชมกัน เพื่อให้เห็นว่าแม้เทคโนโลยีในสมัยนั้นจะยังไม่ก้าวหน้าเท่าสมัยปัจจุบัน แต่ช่างภาพก็ถ่ายภาพนกฮัมมิงเบิร์ดออกมาได้อย่างงดงามมีเสน่ห์ และท่านสามารถติดตามอ่านเรื่องราวของนกฮัมมิงเบิร์ดและชมภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพความเร็วสูง ซึ่งจะเปิดเผยความลับในการบินของสุดยอดจักรกลธรรมชาตินี้ได้ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนกรกฎาคม 2560

ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกฮัมมิงเบิร์ดสีบุษราคัม (Topaza pella) สะท้อนถึงเรือนขนของนกเพศผู้ ซึ่งมีขนสวยงามที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดานกวงศ์นี้ มันหากินอยู่ตามยอดไม้ที่มีดอก สูงขึ้นไปราว 30 เมตรจากผืนป่าในบริติชกีอานา ซูรินาเม และเวเนซุเอลา
(ซ้าย) ปลายปีกที่ก่อให้เกิดเสียง ประกาศการมาถึงของนกฮัมมิงเบิร์ดหางกว้าง (Selaphorus platycercus) แม้ว่ามันอาจซ่อนตัวไม่ให้มองเห็น นกชนิดนี้อาศัยอยู่ในเทือกเขาตั้งแต่รัฐไวโอมิงจนถึงกัวเตมาลา (ขวา) แถบคอเหมือนดวงดาวสีม่วงเหลือบรุ้งคือลักษณะพิเศษของนกฮัมมิงเบิร์ดลายคอสีม่วง (Stellula calliope) เพศผู้ คำว่า Stellula หมายถึง “ดาวดวงน้อย” ส่วน calliope แปลว่า “เสียงอันไพเราะ” นกชนิดนี้เป็นนกขนาดเล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ
นกฮัมมิงเบิร์ดหน้าสีชมพู (Calypte anna) เพศผู้สองตัวต่อสู้กันที่สถานีให้อาหารแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย
นกฮัมมิงเบิร์ด
นกฮัมมิงเบิร์ดหางติ่ง (Trochilus polytmus) ที่หิวโหยบินลอยตัวอยู่กับที่ตรงหน้าดอกชบาซึ่งอุดมด้วยน้ำต้อย นกชนิดนี้อาศัยอยู่เฉพาะในจาเมกา หางของมันมีสีเหลือบรุ้ง อันเป็นลักษณะพิเศษของนกวงศ์นี้
(บน) ลำตัวสีมรกตและจะงอยปากสีแดงสร้างบรรยากาศสดใสมีชีวิตชีวาให้นกฮัมมิงเบิร์ดปากหนา (Cynanthus latirostris) ซึ่งมีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในเทือกเขาที่เม็กซิโก แอริโซนา และนิวเม็กซิโก (ล่าง) นกฮัมมิงเบิร์ดปากยาว (Ensifera ensifera) มีปากยาวชนิดที่ไม่มีนกฮัมมิงเบิร์ดอื่นๆเทียบได้ ลิ้นเป็นท่อขนาดยาวอันเป็นลักษณะพิเศษของนกวงศ์นี้ ทำให้มันสามารถดื่มน้ำต้อยจากดอกไม้ที่อยู่ลึกที่สุด
(ซ้าย) นกฮัมมิงเบิร์ดปากสั้นหลังสีม่วง (Ramphomicron microrhynchum) เป็นเจ้าของปากขนาดสั้นที่สุด หากอาหารขาดแคลน นกชนิดนี้อาจกบดานอยู่นิ่งๆทั้งคืน มิฉะนั้นมันอาจอดอยากก่อนจะถึงรุ่งเช้า (ขวา) จะงอยปากรูปจันทร์เสี้ยวทำให้นกชนิดนี้มีชื่อสามัญว่านกฮัมมิงเบิร์ดปากเคียวปลายหางยาว (Eutoxeres aquila) พวกมันมีถิ่นกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอสตาริกาลงใต้ไปจนถึงเปรู
นกฮัมมิงเบิร์ดอาบน้ำโดยการพุ่งตัวลงไปในแอ่งน้ำสะอาด กระพือปีกไปตามใบไม้ชุ่มน้ำค้าง หรือบินเข้าไปใต้น้ำตกขนาดเล็ก ดังที่นกฮัมมิงเบิร์ดสีน้ำตาล (Coeligena wilsoni) ตัวนี้ทำ

 

อ่านเพิ่มเติม

วิดีโอสโลโมชั่นแสดงการบินของฮัมมิงเบิร์ด

Recommend