ฝันร้ายขั้นสุดของคนกลัวหนู

ฝันร้ายขั้นสุดของคนกลัวหนู

ในแต่ละปี ศูนย์ควบคุมหนู (Rodent Control Center) ในวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รับการร้องขอในเรื่องนี้ปีละหลายรายว่าแต่เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ประการแรก หนูสามารถเข้าถึงระบบน้ำทิ้งและท่อระบายน้ำได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นทางท่อปฏิกูลในครัวเรือนหรือฝาท่อและตะแกรงบนท้องถนน

จากอุโมงค์ระบายน้ำรวม หนูสามารถสำรวจไปได้ทั่วด้วยความอยากรู้อยากเห็นด้วยกรงเล็บที่คมกริบหนูสามารถไต่ขึ้นไปได้แทบทุกพื้นผิวแนวดิ่ง พอเข้าสู่ท่อน้ำทิ้งภายในบ้าน สิ่งที่หนูทำก็แค่ปีน ปีน และปีนขึ้นไป

ด่านสุดท้ายที่รออยู่คือเส้นทางวกวนราวเขาวงกตอันคับแคบของท่อน้ำทิ้งที่ต่อกับโถสุขภัณฑ์ พวกมันจะฝ่าด่านสุดหินนี้ไปได้อย่างไร

ทางเดินใต้น้ำนี้ไม่น่าจะมีที่ว่างพอสำหรับอากาศทว่าเมื่อถึงช่วงหักมุม หนูพบกระเปาะอากาศเล็กๆ พอให้หายใจและมีแรงเฮือกสุดท้ายที่จะขึ้นไปปลายทาง

คำถามคือ หนูเบียดตัวผ่านช่องทางแคบๆ หักมุมได้อย่างไร? คำตอบคือ ถ้าหนูสามารถเอาหัวลอดผ่านอะไรได้  ส่วนที่เหลือก็ต้องเรียกว่าง่าย เพราะกลไกที่ดูเหมือนกายกรรมภายในร่างกาย กล่าวคือ เมื่อแทรกตัวผ่านช่องแคบๆ แรงดันทำให้ซี่โครงที่ยึดอยู่กับกระดูกสันหลังยุบตัวและพับไปข้างหลังได้อย่างสบายๆ

คำถามต่อไปคือ หนูจัดการกับน้ำมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ถ้าเรากดชักโครกลงไปล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น

เราคิดกันว่าหนูเป็นสัตว์บก แต่เอาเข้าจริง พวกมันเป็นนักว่ายน้ำตัวยง หนูใช้ขาหลังคล้ายใบพาย ส่วนขาหน้าทำหน้าที่พยุงตัวและบังคับทิศทาง แม้แต่หางก็ทำหน้าที่เหมือนหางเสือ

มิหนำซ้ำ หนูยังเป็นจอมอึด พวกมันสามารถว่ายน้ำได้นานถึงสามวันติดต่อกัน แล้วยังกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึงสามนาที ความสามารถนี้เองที่อธิบายว่า ทำไมหนูจึงเป็นนักเดินทางตัวยง

ความสามารถในการว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกลๆ หนูจึงสามารถเล็ดรอดขึ้นเรือเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเป็นระยะทางไกลๆ สู่ดินแดนใหม่ๆ

 

อ่านเพิ่มเติม : เมื่อลูกวิลเดอบีสต์พบกับลูกไฮยีน่าโดยบังเอิญลูกสลอธเรียนรู้การปีนจากเก้าอี้โยก

Recommend