ม.มหิดล จัดงาน Mahidol Engineering Maker Expo 2025 เฟ้นหาผลงานนวัตกรรมด้านวิศวกรรมต่อยอดสู่อนาคต

ม.มหิดล จัดงาน Mahidol Engineering Maker Expo 2025 เฟ้นหาผลงานนวัตกรรมด้านวิศวกรรมต่อยอดสู่อนาคต

Mahidol Engineering Maker Expo 2025 เวทีแสดงพลังสุดยอดผลงานนวัตกรรมด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีจากบรรดาเมคเกอร์นักศึกษาว่าที่วิศวกรในอนาคต

ประเทศไทยกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่จะก้าวผ่านสู่อนาคตคือความสร้างสรรค์ของพลังคนรุ่นใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดงาน Mahidol Engineering Maker Expo 2025, Capstone Project Presentation เพื่อเปิดเวทีแสดงพลังสุดยอดผลงานนวัตกรรมด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีจากบรรดาเมคเกอร์นักศึกษาว่าที่วิศวกรในอนาคต

​รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า งาน Mahidol Engineering Maker Expo 2025 จัดขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง และครั้งนี้ปีที่ 5 โดยหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตทุกสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จัดทำโครงงานวิศวกรรม (Capstone Project) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษา

การนำเสนอโครงงานดังกล่าวจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม รวมถึงทักษะด้านอื่น ๆ ที่เรียกว่า Soft Skills อันจำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในอนาคต การนำเสนอผลงานยังเป็นการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต่อคณาจารย์ เพื่อนนักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board) ศิษย์เก่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป

ทั้งนี้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันรับรองหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ ABET (Accreditation Board for Engineering and Technology) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของงานวิจัย-พัฒนา พร้อมไปกับกำลังคนสมรรถนะสูง ไอเดียสร้างสรรค์ สร้างเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีม การนำเสนอผลงานและประสบการณ์วิจัย ที่ตอบโจทย์สร้างประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีจัดแข่งขันนำเสนอผลงานนวัตกรรมในรูปแบบ Pitching และรูปแบบ Poster พร้อมประกาศผลและมอบรางวัล รวมถึงการออกบูธของผู้ประกอบการธุรกิจ SME ในงานด้วย โดยในปีนี้ จัดแสดงผลงานจำนวนกว่า 100 ผลงาน

​รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และประธานจัดงาน  กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับไอเดียเล็กๆ ที่เริ่มจากงานวิจัยในห้องเรียน ส่งเสริมนักศึกษา นักวิจัย ให้ค้นคว้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การต่อยอดให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม สามารถตอบโจทย์ปัญหาของโลกยุคปัจจุบัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ดังนั้นการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญในกระบวนการนำเสนอโครงการทางวิศวกรรม (Capstone Project Engineering) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาทักษะด้านการนำเสนอผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ก่อนการสำเร็จการศึกษา ในรูปแบบของโปสเตอร์ และการ Pitching บนเวที โดยมีผู้รับฟังการนำเสนอ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการ ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้แทนจากโรงเรียน MOU และโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป นับว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม และพัฒนาผลงานวิจัยที่จะสามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้

​นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดบรรยาย หัวข้อ “การสร้างแรงบันดาลใจด้านมุมมองชีวิตหลังการสำเร็จการศึกษา” วิทยากรบรรยายโดย คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และหัวข้อ “From Zero to Hero จากวันแรกสู่วันที่สำเร็จ” วิทยากรโดย คุณปัณฑพล ประสารราชกิจ (คุณโอม) จากวงค็อกเทล (Cocktail) ศิลปินผู้สร้างแรงบันดาลใจ ภายในงานยังได้รวบรวมผลงานวิจัยนวัตกรรมที่โดดเด่นจากฝีมือคนรุ่นใหม่ นักวิจัย เมคเกอร์ มาจัดแสดงในรูปบูธนิทรรศการ เปิดโอกาสให้เกิดการพบปะกับผู้ประกอบการอีกด้วย

สำหรับผลการประกวดการนำเสนอโครงงานทางวิศวกรรม (Capstone Project Engineering) รูปแบบ Pitching บนเวที ดังนี้ รางวัล Grand Prize รับเงินทุนรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ผลงานจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี CHE08 หัวข้อ Development of Plastic Wastes-derived N-functionalized Carbon Nanotubes used as Multifunctional Fluorescent Chemosensors

รางวัล Gold รับเงินทุนรางวัล 8,000 บาท จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. BME01 Diabetic Nephropathy Immunosuppression with Advanced Monocyte Membrane-enhanced Organ-specific Nanoparticles for Dexamethasone Delivery (diamond)

2. CO03 Travel Recommendation using Retrieval-Augmented Generation via Chatbot Interface

3. BME02 Extending Development of Bart Lab Spine Surgical Robot: Surgical Protocol, Design, Control, Navigation and Software ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ช่วยนำทางในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง พร้อมด้วยระบบนำทางด้วยคอมพิวเตอร์ (BART LAB Spine Surgical Robot) สนับสนุนในการวางแผนและนำทางการใส่สกรูยึดกระดูกสันหลังแบบเรียลไทม์ พร้อมด้วย optical tracking system และ surface registration technique เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดความเสี่ยงการวางสกรูผิดตำแหน่ง และเสริมความคล่องตัวในห้องผ่าตัด จึงเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

รางวัล Silver รับเงินทุนรางวัล 6,000 บาท จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. CHE01 Valorization of cooked rice waste for 5-hydroxymethylfurfural production

2. ME08 Design Splint with Additive Manufacturing เป็นการออกแบบเฝือกด้วยกระบวนการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ Design Splint with Additive Manufacturing: ออกแบบและสร้างเฝือกแบบใหม่ที่เบา สบายแต่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษา ด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงผ่านวัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ PLA ABS และไฟเบอร์กลาส

3. II3 Fermented Malt Beverage Incorporating Germinated Thai Rice and Pineapple Core as Flavor Enhancers

รางวัล Bronze รับเงินทุนรางวัล 4,000 บาท จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

1. ME01 Design and Development of Combined Microwave-Hot Air Heating for Processed Meat (Case Study: Isan Sausages)

2. EE05 Techniques for Hand Tremor Frequency Analysis in Early Parkinson’s Disease Screening

3. CE05 Greenovation Co-working space design

4. CE12 “Application for Calculating Optimal Signal Timing Using

Webster’s Method to Improve Traffic Efficiency and Reduce Carbon Emissions at Saphan Khwai Intersection”

รางวัลชมเชย รับเงินทุนรางวัล 2,000 บาท จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. Generate Intrusion Network Traffic using Generative Adversarial Network

2. IE02 Design Process and Logistics Management for Patients’ Transportation: Case of Chakri Naruebodindra Medical Institute

3. EE15 Counting Fireflies using Image Processing Technique


อ่านเพิ่มเติม : CEDT Innovation Summit 2025 จุดประกายความสร้างสรรค์ เวทีแห่งนวัตกรรมของ CEDT จุฬาฯ

Recommend